จับตามอง Cloud-Based Economy

16 ธ.ค. 2563 | 03:30 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ธ.ค. 2563 | 10:31 น.

จับตามอง Cloud-Based Economy : คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ  โดย ผศ.ดร.วรประภา นาควัชระ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,636 หน้า 5 วันที่ 17 - 19 ธันวาคม 2563

 

ตลาดของ Cloud เติบโตมากแค่ไหนในช่วงเวลาที่ผ่านมา?

 

Cloud เป็นธุรกิจที่เติบโตสูงในช่วงเวลาที่ผ่านมา จากรายงานของ Gartner พบว่าตลาดโลกของ Cloud ที่ให้บริการประเภท Infrastructure as a Service (IaaS) เติบโตถึง 37.3% ในปี 2019 (โดย market มีมูลค่า 32.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 44.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2019)

 

นอกจากนี้สถานการณ์ Covid-19 จะเร่งการเติบโตของตลาดนี้เพิ่มขึ้นไปอีก เพราะธุรกรรมหลายๆ อย่างถูกย้ายมา Online มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งช่วงเวลาวิกฤติก็จะผลักให้ธุรกิจต้องปรับโครงสร้างหันมาหาทางดำเนินกิจการแบบ Cost-Efficient มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ตลาดนี้น่าจับตามองมากทีเดียว

 

โดยผู้ให้บริการ Public Cloud ที่เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก ก็คือ Amazon Web Services, Microsoft Azure, Google Cloud  หากเป็นผู้ให้บริการจากประเทศจีน ก็เช่น Alibaba  Cloud, Tencent Cloud หากเป็นผู้ให้บริการภายในประเทศไทย ก็เช่น True IDC, INET

 

 

 

มีอะไรอยู่บน Cloud บ้าง?

 

Cloud เปรียบเหมือนระบบ Computer และ Storage ที่สามารถเพิ่มหรือลดขนาดได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ (Scalability) โดยผู้ใช้สามารถเลือก “ขนาด” ที่ต้องการและจ่ายเงินเท่าที่ต้องการจะใช้ให้กับผู้ให้บริการ (แทนที่จะต้องซื้ออุปกรณ์ Hardware ทั้งหมดมาตั้งไว้ที่บ้านหรือที่ทำงาน) โดยลักษณะการใช้ก็แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะใช้มากใช้น้อยแค่ไหน บางคนอาจใช้แค่เก็บข้อมูล บางคนอาจใช้เขียนและ Run Program ขนาดใหญ่และซับซ้อนอยู่บน Cloud ก็ไดประโยชน์ของ Cloud?

 

จับตามอง Cloud-Based Economy

 

 

การที่ผู้ใช้ไม่ต้องลงทุนซื้อ Hardware ทั้งหมดมาตั้งไว้เอง ทำให้ผู้ใช้สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย (Cost Reduction) นอกจากนี้การที่ผู้ใช้สามารถเลือก “ขนาด” และเปลี่ยนแปลงขนาดที่ต้องการได้ (โดยจ่ายเงินเท่าที่ใช้) สามารถทำให้ผู้ใช้สามารถ Scale ระบบให้เติบโตได้เร็วเท่าที่ต้องการ หรือหากมีความจำเป็นต้องลดขนาดก็ทำได้ทันที (Scalability) ทำให้ผู้ใช้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัว ปรับองค์กรได้เร็ว (Agility) โดยไม่ต้องกังวลเรื่อง Fixed Costs ของ Hardware

 

 

 

Cloud เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจอย่างไร?

 

ระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยผู้บริโภค (หรือผู้ซื้อ) และผู้ผลิต (หรือผู้ขาย) ปัจจุบันผู้ผลิตในระบบเศรษฐกิจหันมาพึ่งพา Cloud กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Cloud เพื่อเก็บข้อมูล ใช้ช่วยทำธุรกรรมภายในเพื่อให้มีประสิทธิภาพและลดต้นทุน ไปจนถึงการใช้ Cloud ในการสร้างธุรกิจหรือบริการรูปแบบใหม่ เพื่อนำมาเสนอให้กับผู้บริโภค  นอกจากนี้ จริงๆ แล้วผู้ให้บริการ Cloud ก็ถือเป็นผู้ผลิต (หรือผู้ขาย) เช่นเดียวกัน เพราะถือว่าได้นำ Cloud Services มาให้บริการและรับชำระค่าบริการในระบบเศรษฐกิจ

 

ส่วนผู้บริโภค (หรือผู้ซื้อ) อาจจะเป็นผู้ที่ใช้บริการ Cloud โดยตรง หรือรับบริการจากผู้ผลิตที่ใช้ Cloud ซึ่งหากไม่มี Cloud สินค้าหรือบริการบางอย่างอาจไม่สามารถถูกสร้างขึ้นได้ในระบบเศรษฐกิจ

 

นอกจากนี้ผลกระทบด้านอื่นทางเศรษฐกิจสังคม ก็อาจจะเป็นเรื่องของความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การเพิ่มหรือลดการจ้างงานของแรงงานที่เกี่ยวข้อง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล การเก็บและบริหารข้อมูล (ใน Cloud) ที่อาจอยู่ในต่างประเทศที่กฎกติกาไม่เหมือนกัน

 

ด้วยบริบทของการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงตัวเร่งต่างๆ ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 ทำให้ตลาด Cloud เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงเวลาที่ผ่านมา และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไป 

 

ระบบเศรษฐกิจจะพึ่งพา Cloud มากขึ้น ประเด็นหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับ Cloud จึงควรถูกนำมาขบคิดต่อไป