กรมทางหลวงกำหนดแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ( ปี2560-2579) จำนวนทั้งสิ้น 21 สายทาง ระยะทางรวม 6,612 กิโลเมตรให้เชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างกัน คาดว่าจะใช้รูปแบบเอกชนร่วมลงทุนหรือ PPP
ขณะเส้นทางที่เปิดใช้ไปแล้วมีระยะทาง 226.5 กิโลเมตร ประกอบด้วยทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) ระยะทาง 21 กิโลเมตร ถนนกาญจนาภิเษก ช่วงบางขุนเทียน-พระประแดง ระยะทาง 14.5 กิโลเมตร M9 ถนนกาญจนภิเษกช่วงบางปะอิน-บางพลี ระยะทาง 65 กิโลเมตร และM 7 มอเตอร์เวย์ช่วงกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา ระยะทาง126 กิโลเมตร กระจายความเจริญสู่พื้นที่เป้าหมายทุกทิศทั่วไทย โดยเฉพาะเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี
อังกฤษโบกมือลาสหภาพยุโรป 'บอริส จอห์นสัน' ชูเบร็กซิท "รุ่งอรุณใหม่"
ผลกระทบ Brexit หลังจากวันที่ 31 มกราคม 2020
ฝ่ายค้านตั้งข้อหาฉกรรจ์-นายกฯ5รมต.
การขยายเส้นทางยังคงดำเนินต่อเนื่อง อย่างโครงการเร่งด่วนในอีอีซี มอเตอร์เวย์สายพัทยา - มาบตาพุด ที่ความคืบหน้าก่อสร้างแล้วเสร็จเกือบ 100% คาดว่ากลางปีนี้จะเปิดใช้เส้นทางเรียกว่าวิ่งยาวจากกรุงเทพมหานครไปยังมาบตาพุด ศูนย์กลางการลงทุน เขตนิคมอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับเส้นทางสาย บางขุนเทียน - บ้านแพ้ว ระยะทาง 25 กิโลเมตร ประตูสู่ภาคใต้อยู่ในช่วงดำเนินการ การก่อสร้างบางช่วงบางตอนต้องรอโครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนพระราม 2 (ทล.35)แล้วเสร็จ
อีกโครงการที่มีความสำคัญ กระจายความเจริญลงสู่ภูมิภาค โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดใช้เส้นทางได้ภายในปี 2566 ส่งเสริมศักยภาพการเดินทางขนส่งสินค้าจากกรุงเทพ มหานคร ไปยังโซนตะวันตกของประเทศ อีกทั้งยังทะลุไปยังทวายประเทศเมียนมา
เช่นเดียวกับมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร กรมทางหลวงเร่งวันเร่งคืน ให้เปิดเส้นทางบางส่วนทันกับเทศกาลสงกรานต์ ตามนโยบายกระทรวงคมนาคม ขณะแผนเปิดใช้เส้นทางเต็มโครงการ ประมาณปลายปี 2564 ถึงต้นปี 2565 อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตาว่า แต่ละเส้นทางจะก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผนหรือไม่ และมอเตอร์เวย์สายใหม่เส้นไหนจะเป็นคิวต่อไป
หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,544 วันที่ 30 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563