climatecenter

เงินฝากสีเขียว vs เงินฝากทั่วไป เลือกแบบไหนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

    การออมเงินสามารถสร้างผลกระทบที่มากกว่าแค่ผลตอบแทนทางการเงิน ระหว่าง เงินฝากสีเขียว vs เงินฝากทั่วไป เลือกแบบไหนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

ในยุคที่ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นประเด็นสำคัญระดับโลก วงการการเงินก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ หนึ่งในนวัตกรรมทางการเงินที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากคือ "เงินฝากสีเขียว" หรือ "Green Deposits" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มุ่งเน้นการสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แม้ว่าในแง่ของการฝากเงิน เงินฝากสีเขียวจะไม่แตกต่างจากเงินฝากทั่วไป แต่สิ่งที่ทำให้พิเศษคือวัตถุประสงค์ในการนำเงินฝากไปใช้ โดยธนาคารจะนำเงินฝากเหล่านี้ไปสนับสนุนโครงการที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการพลังงานทดแทน เกษตรกรรมยั่งยืน หรือโครงการที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด

ในประเทศไทย แม้ว่าเงินฝากสีเขียวจะเป็นเรื่องใหม่ แต่ก็กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเห็นได้จากการเติบโตของผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น ตราสารหนี้สีเขียว ตราสารทุนสีเขียว และสินเชื่อสีเขียว

เงินฝากสีเขียว (Green Deposit) ทางเลือกการออมช่วยโลก

จุดเด่นของเงินฝากสีเขียว

  • เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
  • ความโปร่งใส (รายงานผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม)
  • สนับสนุนนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวกับความยั่งยืน
  • ผลตอบแทนใกล้เคียงกับเงินฝากทั่วไป
  • ส่วนหนึ่งของเงินถูกนำไปใช้สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างโครงการในแต่ละประเทศ

  • อินเดีย พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy), อาคารเขียว (Green Building), เกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture)
  • ไทย การป้องกันและควบคุมมลพิษ (Pollution Prevention and Control), เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology), การขนส่งสะอาด (Clean Transportation)
  • จีน การเข้าถึงน้ำ (Access to Water), การดูแลสุขภาพ (Healthcare), การสร้างงาน (Employment Generation)

ความต่าง เงินฝากทั่วไป-เงินฝากสีเขียว

วัตถุประสงค์

  • เงินฝากทั่วไป ลงทุนตามวัตถุประสงค์ทั่วไป
  • เงินฝากสีเขียว ลงทุนหรือปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

กลุ่มลูกค้า

  • เงินฝากทั่วไป ทุกกลุ่ม
  • เงินฝากสีเขียว ลูกค้านิติบุคคล

รูปแบบเงินฝาก

  • เงินฝากทั่วไป  ออมทรัพย์ เงินฝากประจำ เงินฝากกระเเสรายวัน
  • เงินฝากสีเขียว ส่วนใหญ่เป็นเงินฝากประจำ

วงเงินรับฝาก 

  • เงินฝากทั่วไป ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินฝาก ตัวอย่างกรณีประเทศไทย วงเงินฝากขั้นต่ำลูกค้านิติบุคคลอยู่ที่ 1,000 บาท 
  • เงินฝากสีเขียว วงเงินฝากค่อนข้างสุง ตัวอย่างกรณีประเทศไทย วงเงินรับฝากขั้นต่ำสำหรับลูกค้านิติบุคคลอยู่ในช่วง 20-50 ล้านบาท 

ผลตอบแทน 

  • เงินฝากทั่วไป ขึ้นอยู่กับประเภทเงินฝาก ระยะฝาก เเละทิศทางดอกเบี้ย 
  • เงินฝากสีเขียว ขึ้นอยู่กับนดยบายของสถาบันการเงิน 

ที่มา 

  • KResearch