เว็ปไซต์ CAREERADVICE ชี้นิ้วให้ นักข่าว มีสถานะเป็น นักปราชญ์ ออกไปกวาดหาข่าว วัฒนธรรม เหตุที่บอกว่า “นักข่าว” คือ “นักปราชญ์” เพราะว่า “พระพุทธเจ้า” ท่านตรัสเอาไว้ตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาลว่า “นักปราชญ์ ในโลกนี้ มีอยู่ 4 ประเภท หนึ่ง บุคคลผู้เกิดหลายราตรี สอง นักพเนจร สาม ผู้มีฌาณญาณ สี่ ผู้ปฏิบัติธรรม”
ขอแวะพักคุยที่ “ไหล่ไอเดีย” นิดนึง แบบว่า “ไหล่ไอเดีย” เป็นสายพันธุ์เดียวกันกับ “ไหล่ถนน” เรามองหน้าสองสาวแล้วเดาได้ว่าเป็นฝาแฝดเพราะว่าคล้ายคลึงกันปั๊วะอย่างไร ไหล่ไอเดีย มันก็ เบ้าเดียวกับ ไหล่ถนน อย่างนั้น
คืองี้ ข้อแรก บุคคลผู้เกิดหลายราตรี ได้โปรดอย่าแปลว่า เขาเกิดหลายคืนกว่าจะได้ตัดสายสะดือ (ฮา) “บุคคลผู้เกิดหลายราตรี” หมายถึง “ผู้มีอายุยืน” คนเช่นนี้เกิดมามีโชค ไม่ต้องควักซื้อหวยก็ได้เงิน เดือนละ 600 บาท (ฮา)
ข้อสอง นักพเนจร แบบว่า..ตะเภาเดียวกันเลยกับ ผู้สื่อข่าว นักท่องเที่ยว วินมอเตอร์ไซค์ ไกด์ ไปรษณีย์ แท็กซี่ นักขาย ว่าแต่ว่า บ่อนวิ่ง หรือ นักเรียนโดดร่ม ใช่ด้วยไหมเนี่ย (ฮา!)
ญี่ปุ่น –“จัดห้องงีบหลับ” พนักงานหลบไปหลับปรับความเพลียเคลียร์ทักษะ ยามยิ้มแป้น… (ฮา)
เกาหลีใต้ –“ห้องพักร้องคาราโอเกะ” เน้นหนุกหนาน คนสำราญ งานสำเร็จสวีเดน –“วันศุกร์แสนสบาย” ให้พนักงานแต่งตัวสบายๆ สนุกผ่อนคลาย ได้ “ฉลองบรรยากาศ”
เยอรมนี –“เบียร์ในมื้อเที่ยง” เขาถือว่าเป็นบรรทัดฐานทางวัฒนธรรม แสดงว่า มึนแล้วแม่น (ฮา)
เนเธอร์แลนด์ –“ยืดหยุ่นเวลาทำงาน” พักเที่ยงนานๆ ทำงานนอกเวลา ขอเพียงว่างานจึ้ง ใจถึงสุดขอบฟ้าให้จ๊ะจ๋ากับครอบครัวได้ จะทำกิจกรรมหย่อนใจก็อนุมัติ จะให้ดีชี้ให้ชัดที่นี่บริษัทไม่ใช่รีสอร์ท (ฮา)
ฟินแลนด์ –“การประชุมเงียบๆ” โพโรคุเซมา คือ ระยะทาง 7.5 กม. ที่ คนฟินแลนด์ เขาวัดได้ว่า กวางเรนเดียร์เดินโชว์ไม่อึกทึกโดยไม่ต้องหยุดปัสสาวะ วัฒนธรรมประชุมเงียบที่วัดได้ว่าไวและได้สาระ (ฮา)
สหราชอาณาจักร –“การแกล้งคนในออฟฟิศ” เป็นประเพณีแกล้งคนในสำนักงานกันเบาะๆ ไม่เป็นอันตราย วันที่ 1 เมษายน คือ วันขี้แกล้ง ที่เขารอ กิจกรรมนี้หวือหวา เป็นที่มาของโจรดูดเงินหรือเปล่า (ฮา)
อินเดีย – “วันแต่งกายตามธีม” ผมว่า บริษัทจัดแคทวอล์คให้ด้วยน่าจะดี จิตฝักใฝ่ใจเลือกชุด เลือกกิจกรรมถูกจุดสนุกกันทั้งสัปดาห์ วันอังคารตามธรรมเนียม วันพุธแบบตะวันตก ตลกและสนุกไม่ทุกข์ในภาระ
สเปน – “นอนกลางวันแบบยืดหยุ่น” ผมกะอยู่เหมือนกันว่าจะจัดบรรยายให้ผูฟังนอนฟัง (ฮา)
บราซิล – “ฮักเบรคส์” คือ พักงานหันมากอด มุ่งกระชับมิตรหยุดคิดคลายเครียด สงสัยต้องเลิกเจียมตัว ลงมือเดินทางแบบกวางเรนเดียร์ ไปสมัครเป็นพนักงานกับเขามั่ง มันจะคุ้มไหม คุ้มกันไม่ใช่คุ้มค่า (ฮา)
ฝรั่งเศส –“วันหยุดพักร้อนบังคับ” เขามีกฎให้พนักงานหยุดพักร้อนได้เงินเดือน น้อยสุด 5 สัปดาห์!
สหรัฐอเมริกา –“โยคะในออฟฟิศ” มีใน บ.เทคโนโลยี ทั้งนี้ ท่านโยคีไม่อยู่ ขี่รุ้งไปทำธุระอยู่นิ (ฮา)
ออสเตรเลีย – “ชาอาร์โว” : ประเพณีพักเบรกช่วงบ่าย จิบชาและทานเค้ก เพื่อจะเพิ่มพูนไมตรีต่อกัน ผมไม่รู้ว่าจะเชื่อใครได้บ้าง เขาว่า จิบชาแต่คงไม่ทานคุกกี้ เพราะว่า เขาอิ่ม คุกกี้ ในโลกโซเชี่ยลกันตรึม (ฮา)
เดนมาร์ก – “Hygge” การสร้างจริตอันดีงามให้ผู้อื่นอบอุ่นและพึงพอใจ เพื่อให้มันเป็นรูปธรรม ใครจะปรับพื้นที่ทำงานด้วย เทียน ผ้าห่ม เฟอร์นิเจอร์ ที่นั่ง คล้ายกับ ครอบครัวไปปิคนิกด้วยกัน ก็ได้ (จึ้งดิ!)
จีน –“เกมในออฟฟิศ” สลับกิจกรรมไม่ซ้ำซาก ผู้เข้าร่วมจะได้ไม่ตีจากไป ผัวเมียพึงจำเอาไปใช้ (ฮา)
รัสเซีย –“Subbotnik” คือ ประเพณีของรัสเซีย ที่พนักงานมารวมตัวเป็นจิตอาสาในวันเสาร์ โดยเลือกกิจกรรมทำความสะอาดสถานที่ทำงานของตน ถ้าผมเป็นผู้แลกลุ่มนี้ก็จะออกแบบสติกเกอร์แจกเอาไว้แปะตรงหน้าอกว่า “ฉันเป็นของเธอ” เราจะเห็นรอยยิ้มจากเขา เขาจะขำเพราะเราถวายตัวเป็นบริกรเขาแล้ว
เม็กซิโก –“ขยายเวลาพักเที่ยง” เป็นดินแดนที่เคี้ยวมื้อเที่ยงนานจัดกว่าประเทศอื่น ต่างกับ อินเดีย มันนานจัดกว่าเจ้าของบ้านจะได้เคี้ยว เพราะว่าเขาต้องรอให้อาคันตุกะกินอิ่มก่อนถึงจะกินได้ (ฮา)
กรีซ –“พักเที่ยงนานขึ้น” ในเมื่อช่วงพักเที่ยง เป็น เวลามหาฤกษ์ เราควรจะใช้เวลาอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมงานทั้งเก่าและใหม่ เพื่อสร้างเครือข่ายและทำอะไรที่เราต้องทำ แต่เราไม่สะดวกทั้งในช่วงเช้าและในช่วงเย็น
ไอร์แลนด์ –“Tea Rounds” คิดว่า ชาชักไทย น่าจะไปเปิดร้าน ชาชักไม่ชักช้า ที่ไอริช เอาเข้าจริงเขาผลัดกันชงแจกรอบวง ซื้อใจคนในชุมชน อิ่มแล้วแซวว่า ใครชงชา ใครชงช้า และ ใครชงโม้ (ฮา)
สิงคโปร์ –“การตกแต่งสำนักงาน” เรารู้อยู่เต็มอกว่า คนจีนเขาผูกพันกันเป็นปึกแผ่นจึงไม่จำต้องเล่า ผมขอขายไอเดียผมว่า การจัดแต่งโต๊ะให้มีเสน่ห์ควรทำกันอย่างนี้ คือ ผ้าปูโต๊ะจะต้องพิเศษกว่าผ้าปูโต๊ะทั่วไป
อย่างเช่น ผ้าปูโต๊ะคล้ายๆ กับใช้ผ้าหลายชิ้นมาร้อยเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นผ้าผืนใหญ่ ไม่หนาไม่บาง โดยมีผ้าสีโทนปูรอไว้ก่อนที่จะเอาผ้าพิสดารนี้ปูทับ ครั้นถึงช่วงที่จะสวัสดีลา ผู้จัดเลี้ยงขอให้อาคันตุกะหยิบสลาก
จากนั้นผู้จัดเลี้ยงจะพลิกผ้าปูโต๊ะให้ทุกคนเช็คดูว่า เลขสลากของเขาตรงกับเลขในผ้าชิ้นใด เราจะแกะให้แต่ละชิ้นให้ไปทีละคน ผ้าแต่ละผืนมี อักขระมงคล และ หมายเลขของชำร่วย ปรากฏอยู่ ลิขสิทธิ์นี้ปักธงดองจองไว้หากิน (ฮา)
คติพจน์จรดว่า “ขี้วิ่งไปหาส้วม” ไม่ใช่ “ส้วมวิ่งไปหาขี้” หมายถึง “มนุษย์วิ่งเข้าหาวัฒนธรรม” ไม่ใช่ “วัฒนธรรมวิ่งเข้าหามนุษย์” หรือ “ไร้เสรีภาพก็สิ้นวัฒนธรรม ไม่ใช่ “ไร้วัฒนธรรมก็สิ้นสันติภาพ” ครั้นเมื่อผลัดสมัย ทุกฝ่ายจะต้องวิ่งเข้าหากัน ใครเมิน “ชุดความคิดผสมผสาน” จักมีแววโดดเดี่ยว!