จาก "สวนจิตรฯ" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

05 ธ.ค. 2563 | 02:33 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ธ.ค. 2563 | 10:03 น.

รายงานพิเศษ : จาก "สวนจิตรฯ" ถึงบ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

“ผมเคยไปอบรมเศรษฐกิจพอเพียงที่สวนจิตรลดา เมื่อปี 2542-2543 เมื่อกลับจากสวนจิตรฯ ผมก็กลับมาบ้านบางโรง  ชวนชาวบ้านทำธนาคารหอย เมื่อทำแล้วเราต้องได้กินหอย ไม่ใช่ทำแล้วขายแต่ตัวเองไม่ได้กิน ไม่ใช่ทำมือซ้ายแล้วมือขวาไม่รับรู้ ในหลวงไม่ได้บอกว่าท่านต้องทำแบบนี้ แบบนี้ จนต่างประเทศยกย่องในหลวงเป็นแบบอย่าง พระองค์เป็นต้นแบบของการนำไปใช้ อนุรักษ์แล้วนำไปกินไปใช้ได้ด้วย” 

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

นั่นคือคำบอกเล่าของ “นายเสบ เกิดทรัพย์ผู้จัดการกลุ่มออมทรัพย์อัลอามานะห์ บ้านบางโรง หมู่3 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต  เล่าด้วยความปลาบปลื้มถึงคำสอนของ “พ่อหลวงในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 

นายเสบ เกิดทรัพย์” ผู้จัดการกลุ่มออมทรัพย์อัลอามานะห์

บังเสบ เล่าว่า สถานการณ์โควิดทำให้จังหวัดภูเก็ตได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะนักท่องเที่ยวหายไป 100% แต่ที่ศูนย์การเรียนรู้ฯที่นี่ไม่กระทบเท่าไรนัก เพราะนักท่องเที่ยวเป็นคนไทย และชาวบ้านยังมีวิถีชีวิตกับการทำประมง

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

“ที่มาของกลุ่มสหกรณ์ฯ เกิดจากปัญหาหลายชั่วอายุ เกิดความแตกแยกการเมือง สังคม มีการทำลายทรัพยากร ผมจึงวิจัยเพื่อหาคำตอบช่วยชุมชนอย่างไรกับปัญหาต่างๆ อย่างเช่น ป่าชายเลน ในอดีตทำไมชาวบ้านซื้อขายได้ ทำไมออกโฉนดได้ แต่ตอนนี้ยึดกลับมาปลูกป่าหมด”

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

สำหรับ “กลุ่มออมทรัพย์บ้านบางโรง” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 จากสมาชิกเริ่มต้น 35 คน เงินหมุนเวียน 27,500 บาท ปัจจุบันมีสมาชิก 1,500 คน เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท เป็นเงินของคนในชุมชน แก้ปัญหาที่อยู่อาศัย-สร้างอาชีพ โดยไม่มีระบบดอกเบี้ย เพราะถือว่าเป็นบาป และยังมีสวัสดิการให้ถ้าไม่ขาดผ่อน 3 เดือน ภายใน 1 ปี ไม่ขาดค่าหุ้นเลย ไปนอนโรงพยาบาลผมจ่ายให้คืนละ 300

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

บังเสบ เล่าอีกว่า เมื่อก่อนกุ้งหอยปูปลาเต็มไปหมด หย่อนเบ็ดหาปลาก็หาง่าย แต่เมื่อป่าชายเลนหายไปสัตว์น้ำก็ก็หายไป จึงทำการวิจัยด้วยการอนุรักษ์ เพราะถ้าไม่มีการอนุรักษ์ก็จะเกิดผลกระทบกับชุมชนเอง ใช้เวลาในการวิจัย 15 ปี ตั้งแต่ปี 2545 สามารถฟื้นสภาพป่าชายเลน สัตว์น้ำก็กลับมาอุดมสมบูรณ์  การบุกป่าชายเลนก็ลดลง 

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

บังเสบ ยอมรับว่างบประมาณจากรัฐบาลในการอนุรักษ์มีน้อยมาก ถ้าเรามัวรอรัฐบาลก็อาจจะช้าเกินไป  จึงใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ใช้งบส่วนตัว ไปหาซื้อพันธุ์ไม้ที่หายไปจากชุมชนนำมาปลูก “พระองค์บอกว่า น้ำคือชีวิต ไม่มีเงินเรายังอยู่ได้ แต่ไม่มีน้ำไม่มีอาหารกินอยู่ไม่ได้”

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

ช่วงวิกฤติโควิดที่ผ่านมา พบว่าชาวบ้านทำทัวร์ ขับรถตู้ลับมามีเรือ กลับมาทอดแห  กลับมาซื้ออวน ซื้อเรือรำเล็กๆเพื่อทำประมงเหมือนอดีต เมื่อก่อนมีคนทอดแหเห็นมีทอด 2 คน แต่ตอนนี้มีคนทอด 10 คน ปลาเก๋า เมื่อก่อนที่มีนักท่องเที่ยวราคากิโลกรัมละ 500 บาท ทั้งนี่ตอนซื้อจากทะเลขายได้แค่ 150 บาท ตอนนั้นคนหาก็ไม่มีโอกาสได้กินเพราะราคาแพง ต้องการขายมากกว่า 

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

“ผมดีใจที่ป่าชายเลนทำให้อยู่รอดในวิกฤติ อยากสร้างคนรุ่นใหม่ที่ขึ้นมาช่วยกันอนุรักษ์” 

เช่นเดียวกับ นายสมชาย เชื้อสง่า จากธนาคารปูม้า จังหวัดภูเก็ต ของกลุ่มประมงพื้นบ้าน ชุมชนคลองกำแพง บ้านบางโรง พาชมสำนักงานธนาคารปูม้า ที่แสดงให้เห็นถึงการสร้างอาชีพเชิงอนุรักษ์ “ปูม้า” แบบครบวงจร  จนสามารถเลี้ยงตัวเองและชุมชน ภายใต้แนวคิด “เปลี่ยนจากผู้ล่าเป็นผู้อนุรักษ์"

นายสมชาย เชื้อสง่า ธนาคารปูม้า กลุ่มประมงพื้นบ้าน ชุมชนคลองกำแพง บ้านบางโรง จ.ภูเก็ต

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

นายสมชาย เล่าว่าในช่วงที่การท่องเที่ยวยังบูมมาก ปูม้า กิโลกรัมละ 500 บาท ชาวประมงต้องออกทะเลไปไกลเพื่อหาปูม้ามาขาย ความต้องการมีมาก ทำให้ต้องออกทะเลไปไกลและนานมากขึ้น จึงทำให้ไม่ว่าปูม้าตัวเล็กหรือตัวใหญ่ มีไข่หรือไม่มีไข่ก็ถูกจับมาขายหมด ทำให้แม่ปูม้าที่มีไข่ในตัวกว่า 4 ล้านฟอง ต้องถูกจับไปด้วย ส่งผลต่อการเกิดใหม่ของปูม้า

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

จนเกิดเป็นไอเดียนำแนวพระราชดำริ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับหน่วยงานในชุมชนและองค์กรภายนอก ตั้งเป็น ธนาคารปูม้า ให้ชาวบ้าน ชาวประมง นำปูม้าที่มีไข่มาฝาก เข้าระบบของธนาคารปูม้า และเพาะพันธุ์ไข่กว่า 4 ล้านฟอง ให้เจริญเติบโตต่อไป เข้าสู่วงจรการอนุรักษ์แบบชาวบ้านเองก็มีรายได้ด้วย เพราะแน่นอนว่าถ้าปูม้าในท้องทะเลลดลง หมายถึงรายได้ของชาวบ้านก็ลดลงตามไปด้วย

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

ธนาคารปูม้า จะทำการบันทึกข้อมูลการฝากปูม้าของชาวบ้าน ด้วยการ “เปิดบัญชีออมไข่ ธนาคารปูม้า”  ให้ชาวบ้านนำแม่ปูที่มีไข่นอกกระดองที่จับมาได้ เข้ามาฝากที่ธนาคาร เพื่อนำไข่มาฟักแล้วนำไปปล่อยกับคืนลงทะเล สวัสดิการนอกจากตัวเงินและสวัสดิการในรูปแบบสหกรณ์แล้ว ยังทำให้ชาวบ้านมีโอกาสเข้าถึงอุปกรณ์ประมง อุปกรณ์จับปูที่ถูกกฎหมาย สามารถไถ่ถอนปูคืนได้ รวมทั้งมีโอกาสได้อบรมเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย 

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

นายสมชาย เล่าทิ้งท้ายว่า สถานการณ์โควิดมุมหนึ่งทำให้ภูเก็ตได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว แต่อีกมุมหนึ่งคือทำให้ชาวบ้านคิดถึงวิถีชีวิตของตัวเองในอดีต มีการกลับมาทำการประมงแบบพอเพียง เพื่อขายและเก็บไว้กินเอง ทำให้สิ่งแวดล้อมความอุดมสมบูรณ์ของกุ้งหอยปูปลาในทะเลกลับคืนมา

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

จาก \"สวนจิตรฯ\" สู่บ้านบางโรง “เศรษฐกิจพอเพียง” อีกมุมของ “ภูเก็ต”

เรื่อง/ภาพ โดย จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง

ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ