เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.63 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบผลการประชุมคณะกรมการโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมาครม. มอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ระบายยางในสต๊อก ที่เกิดขึ้นในโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางและโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง (บัฟเฟอร์ ฟันด์)ประมาณ 1.2 แสนตัน
นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท.ระดับประเทศ (คยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในที่ประชุมมีมติห้ามขายยางในสต็อก 1.2 แสนตัน เพราะว่าราคายางมีแนวโน้มดีขึ้น ถ้ารัฐบาลโดย กยท.หากนำยางมาขายในช่วงนี้ราคายางพาราจะลงต่ำทันที เป็นภาพหลอกหลอนมาโดยตลอด พร้อมกับข้อเสนอแนะ เพื่อไม่ให้รัฐบาลมีภาระค่าเช่าโกดัง ก็ให้สถาบันเกษตรกรนำไปใช้ในโครงการใช้ยางในประเทศ ทั้งเบอร์ริเออร์ หรือแผงกั้นถนน จำนวนยางที่ใช้ 3 ปี ปริมาณกว่า 7 แสนตันถึง 1 ล้านตัน ในโครงการ แต่ยางในสต็อกรัฐแค่ 1.2 แสนตัน (ชนิดยางแผ่นรมควัน) เมื่อสถาบันขายได้ ก็ค่อยนำเงินมาคืนให้ กยท. ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการดูแลยางพารา
“ค่าเช่า 120 ล้านบาท/ปี ก็ไม่มีปัญหา เพราะเอาไปฝากในสถาบันเกษตรกรกระจายทั่วประเทศ วันนี้ประกาศความพร้อมที่จะรับยางในสต็อกมาดูแลเอง ซึ่งก็สอดรับกับโยบายของ ก.คมนาคม ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้การเซ็นเอ็มโอยูกับกระทรวงเกษรฯ ไปแล้ว จะเป็นการละลายยางพาราในประเทศ ห้ามขายออกนอกประเทศเพราะจะทำให้กระชากกราคาลงต่ำทันที ซึ่งในขณะนี้มองว่าราคายางมีสัญญาณบวกที่ดี จึงมีมติเอกฉันท์และเด็ดขาดไม่ให้ขายยางในสต็อก 1.2 แสนตัน”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กยท.เล็งระบายยาง 1.2แสนตัน ประเมินขาดทุนยับ 20-60 บาทต่อกก.