นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ของไทยเดือนพฤศจิกายน 2567 เท่ากับ 108.47 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2566 ซึ่งเท่ากับ 107.45 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 0.95% สูงสุดในรอบ 3 เดือน โดยปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล และราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มประบตัวสูงขึ้นจากราคาผลไม้สด เครื่องประกอบอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สำหรับสินค้าบริการอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก
ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนตุลาคม 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยสูงขึ้น 0.83% ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 23 จาก 132 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และต่ำเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียนจาก 8 ประเทศที่ประกาศตัวเลข ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม สปป.ลาว
ขณะที่ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เฉลี่ย 11 เดือน (มกราคม – พฤศจิกายน) ของปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สูงขึ้น 0.32%
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนธันวาคม ปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.3– 1.3 (ค่ากลางร้อยละ 0.8) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง
โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย
ขณะที่ปัจจัยที่กดดันให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง ประกอบด้วย
สำหรับแนวโน้มเดือนธันวาคม คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นถึง 1.2-1.3%