จีนมุ่งขับเคลื่อนการใช้พลังงานสีเขียว พัฒนาพลังงานคาร์บอนต่ำ

13 ก.ย. 2564 | 06:20 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ก.ย. 2564 | 13:27 น.

จีนมุ่งขับเคลื่อนการใช้พลังงานสีเขียว พัฒนาพลังงานคาร์บอนต่ำเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ถึงเพดานสูงสุดก่อนปี2573 และเป็นประเทศที่ปลอดคาร์บอนก่อนปี 2603

วันนี้ (13 ก.ย.64) พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ และผู้ทรง​คุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง กล่าวสุนทรพจน์ผ่านระบบวิดีโอในพิธีเปิด “การประชุมการพัฒนาพลังงานคาร์บอนต่ำปี 2021 ณ เมืองไท่หยวน” เมื่อวันที่ 3 ก.ย.64

 

นายหลี่ เค่อเฉียง กล่าวว่า รัฐบาลจีนให้ความสําคัญในระดับสูงกับการพัฒนาพลังงานที่มีคุณภาพสูง และการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ประกาศไปแล้วว่า จีนจะพยายามบรรลุเป้าหมาย การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ถึงเพดานสูงสุดก่อนปี ค.ศ.2030 (พ.ศ. 2573) และเป็นประเทศที่ปลอดคาร์บอนก่อนปี ค.ศ.2060 (พ.ศ.2603)

 

นายหลี่ เค่อเฉียง เน้นย้ำว่า ขณะนี้เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงระบาดใหญ่ในโลกและเกิดการกลายพันธุ์ รวมทั้งเศรษฐกิจโลกเกิดความไม่มั่นคงและมีความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนในทั่วโลกกําลังเผชิญกับการท้าทายที่รุนแรง

 

ด้วยเหตุดังกล่าวเหล่านี้ ทุกประเทศจึงควรจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อเอาชนะความยากลําบากในด้านต่างๆ และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปและส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยนายหลี่ เค่อเฉียง ได้เสนอข้อเสนอแนะ 3 ประการ ดังนี้

ประการแรก ต้องยึดมั่นในเจตนารมณ์ทางวิทยาศาสตร์ และท่าทีที่มุ่งสู่ความเป็นจริง ขับเคลื่อนการใช้พลังงานสีเขียว และการปล่อยคาร์บอนต่ำอย่างสมเหตุสมผล ทุกประเทศควรเคารพและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลย พยายามผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งทางด้านการบริโภค และรูปแบบการผลิตอย่างเป็นระเบียบ

 

ประการที่สอง การส่งเสริมธรรมาภิบาลในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างต่อเนื่อง โดยคํานึงถึงความรับผิดชอบทางประวัติศาสตร์ และสภาพภายในประเทศของประเทศต่างๆทั่วโลก ความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศพัฒนาและประเทศกําลังพัฒนามีความแตกต่างกัน ความต้องการและความสามารถด้านการพัฒนาก็มีความแตกต่างกันเช่นกัน

 

จึงต้องยึดหลักการที่ว่ามีความรับผิดชอบร่วมในแบบที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังต้องยืนหยัดในกลไกพหุภาคี ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้ความสําคัญในระดับสูงกับข้อเรียกร้องและสิ่งที่ให้ความสําคัญเป็นพิเศษของประเทศกําลังพัฒนา ต้องเพิ่มการสนับสนุนแก่ประเทศกําลังพัฒนาทั้งทางด้านเทคโนโลยี เงินทุน และความสามารถ เพื่อช่วยให้ประเทศกําลังพัฒนาบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ

ประการที่สาม การเสริมสร้างการประสานงานทางด้านนโยบายและการปฏิรูปโครงสร้าง รวมทั้งทํางานร่วมกันเพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่สมดุล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน การฟื้นตัวหลังเกิดโรคระบาดของประเทศต่างๆ จะต้องไม่หวนคืนสู่เส้นทางเดิมของการพัฒนามลภาวะสูงและการปล่อยมลพิษสูง จําเป็นต้องจัดการความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความเข้มแข็งของนโยบายมหภาค อย่างเหมาะสม

 

โดยเสริมสร้างการประสานนโยบายมหภาค การส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้าง รวมทั้งการปลูกฝังและเสริมสร้างแรงผลักดันใหม่ ๆ ด้วยต้นทุนที่ต่ําเพื่อช่วยส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างมีความสมดุล ตลอดจน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน

 

บทสรุป นายหลี่ เค่อเฉียง ชี้ให้เห็นว่า ในฐานะที่จีนเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจีนจะบรรลุการพัฒนาคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการตระหนักถึงความทันสมัยของสังคมนิยมและการทำงานอย่างหนักตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงานใหม่ และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างรอบด้าน

 

รวมทั้งการปรับวัฏจักรของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคให้เหมาะสมและยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรม เพื่อควบคุมกำลังการผลิตที่ใช้พลังงานสูงและการปล่อยมลพิษอย่างเคร่งครัด ตลอดจนสร้างแรงผลักดันใหม่ในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.chinaembassy.or.th/chn/zgyw/t1904465.htm )