ในปี 2567 มีการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกในอัตราที่รวดเร็วเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากราคาแผงโซลาร์เซลล์ที่ถูกลง ช่วยให้ประเทศต่างๆ พยายามใช้พลังงานที่สะอาดขึ้น
ในรายงานฉบับใหม่ของ Ember บริษัทวิจัยด้านพลังงานที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระบุว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ทั่วโลกปีนี้จะเพิ่มขึ้น 593 กิกะวัตต์ หรือประมาณ 29% จากปีที่แล้ว มาจากการติดตั้งใหม่ที่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในปี 2023 และสอดคล้องกับการคาดการณ์ของ BloombergNEF เป็นส่วนใหญ่
ตลาดหลักอย่างจีน อินเดีย และเยอรมนี ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ขณะที่ความต้องการจากประเทศที่เคยแสดงความสนใจในโซลาร์เซลล์น้อย เช่น ซาอุดีอาระเบียและปากีสถาน กลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
สหรัฐ ก็ยังมีการเติบโตของโซลาร์เซลล์ในช่วงครึ่งแรกของปี แม้สมาคมอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศจะทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์จะลดลงในปี 2024 เนื่องจากตลาดสำหรับแผงโซลาร์บนหลังคามีแนวโน้มแย่ลง
ราคาโมดูลโซลาร์เซลล์ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ประมาณ 0.10 ดอลลาร์ต่อวัตต์ ตามรายงานของ BloombergNEF เป็นข่าวดีสำหรับผู้พัฒนาโซลาร์เซลล์ ผู้ผลิตอุปกรณ์กำลังขาดทุน
ขณะที่บางประเทศเริ่มมีปัญหาในการรองรับกำลังการผลิตโซลาร์เซลล์จำนวนมากที่ผลิตไฟฟ้าเต็มกำลังในช่วงกลางวัน แต่หายไปในเวลากลางคืน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของระบบไฟฟ้าในทางเลือกอื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวยังคงมีความสำคัญ
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ การทำให้มั่นใจว่าประเทศต่างๆ มีความสามารถของระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพียงพอที่จะส่งพลังงานไปยังพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน รวมถึงการพัฒนาความสามารถในการกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ เพื่อเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงแดด
ไทยติดตั้งโซลาร์มากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ไทยติดตั้งโซลาร์มากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน แต่สัดส่วนการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ยังไม่ถึง 4% ของพลังงานทั้งหมด
การติดตั้งโซลาร์ของไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 17.9% ในอีก 10 ปีข้างหน้า และจะยังครองอันดับ 2 ในอาเซียน ขณะที่นำสิงคโปร์
ปัจจัยหนุนการติดตั้งโซลาร์ของไทย
1. ตามแผน PDP โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะเป็นแหล่งที่รับไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่มากที่สุด
2. การกลับกล้านโยบายการติดตั้ง Solar Rooftop เสรี
3. ราคาพลังงานโซลาร์ลดลงเกือบ 90% ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา
4. เป้าหมายให้พลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วน 30% ของพลังงานทั้งหมดภายในปี 2037
ประเทศที่ติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์มากในอาเซียน (ตามสัดส่วนพลังงานแสงอาทิตย์ต่อพลังงานทั้งหมด)
ไทยจะบรรลุเป้าหมาย AEDP 2037 ซึ่งก็คือ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan) ของประเทศไทย หากสามารถรักษาอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีนี้ไว้ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง