environment

วิธีที่ "ญี่ปุ่น" ฟื้นจากภัยพิบัติได้ไว

    ญี่ปุ่นเผชิญกับความเสี่ยงภัยพิบัติทั้งทางธรรมชาติ แต่ด้วยนโยบายที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ญี่ปุ่นสามารถปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์นี้เป็นต้นแบบสำคัญที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

"ญี่ปุ่น" เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติและฝีมือมนุษย์ ส่งผลให้ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลกในด้านความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์และอุตุนิยมวิทยา ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ญี่ปุ่นต้องเผชิญเหตุการณ์ฉุกเฉินครั้งใหญ่ เช่น แผ่นดินไหวที่โกเบในปี 1995 และเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่ในวันที่ 11 มีนาคม 2011 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นและสูญเสียเงินหลายแสนล้านดอลลาร์ในการฟื้นฟู

แม้ว่าญี่ปุ่นจะยังคงเผชิญกับความท้าทาย เช่น การพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไปและความไว้วางใจในโครงสร้างพื้นฐาน แต่ด้วย "นโยบายการลดความเสี่ยง" จากภัยพิบัติที่เป็นระบบ ทำให้ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการปกป้องประชาชน นโยบายที่โดดเด่นประกอบด้วย "การมีส่วนร่วมจากล่างขึ้นบน" ในการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อภัยพิบัติ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง แนวทางเหล่านี้ยังสามารถนำไปใช้ในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วได้

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ในโตเกียว ประชาชนจะเข้าร่วมการฝึกซ้อมรับมือภัยพิบัติประจำปี เพื่อเรียนรู้การใช้เครื่องมือในการดับไฟและกู้ภัย แม้แต่ชุมชนเล็กๆ ก็มีอุปกรณ์กู้ภัยที่จัดเก็บไว้อย่างเพียงพอและมีการฝึกอบรมอาสาสมัครเพื่อการตอบสนองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ในโรงเรียนทั่วประเทศ เด็กและครูจะเข้าร่วมการฝึกซ้อมอพยพผู้ประสบภัยจากสึนามิเป็นประจำ ซึ่งช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ การบรรจุเนื้อหาการจัดการภัยพิบัติในหลักสูตรการศึกษา รวมถึงพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้มากกว่า 10 แห่ง ที่รวบรวมบทเรียนจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ ช่วยให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อม การรักษาและเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม เช่น ศูนย์ชุมชนและสถานดูแลผู้สูงอายุ ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์ช็อก

ญี่ปุ่นไม่เพียงแค่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ แต่ยังให้ความสำคัญกับการร่วมมือกับองค์กรนอกภาครัฐ (NGO) ในการวางแผนและตอบสนองต่อภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงจากการโยกย้ายผู้สูงอายุเป็นรายบุคคลหลังจากแผ่นดินไหวโกเบ มาเป็นการโยกย้ายเป็นกลุ่มช่วยลดการสูญเสียชีวิตได้อย่างมาก ความสำเร็จนี้เห็นได้จากการเสียชีวิตที่ต่ำกว่าประเทศอื่นที่เผชิญกับแผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่า

ญี่ปุ่นสามารถปกป้องประชาชนให้ปลอดภัยได้แม้จะมีอันตรายต่างๆ ตั้งแต่สึนามิไปจนถึงภูเขาไฟ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศได้ลงทุนปรับปรุงการตอบสนองตลอดเวลา ก่อนศตวรรษที่ 21 เจ้าหน้าที่ได้ผลักดันให้สถาปนิกและวิศวกรสร้างอาคารให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เช่น แผ่นดินไหวที่โตเกียวในปี 1923 แผ่นดินไหวที่โกเบในปี 1995 และแผ่นดินไหวที่โทโฮกุในปี 2011 บริษัทก่อสร้างได้ยกระดับการพัฒนาวิศวกรรมของตนเอง แม้แต่แผ่นดินไหวที่โนโตะในปี 2024 ก็ผลักดันให้รัฐบาลต้องปรับปรุงมาตรฐานแผ่นดินไหวมากขึ้น

จากผู้เสียชีวิตมากกว่า 20,000 รายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่โทโฮกุเมื่อปี 2011 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เพียง 2% เท่านั้น บ้านเรือนและธุรกิจต่างๆ ยังคงดำเนินกิจการต่อไปได้แม้หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ สาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดคือ การจมน้ำ ไม่ใช่อาคารถล่ม

ประสบการณ์ของญี่ปุ่นในการมีส่วนร่วมจากล่างขึ้นบนในการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อภัยพิบัติควบคู่ไปกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สามารถส่งออกไปยังประเทศอื่นๆได้ ญี่ปุ่นจัดการฝึกอบรมการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นประจำผ่านทางสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น และองค์กรพัฒนาเอกชน

เช่น PeaceBoat เป็นผู้มีบทบาทบ่อยครั้งในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติ เมื่อพิจารณาจาก ความถี่และความรุนแรงของเหตุการณ์ช็อกและภัยพิบัติที่เพิ่มมากขึ้นญี่ปุ่นสามารถเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ที่ต้องการสร้างความสามารถในการฟื้นตัวได้