นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวเสวนาเรื่อง "Bridging Policy and Practice เชื่อมนโยบายสู่การปฏิบัติ" ในงาน FPO Symposium 2024 "Fiscal GreenPrint พิมพ์เขียว นโยบายการคลังสู่เศรษฐกิจสีเขียว" ว่า สถาบันการเงินเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่จะแปรผันทรัพยากรเงินทุนที่ให้ไปถูกทาง ตามนโยบายระบบเศรษฐกิจที่มี
ซึ่งบริบทของประเทศไทย มีทั้งเศรษฐกิจนอกระบบ โดยประเทศที่มีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะเผชิญ climate risk สูงกว่า เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติ ความเปราะบางทางเศรษฐกิจและสังคม และความสามารถในการรับมือกับปัญหา โดยหากเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ จะเป็นรากฐานสำคัญในการก้าวไปสู่ Green transition อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าประเทศไทยมีความท้าทายสูงมาก ซึ่งศักยภาพและโครงสร้างยังไม่ค่อยแข็งแรง
ขณะเดียวกัน หากจะบรรลุเน็ตซีโร่ในปี 2050 ทั่วโลกจะต้องมีการลงทุนกว่า 9.2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ขณะที่ในภูมิภาคนั้น เอกชนต้องลงทุน 6.3 พันล้านดอลลาร์ ด้านประเทศไทยจะต้องมีเม็ดเงินลงทุนสูงถึง 184 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่การลงทุนของเอกชนในประเทศไทยลงทุนเพียงปีละ 4 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
อย่างไรก็ดี สมาคมธนาคารไทยได้นำเรียน 5 ข้อเสนอ ต่อ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาประเทศไทย ลดความเหลื่อมล้ำ แก้หนี้ครัวเรือน และเดินหน้าสู่ความยั่งยืน ได้แก่
ขณะเดียวกัน สมาคมธนาคารได้ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ซึ่งตอนนี้ภาคกลุ่มธนาคารได้มุ่งช่วยภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่กรีน หรือ lass brow มากขึ้น ซึ่งในปี 2566 ธนาคารขนาดใหญ่ให้สินเชื่อสีเขียวและสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนแล้วเกือบ 2 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีกฎให้ธนาคารพาณิชย์ส่งแผนไปสู่การเป็นเน็ตซีโร่ แต่ท้ายที่สุดแล้วจะทำอย่างไรให้ภาพเหล่านั้นไปตรงกับภาพการพัฒนาของประเทศ เพื่อกลับไปสู่ภาคประชาชนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งการเชื่อมโยงส่วนนี้สำคัญที่จะตอบโจทย์ทรัพยากร
นายผยง กล่าวว่า หากดูกรณีศึกษารัฐบาลจีน ได้ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลน ดอกเบี้ย 1.75% เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ ดอกเบี้ย 3.45% เป็นเวลา 3 ปี โดยตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้กว่า 5 แสนกว่าล้านหยวนแล้ว
“เมื่อการขับเคลื่อนไปที่กลุ่มต้องการส่งเสริม ไม่ได้กระจัดกระจาย หรือเหมาเข่ง โดย 5 อันดับการสนับสนุนการลงทุนของจีน คือ การลงทุนในโซลาร์ ซึ่งทำให้กระจายครอบคลุมไปทั่วประเทศ สำหรับประเทศไทย จะต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน แม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการสนับสนุน และภาคธนาคารยินดีที่จะเป็นกลไกกลางที่จะแปรผันทรัพยากรที่จะตอบโจทย์ ESG”
ขณะเดียวกัน สมาคมธนาคารไทยก็โดยได้ประกาศ 4 แผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. Enabling Country Competitiveness การเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของภาคธุรกิจเพื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น
2. Regional Championing การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ นักลงทุนและประชาชนสามารถทำกิจกรรมการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และการชำระเงินของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ต้นทุนต่ำ
3. Sustainability ภาคธนาคารต้องดำเนินงาน และ มีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานของภาคเอกชนคำนึงถึงหลักการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนหรือ ESG โดยสมาคมฯ จะผลักดันให้ภาคธุรกิจปรับตัวสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) และ BCG economy หรือโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
4. Human Capital การพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะตอบโจทย์โลกอนาคต สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง