sustainability

CITE DPU พลิกโฉมการศึกษา ติวเข้มวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ก้าวสู่อุตสาหกรรม EV

    CITE DPU เปิดหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เรียนรู้ครบวงจรกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมลงมือปฏิบัติจริงในห้องแล็บสุดล้ำ สร้างโอกาสให้นักศึกษาเตรียมพร้อมสู่ตลาดแรงงาน EV ที่กำลังเติบโต

จากสภาวะโลกร้อนส่งผลให้ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบด้านสภาพอากาศให้มากที่สุด โดยประเทศไทยมีเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และเตรียมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero) ภายในปี 2065 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประชาคมโลก ส่งผลให้คนไทยหันมาลดการใช้รถยนต์สันดาปที่ใช้พลังงานฟอสซิลไปสู่รถ EV (Electric Vehicle) กันมากขึ้น จากข้อมูลสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ในปี 2023 ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี (BEV) ในไทย 49,952 คัน เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 2022 ที่มียอดจดทะเบียน ประมาณ 20,815 คัน 

อาจารย์โสภณ โพธิ์ขาว อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (College of Engineering and Technology  : CITE)

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนในส่วนของการศึกษาที่ขานรับกับแนวโน้มตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ขยายตัว ทางวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (College of Engineering and Technology  : CITE) หน่วยงานในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมที่ต้องการบุคลากรและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ และป้อนคนเก่งเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

ผู้นำการสอนเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่

อาจารย์โสภณ โพธิ์ขาว อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (College of Engineering and Technology  : CITE) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าเป็นตลาดใหญ่ที่เติบโตค่อนข้างเร็วและมีศักยภาพมาก อีกทั้งมีความต้องการของตลาดงานสูง นักศึกษาที่เรียนด้านเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่และยานยนต์ไฟฟ้าจะมีโอกาสทำงานในตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโลกกำลังเปลี่ยนไปสู่การใช้ยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

CITE DPU พลิกโฉมการศึกษา ติวเข้มวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ก้าวสู่อุตสาหกรรม EV

“ที่ CITE DPU เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวในไทยที่มีวิชาแบตเตอรี่ ทำให้นักศึกษาได้ลงมือแพ็คแบตเอง ตั้งค่าและทดสอบแบต จนกระทั่งเอาไปใช้งานในยานยนต์จริง” อาจารย์โสภณ กล่าว

เรียนกับตัวจริง อัดแน่น ‘ความรู้-ลงมือทำ’

อาจารย์โสภณ กล่าวว่า ตลาด EV เติบโตต่อเนื่อง จากประสบการณ์ที่ทำงานอยู่ในสายงานนี้มา 24 ปี เริ่มจากช่างเทคนิค วิศวกรภาคสนาม วิศวกรเทคนิค ผู้จัดการแผนกเทคนิค ให้กับบริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา อีกทั้งส่วนตัวชอบการแต่งรถ Custom และสร้างรถมอเตอร์ไซค์เป็นงานอดิเรก พร้อมทั้งสร้างผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง โดย CYBER BUG เป็นการออกแบบแนว Futuristic ขณะที่ Space Samurai เป็นรุ่นชนะเลิศ ประเภท  Electric bike งาน Bangkok Motor Bike Festival 2022 ตามมาด้วย Neo 50's เป็นแนว Cyberpunk รับรางวัล Guest pick ' งาน Bangkok Hot Rod Custom Show 2024  Bangkok Disorder และ SP-1 classic ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ได้รับการยอมรับ

“ผมชอบมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ ชิ้นส่วนกลไก มาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น จึงเลือกเรียนช่างยนต์ จากนั้นมีโอกาสทำงานในบริษัทรถยนต์รายใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกาก่อนจะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี จบอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิตเครื่องกล (อส.บ.) เกียรตินิยมอันดับ 2 และเรียนต่อปริญญาโท การจัดการทางวิศวกรรม จากความชอบในการสร้างมอเตอร์ไซค์ทั้งแบบเครื่องยนต์และแบบไฟฟ้า ทำให้อยากถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตลอด 24 ปีให้กับน้อง ๆ ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป” อาจารย์โสภณกล่าว

CITE DPU พลิกโฉมการศึกษา ติวเข้มวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ก้าวสู่อุตสาหกรรม EV

ความโดดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Bachelor of Engineering in Modern Automotive Engineering) เป็นหลักสูตรที่เน้นการเรียนการสอน ระบบควบคุมรถยนต์ ระบบ AI และการปรับแต่งเครื่องยนต์ด้วยตัวเอง โดยมีห้องปฏิบัติการเฉพาะทางที่ทันสมัย เพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีล่าสุดของรถยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ระบบขับเคลื่อนไปจนถึงการออกแบบแบตเตอรี่ พร้อมลงมือปฏิบัติจริงกับรถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นเอง 

“ทั้งระหว่างการเรียน และเมื่อเรียนจบออกไป นักศึกษาจะสามารถออกแบบและสร้างรถอย่าง ebike คันนี้ได้อย่างแน่นอน” อาจารย์โสภณ กล่าว 

 

เรียนจบไม่ตกงาน

อาจารย์โสภณ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดยานยนต์ไฟฟ้ากำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะทางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาอย่างยั่งยืนและประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทน และการลดการปล่อยมลพิษ จึงเป็นโอกาสของบุคลากรที่มีความรู้ในด้านนี้ในการเข้าทำงานได้ในหลากหลายสายงาน เช่น การออกแบบยานยนต์, การผลิตยานยนต์, การวิจัยและพัฒนา รวมถึงการบริหารจัดการ

โดยหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Bachelor of Engineering in Modern Automotive Engineering) เปิดรับนักเรียน นักศึกษาที่สำเร็จ ม.6 และ ปวช. ทุกสาขาวิชา ในภาคปกติ และหลักสูตรเทียบโอน 2 ปี และ เทียบโอนพิเศษเรียนเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จ ปวส.

“นักศึกษาที่เรียนจบจากหลักสูตรนี้สามารถขอใบรับรองความรู้ความชำนาญจากสภาวิศวกรในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ พร้อมกับโอกาสการศึกษาดูงานที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน EV ของจีน พร้อมกันนี้ขอฝากถึงน้อง ม.6 หรือ ปวช. ปวส. ที่สนใจวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และกำลังตัดสินใจเลือกเรียน สาขานี้จะเป็นโอกาสที่น้อง ๆ จะได้พัฒนาทักษะในด้านยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน ถ้าใครมีความชอบด้านเทคโนโลยีล้ำสมัย วิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเรียนที่น่าสนใจ” อาจารย์โสภณกล่าว