net-zero

สัญญลักษณ์ ฉลากสิ่งแวดล้อม มีกี่ประเภท ที่ใช้ในประเทศไทยแสดงลดโลกร้อน

    สัญญลักษณ์ ฉลากสิ่งแวดล้อม มีกี่ประเภท ที่ใช้ในประเทศไทยแสดงบนผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อโลก

สัญญลักษณ์ ฉลากสิ่งแวดล้อม มีกี่ประเภท กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  ได้โพสต์ข้อความว่า  สัญญลักษณ์ ฉลากสิ่งแวดล้อม  มีดังนี้

 สัญลักษณ์ G 

  • มาตรฐานโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่รับรองว่ากระบวนการผลิต หรือการบริการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตราสัญลักษณ์ G เช่น 
  • สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Production) กลุ่มผ้าเครื่องแต่งกายจากผ้าและเคหะสิ่งทอ กลุ่มเซรามิกและเครื่องปั้นดินเผา กลุ่มไม้และจักสาน กลุ่มสบู่  โรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Hotel) 
  • ร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Production)
  •  สัญลักษณ์ อุตสาหกรรมสีเขียว
  • หรือ Green Industry โดย กระทรวงอุตสาหกรรม สินค้าที่มาจากอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

 

สัญลักษณ์ FSC

  • FSC   เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากผู้ซื้อในตลาดระดับสากล ผลิตภัณฑ์ที่มั่นใจได้ว่ามาจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์ที่มีการบริหารจัดการอย่างมีความรับผิดชอบ หรืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

  • สัญลักษณ์ประหยัดไฟ เบอร์ 5 ที่เรามักพบเห็นกันบ่อยๆ ตามเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น พัดลม เครื่องปรับอากาศ  ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น 

สัญญลักษณ์ ฉลากสิ่งแวดล้อม

 

ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์
หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ฉลากลดโลกร้อนแสดงว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการประเมิน และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ประเมินตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ 

ฉลากเขียว

  • ฉลากเขียว เป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผ่านการประเมินและตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม ฉลากเขียวเป็นการสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ให้บริการ ที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เครื่องใช้ในสำนักงาน อุปกรณ์ก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

ฉลากรีไซเคิล

  • บรรจุภัณฑ์ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ผู้ซื้อต้องแยกขยะให้ถูก สะอาด แห้ง ด้วยเพื่อสามารถนำกลับเข้าสู้วงจรไปรีไซเคิลได้  เช่น กล่องอาหารพลาสติก ขวดน้ำยาซักผ้า ขวดน้ำพลาสติก กระป๋องเครื่องดื่ม.

ที่มา: กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม