ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต หรือ ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่เพิ่งจะผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปหมาดๆเมื่อวันที่ 8 ก.ค.2563 ที่ผ่านมาเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าที่สำคัญเพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี แต่ก็มีความเห็นจากหลายฝ่ายที่ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ กฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส ยังมีสาระสำคัญที่ เหมือน และ แตกต่าง กันอยู่อีกหลายเรื่อง
สำหรับเรื่องนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย ระบุถึงเรื่องนี้ว่า จากกรณีที่โลกโซเชียลทักท้วงว่า ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คู่ชีวิต พ.ศ. ... ยังถือว่าไม่เท่าเทียมเพียงพอนั้นก็ลองแสดงความคิดเห็นกันมา ไม่เป็นอะไรซึ่งเรื่องนี้กระทรวงยุติธรรมร่างกฎหมายขึ้นมาหลายปี และรับฟังความคิดเห็นมาหลายครั้งแล้ว สามารถเสนอแนะมาได้โดยส่งไปที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพซึ่งเป็นเจ้าของเรื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จากนั้นนำเข้าไปปรับแก้ไขในสภาฯเพราะเรายังไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ และมาตรฐานก็มีอยู่หลายประเทศ หนักเบามากน้อยอาจจะแตกต่างกัน
“ผมไม่ทราบว่ามีประเด็นอะไรที่ไม่เท่าเทียมกันแต่เมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา ตนเองนั้นได้ทักท้วงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ให้กระทรวงการคลังไปดูเรื่อง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บำเหน็จบำนาญว่า หากเป็นคู่ชีวิตของเดิมจะตกแก่คู่สมรส หรือ ถ้ายังเขียนอย่างนั้นอยู่แล้วเราไม่แก้ คู่ชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่จะยังไม่ได้บำนาญ ซึ่งทางกระทรวงการคลังรับว่า จะไปแก้ไขในส่วนนี้ และอาจจะต้องมีการแก้กฎหมายอีกฉบับหนึ่ง”
พาไปเปิดดูรายละเอียดของเรื่องนี้เมื่อเปรียบเทียบกัน พบว่า "ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต" กับ "กฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส" นั้น มีหลักการ 6 ประการที่ “เหมือนกัน” ดังนี้
ส่วนหลักการที่ยัง “แตกต่าง” กัน มี 4 ประการ คือ
ข้อมูล iLaw