การเฉลิมฉลองของความหลากหลายทางเพศในปัจจุบัน ที่แสดงถึงความภูมิใจ มีสีสัน และสนุกสนานในปัจจุบันนั้น จุดเริ่มต้นของของความหลากหลายทางเพศไม่ได้สวยงามแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในทศวรรษ 1950s และ 1960s กลุ่มคนรักเพศเดียวกันถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
รวมทั้งการแต่งกายที่ไม่ตรงกับเพศกำเนิดเป็นเรื่องที่สังคมไม่ยอมรับ แต่ก็มีกลุ่มคนจำนวนต้องการแสดงออกถึงเพศที่ตนเอง จึงนิยมไปรวมตัวกันในที่ Stonewall Inn บาร์ลับยามค่ำคืนย่านกรีนวิชวิลเลจ ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา จนในวันที่ 28 มิถุนายน 1969 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกเข้าตรวจค้นบาร์
แต่อาศัยกฎหมายเกี่ยวกับการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และตรวจสอบสิ่งผิดกฎหมาย จับกุมคนในข้อหาแต่งกายไม่เหมาะสมตามเพศซึ่งเกิดการประทวงเจ้าหน้าที่การปฎิบัติโดยไม่ชอบ จนนำไปสู่ความรุนแรงเป็นเหตุการณ์จลาจล จากความรุนแรงระหว่างสองฝ่ายจนขยายวงกว้างออกมาบนถนนบริเวณหน้าบาร์ เกิดเป็น “เหตุจลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots)”
เหตุการณ์ครั้งนี้นำมาสู่การเดินขบวนเรียกร้องสิทธิสำหรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ Pride March) ในปี 2000 ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้ประกาศให้เดือนมิถุนายนเป็น “เดือนแห่งความภูมิใจของชาวเกย์และเลสเบี้ยน” เพื่อแสดงออกถึงการรับรู้การเป็นอยู่และการให้ความสำคัญของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ
ต่อมาในอีก 9 ปี ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้ประกาศให้เดือนมิถุนายนเป็น “Pride Month” ให้เป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวหลากหลายทางเพศ
ในประเทศไทย วันนี้ 26 มี.ค. 2567 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แพ่งและพาณิชย์ หรือ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้ผ่านการเห็นชอบ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ที่อนุญาตให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่งงานกันอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งแสดงออกถึงสภาพสังคมของประเทศที่มีการยอมรับความหลากหลายทางเพศโดยแสดงออกมาจากการแสดงออกของรัฐบาล
จากข้อมูลพบว่ากลุ่ม LGBTQIA+ ในประเทศไทยที่มีจำนวนกว่า 6.2 ล้านคน และมี Insight เฉพาะกลุ่มที่น่าสนใจ และละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก
• เป็นนักจับจ่ายที่มีกำลังซื้อสูง โดย 70% ของจำนวนกว่า 6 ล้านคน เป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง
• เป็นกลุ่มคนที่ละเอียดอ่อน ใส่ใจในรายละเอียด รักการเรียนรู้ วิเคราะห์และหาข้อมูล จึงเหมาะกับแบรนด์ที่ขายสินค้าที่ให้รายละเอียดข้อมูลสินค้าเยอะ ละเอียด และใส่ใจผู้บริโภค โดยจะมองหาแบรนด์ที่สามารถพูดภาษาเดียวกันที่สื่อสารออกมาในความรู้สึกที่ไม่จริงจังหรือเครียดเกินไป
• การนำเสนอของแบรนด์ที่จะจับใจคนกลุ่มนี้ได้ คือการสร้างสรรค์ที่จะสื่อสารให้มีความโดดเด่น แปลกตา มีรสนิยม มีความแปลกใหม่แต่จะต้องตอบโจทย์ในการใช้งานได้ด้วย เรียกได้ว่า “กระเป๋าสตางค์สั่นได้ตลอดเวลาเมื่อเห็นของที่โดนใจ”
• เป็นกลุ่มให้ความสนใจในเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักโลก ให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืน ซึ่งแบรนด์ที่แสดงออกถึงความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมจะได้ใจคนกลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ
• การท่องเที่ยวในที่ใหม่ๆ ที่สามารถมอบแรงบับดาลใจและประสบการณ์ใหม่ให้ได้เป็นสิ่งที่คนกลุ่มนี้ชื่นชอบและให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากกลุ่ม LGBTQIA+ เป็นกลุ่มคนที่ชอบในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รักความสนุกสนาน อิสระ ทำให้ ซึ่งครอบคลุมไปถึงสินค้าและบริการที่หลากหลาย ที่จะตอบโจทย์การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ด้วยเช่นกัน
ประเทศไทยถือเป็นอีก 1 หมุดหมายของประเทศในโซนเอเชีย ของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่สามารถแสดงออกได้อย่างอิสระในด้านเพศ การแต่งการ ความชอบ ได้อย่างอิสระ ทำให้เดือนแห่ง Pride Month ปีนี้ เป็นปีที่น่าใจสนในด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 44 ฉบับที่ 3,996 วันที่ 30 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567