sustainability

ธุรกิจ BCG มาแรง เอกชนตื่น รับภาวะโลกร้อน

    จากกระแสการตื่นตัวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือการรับมือกับภาวะโลกร้อน กำลังเข้ามามีบทบาทต่อภาคธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือ Circular Economy

โดยจะมาตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจ ในการมีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนจกของประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจที่ดำเนินงานทางด้านนี้เติบโตหรือขยายตัวมากขึ้น

สะท้อนได้จากการดำเนินงานของบริษัท ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจฟื้นฟูสภาพถ่านกัมมันต์ใช้แล้ว (Regeneration of Spent Activated Carbon) โดยให้บริการในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่น ๆ มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้รับปัจจัยบวก จากกระแสการตื่นตัวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมตามแนวทาง BCG และ ESG ตามหลักเศรฐกิจพอเพียง ทำให้เติบโตถึง 15 -25 % และคาดว่าในปี 2567 น่าจะเติบโตได้ถึง 50 %

จากการขยายธุรกิจฟื้นฟูสภาพ (Regeneration) จากถ่านกัมมันต์ใช้แล้ว (Spent Activated Carbon) และนำไปสู่การปรับปรุง และขยายโรงงานสำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้ว (Spent Catalyst) รวมไปถึงการสกัดโลหะมีค่า (Precious Metals) จากตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อสร้าง New S-Curve เพิ่มการเติบโต

ธุรกิจ BCG มาแรง เอกชนตื่น รับภาวะโลกร้อน

นายณัฐสิทธิ์ ธีรกุลวาณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น จำกัด (มหาชน) ชี้ให้เห็นว่า การฟื้นฟูสภาพตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้ว และการสกัดโลหะมีค่าจากตัวเร่งปฏิกิริยา ที่เสื่อมสภาพและไม่สามารถฟื้นฟูสภาพเพื่อนำกลับไปใช้งานใหม่ได้ ถือเป็นการปฏิวัติวงการ ด้วยรูปแบบธุรกิจที่ไม่เคยมีในประเทศไทยมาก่อน และถือเป็น New S-Curve ที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมขององค์กร

ธุรกิจ BCG มาแรง เอกชนตื่น รับภาวะโลกร้อน

ในปัจจุบันตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้วจะต้องส่งไปดำเนินการฟื้นฟูสภาพ ยังต่างประเทศและส่งกลับมาในประเทศไทย เช่นเดียวกับตัวเร่งปฏิกิริยาใช้แล้วที่เสื่อมสภาพ ก็จะส่งไปขายหรือดำเนินการสกัดโลหะมีค่ายังต่างประเทศ

ดังนั้น จากความต้องการ (Demand) ที่มีอยู่แล้ว ประกอบกับปัญหา (Pain point) ของลูกค้าในการส่งไปดำเนินการยังต่างประเทศ จึงทำให้บริษัทฯ เล็งเห็นช่องว่างทางธุรกิจนี้ และมีแผนในการขยายธุรกิจดังกล่าว โดยช่วงแรกจะเน้นไปที่ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีโลหะมีค่าในกลุ่มแพลทินั่ม รวมไปถึงทองคำ (Au) และเงิน (Ag) เป็นองค์ประกอบ โดยโฟกัสไปยังฐานลูกค้าเดิมในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

ธุรกิจ BCG มาแรง เอกชนตื่น รับภาวะโลกร้อน

การขยายธุรกิจในครั้งนี้ นับว่าเป็นการใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน (Sustainnovation) สร้างเศรษฐกิจใหม่ของไทย และยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสากล ด้วยแนวคิดในการเป็นผู้นำทางด้าน BCG และยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืนได้เพื่อเศรษฐกิจในประเทศที่มั่นคง