สภาดิจิทัลฯจับมือพันธมิตร รับมือกระแสดิสรัปชัน

24 ต.ค. 2562 | 04:40 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ต.ค. 2562 | 11:40 น.

 

ถูกโหวตจากสมาชิกให้นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมแห่งประเทศไทย หรือ DCT เป็นคนแรก ปรากฎว่าหลังได้รับการโหวต นายศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะประธานสภาฯ เดินหน้าขับเคลื่อนในทันที

จับมือสภาอุตฯ

แม้ศุภชัย เจียรวนนท์ในฐานะประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) ยังวุ่นๆ กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม.

แต่ในฐานะ ประธานสภาดิจิทัลฯศุภชัยต้องขับเคลื่อนองคาพยพให้มีบทบาทโดยล่าสุดจับมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ...

เหตุผลที่สภาดิจิทัลฯ ร่วมกับ ... เป็นสภาอุตฯขนาดใหญ่มีสมาชิก 11,000 รายที่ครอบคลุมเกือบทุกอุตสาหกรรมรวมทั้ง เอสเอ็มอี อีกด้วย

อย่างไรก็ตามการร่วมมือครั้งนี้ทั้ง 2 สภาฯ มีเป้าหมายเดียวกันเพื่อยกระดับธุรกิจและอุตสาหกรรมรองรับการแข่งขันและรับมือกับดิสรัปชันอีกด้วย

ยกระดับเอสเอ็มอี

ว่ากันว่าการร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อยกระดับเอสเอ็มอี ของไทยที่มีอยู่นับหมื่นแห่งทั่วประเทศให้รอดจากการถูกเทคโนโลยีดิสรัปชัน

โดยทั้ง 2 ฝ่ายตกลงตั้งคณะทำงาน Transformation พร้อมวาง 3 แนวทางในการขับเคลื่อน แนวทางแรก คือ ผลักดันหลักสูตรพัฒนาด้านดิจิทัลเทคโนโลยี, 2. พัฒนาแพลตฟอร์ม Market Place และสุดท้าย คือ ขับเคลื่อน Data Center

 

 

เทคโนฯจุดอ่อนเอสเอ็มอี

ทางด้านประธานส... นายสุพันธ์ มงคลสุธี ยอมรับว่า นวัตกรรม และเทคโนโลยีถือว่าเป็นจุดอ่อนของเอสเอ็มอีไทย ดังนั้นการร่วมมือเพื่อให้อุตสาหกรรมรอดพ้นจากธุรกิจที่ถูกดิสรัปชัน

อย่างไรก็ตามบทบาทของสภาดิจิทัลฯ สอดคล้องกับภารกิจของสภาอุตสาหกรรมฯที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้งในเรื่อง F.T.I. Academy เน้นยกระดับบุคลากรไอที (Up-skill, Reskill) การนำหุ่นยนต์มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการเพิ่มขีดความสามารถในอุตสาหกรรมอาหาร

นอกจากนี้จะเห็นความร่วมมือในการทำ Data Center และ Digital Platform ร่วมกับสภาดิจิทัลฯ รวมถึงร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์ม Market Place ให้มีศักยภาพอีกด้วย

 

สภาดิจิทัลฯจับมือพันธมิตร  รับมือกระแสดิสรัปชัน

 

หนุนร่วมสภาเสาหลัก

ขณะที่นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิชาการด้านโทรคมนาคม และผู้บริหารโครงการฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและผู้ประกอบการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจ”
ว่า หลังสภาดิจิทัลฯ จัดตั้งได้ขับเคลื่อนและทำงานเรื่องนี้ทันทีโดยมีการกำหนดเป้าหมายเรื่องการพัฒนาทั้งคน โครงสร้าง และธุรกิจ โดยจะช่วยนำเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการค้าขายมาเสริมการสนับสนุนของภาครัฐ การจับมือกันของ 2 สภาทั้งสภาอุตสาหกรรมฯ และ สภาดิจิทัลฯ ยิ่งทำให้เห็นชัดว่า วาระเรื่องการอัพเกรดและยกระดับความพร้อมด้านดิจิทัลทั้งระบบต้องเร่งทำแบบร่วมมือกัน และต้องไม่ทิ้งผู้ประกอบการรายใดให้ต้องล้าหลังหรือโดนกระแสดิสรัปชันก่อนแล้วจึงปรับตัวซึ่งนั่นจะไม่ทันการณ์

 

วาระเร่งด่วนยกระดับแข่งขัน

โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการยกระดับความเชื่อมั่นและความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังเป็นวาระเร่งด่วนและต้องร่วมมือกันทำให้นักลงทุนและเพื่อให้ไทยยังคงมีสถานะเป็นที่เชื่อถือทั้งในวงการค้า อุตสาหกรรม และโครงสร้างดิจิทัลรองรับอนาคต ตรงนี้แม้ภาครัฐจะทำงานแล้วส่วนสภาต่างๆ ช่วยได้มากเพราะส่วนใหญ่เป็นภาคเอกชนในอุตสาหกรรมที่ร่วมขับเคลื่อน ยิ่งในโลกการค้าขายและความเปลี่ยนแปลงตามกระแสดิสรัปชันแม้ในทางธุรกิจก็ต้องประสานการทำงานกันทุกระดับ ทั้งผู้ผลิตผู้ค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ จนถึงระดับรายย่อยหรือ SMEs

ผนึกดันอันดับไทยขยับ

นายสืบศักดิ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า จุดที่น่าสนใจและยังถือว่าเป็น paint point ของมุมมองด้านความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ต้องเร่งร่วมมือกันปรับและรับมือคือ อันดับของประเทศในเรื่องความสามารถในการแข่งขันที่จัดอันดับโดยองค์กรหรือสถาบันต่างๆ อาทิ IMD UN  หรือล่าสุดที่เพิ่งประกาศอย่าง WEF (World Economic Forum) สภาเศรษฐกิจโลก ที่ยังพบว่า อันดับด้านความสามารถในการแข่งขันของไทยยังไม่ได้ขยับหรือปรับไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างที่คาดหวัง

 

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,516 วันที่ 24-26 ตุลาคม 2562

สภาดิจิทัลฯจับมือพันธมิตร  รับมือกระแสดิสรัปชัน