จากกรณีมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ได้อนุมัติโครงการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ซึ่งยังไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาฯ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ให้กับผู้ประกันสังคมตามมาตรา33 ที่อยู่ในระบบประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน (ส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือนภายใน 15 เดือน) หรือเพิ่งตกงานในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยให้ผู้ประกันตนเดือนละ 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน (มีนาคม – พฤษภาคม 2563) รวม 15,000 บาทโดยจ่ายครั้งเดียว หลังจากได้รับเงินจากกระทรวงการคลัง ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จำนวนลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยามีจำนวนทั้งสิ้น 59,776 คน ในวงเงินการจ่ายทั้งสิ้น 896,640,000 บาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ประกันสังคมมาตรา33" 3 ช่องทาง เช็กสถานะ "เงินเยียวยา"
"ประกันสังคมมาตรา33" รับเงินเยียวยา 15,000 บาท เช็กล่าสุด!
เช็กเลย ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 15,000 บาท
มีความคืบหน้าล่าสุดในเรื่องนี้ว่า สำนักงานประกันสังคมโอนเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันสังคมตามมาตรา33 ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 โดยการโอนเงิน จะเป็นการโอนเงินครั้งเดียวจำนวน 15,000 บาท นอกจากนี้ทางประกันสังคม ยังได้แจ้งเพิ่มเติมอีกว่า จะมีการโอนเงินเยียวยาจำนวน 15,000 บาท อีกจำนวน 2 งวด คืองวดวันที่ 30 กันยายน 2563 และ งวดวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ทางสำนักงานประกันสังคม จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่เข้าข่ายได้รับเงินชดเชย 15,000 บาท สามารถยื่นเรื่องเข้ามาเพิ่มเติมได้ เนื่องจากมีผู้ประกันตนส่วนหนึ่งที่รู้ตัวว่าได้ส่งเงินสมทบ ไม่เกิน 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ย้อนหลังทำให้ไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับเงินชดชน จากเหตุการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19
ก่อนหน้านี้ นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึง มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ที่อนุมัติโครงการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของโรคไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ว่าสำนักงานประกันสังคมพร้อมดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาในวงเงิน 15,000 บาท ให้กับลูกจ้าง ประกันสังคมตามมาตรา33 ที่ส่งเงินสมทบ เข้ากองทุนประกันสังคมไม่ครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน โดยสำนักงานประกันสังคมพร้อมโอนเข้าบัญชีผู้ประกันตนเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน (มีนาคม – พฤษภาคม 2563) รวม 15,000 บาท จ่ายเพียงครั้งเดียวหลังจากได้รับเงินจากกระทรวงการคลัง ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จำนวนลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยามีจำนวนทั้งสิ้น 59,776 คน ในวงเงินการจ่ายทั้งสิ้น 896,640,000 บาท
สำหรับการที่ผู้ประกันตนได้รับการเยียวยา ตามมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ นอกจากเป็นการช่วยเหลือเยียวยา และชดเชยการขาดรายได้เพื่อนำไปใช้จ่าย ในการดำรงชีวิตแล้ว ยังกลับไปเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการจับจ่ายใช้สอยมีการจ้างงาน อย่างต่อเนื่อง และนายจ้างสามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ ทำให้มีรายได้และจ่ายกลับไปเป็นภาษีให้กับรัฐต่อไป