นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เพื่อเป็นการรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยี ดิสรัปต์ธุรกิจโรงพยาบาล ทางกลุ่มใช้เวลาตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาในการทรานฟอร์เมชั่นองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่าน โดยเพฉาะในเรื่องของบุคลากร ผ่านงบประมาณ 30% โดยหัวใจหลักของการทรานฟอร์มองค์กรจำเป็นจะต้องรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง รู้ข้างในว่าสภาพการณ์เปลี่ยนไปอย่างไร มองนอก มองในและประสานเป็นหนึ่งเดียวโดยสภาพการณ์ข้างนอกที่ต้องรู้เพื่อรองรับการทรานฟอร์มคือ อุตสาหกรรมเปลี่ยน ,ลูกค้าเปลี่ยน, เทคโนโลยีเปลี่ยน, ผู้บริโภคเปลี่ยน,ฯลฯ
“การทรานฟอร์ม ต้องทำตอนที่องค์กรแข็งแกร่ง ด้วยการปรับภายในองค์กรให้แข็งแรงก่อน ทั้งการเงิน ระบบความคิด บุคลากร จากนั้นองค์กรก็จะแข็งแกร่งพร้อมที่จะทรานฟอร์ม ขณะที่ในส่วนของการเงินจะต้องไดนามิกตลอดเวลา หมุนเปลี่ยนตามสภาพการณ์ในโลก และจะต้องมีการนำ DATA, AI และแมชชีนเลิร์นนิ่งเข้ามาเป็นข้อมูลในการคิดและตัดสินใจ และการปรับเปลี่ยนระบบคนให้มีความคิดที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาให้สอดคล้องกับสถานการณ์การณ์”
ทั้งนี้ทางกลุ่มได้วางงบการลงทุน 100 ล้านบาท สำหรับทรานฟอร์มองค์กร เพื่อรับมือการดิสรัปต์ของเทคโนโลยีและปัจจัยลบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการระบาดของโควิด-19 หรือแม้กระทั่งการแข่งขันในธุรกิจโรงพยาบาล ในช่วง 2 ปีนับจากนี้ (ปี 2563-2564) จากปกติที่ใช้ปีละ 100 ล้านบาท โดยจะมีการทรานฟอร์มองค์กรในเรื่องของการคิดค้นนวัตกรรม และพัฒนาบุคลากร พร้อมกันนี้ยังได้ชูกลยุทธ์ “4 ป้อง 1 ฉวย” ได้แก่ ป้องคน เรียนรู้ความปลอดภัยของชีวิต สำคัญสุด โอกาสสร้างดิจิตอลเทคโนโลยีฝ่าโควิด, ป้อง (ครอบ) ครัว, ป้องเงิน, ป้องงาน และคอยฉวยคือ ต้องมีทั้งการรุกและรับ เพื่อรับมือกับปัญหาการระบาดของโควิด -19
“ปกติเราใช้งบประมาณในการทรานฟอร์มองค์กรอยู่ที่ราวปีละ 100 ล้านบาท แต่ทว่าจากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทำให้ทางกลุ่มต้องลดงบประมาณการลงทุนลงในแง่ของภายในองค์กรโดยจะมีการให้พนักงาน บุคลลากรในบีเอ็นเอชมี 5,000 คน เวลาจะทรานฟอร์มต้องโยนหินถามทาง คัดบุคคลากรในองค์กรด้วยการให้คิดค้นอินโนเวชั่นหาใน 5,000 คน 20% พร้อมเปลี่ยน 80% ไม่พร้อม ผลทีได้ คนเปลี่ยนทำสิ่งที่เปลี่ยน, คนไม่เปลี่ยน ทำสิ่งไม่เปลี่ยน แต่ต้องสร้างคุณค่า”
พร้อมกันนี้ทางโรงพยาบาลสมิติเวชยังนำการรักษาแบบเทเลเมดิซีน เข้ามาใช้ตอบโจทย์การรักษาในยุคใหม่ ซึ่งถือเป็นการนำมาใช้ทางการแพทย์เป็นเจ้าแรก ในการรองรับพฤติกรรมของผู้ป่วยและตอบโจทย์ความสะดวกสบายของเทคโนโลยี พร้อมกันนี้ยังมีการนำ robot และ Samitivej Engage Care, Samitivej Prompt เข้ามาใช้รองรับการรักษา
ทั้งนี้จากจากสภาพเศรษฐกิจและปัจจัยลบในเรื่องการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบมายังผู้บริโภคให้มีกำลังซื้อน้อยลง ฉะนั้นการดำเนินแผนการตลาดจำเป็นต้องมีการลดขนาด ลดไซซ์ ทำสินค้าให้มีชิ้นเล็กหรือราคาลงถูกลงมา โดยในส่วนของโรงพยาบาลสมิติเวชเองได้มีการปรับแพ็กเกจการตรวจสุขภาพ หรือโปรแกรมค้นหาโรคที่มีราคาถูกลง แพ็กเกจเล็กลง หรือโปรแกรมมินิเช็คอัพ ราคา 2 หมื่นบาท จากเดิมที่แพ็กเกจเต็มอาจจะราคา 5 หมื่นบาท เพื่อให้ลูกค้าในประเทศสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตามทางกลุ่มยังได้มีการลดเป้าหมายการเติบโต (กำไร) ลงมาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งอย่างไรก็ตามเป้าหมายของทางเครือต้องสร้างคุณค่าให้โรงพยาบาล เมื่อเกิดเหตุให้นึกถึงสมิติเวช นั่นคือการสร้างคุณค่า มีการทำเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งแอพพลิเคชั่น เวอร์ชวย ต่างๆมาใช้ หรือการเป็น Organization of value เพื่อเป็น man of value มากกว่าการเป็นเพียง Organization of Success และ man of Success โดยชูจุดแข็งในการจากการก้าวเข้ามทำดิจิไลท์ ผ่านอินโนเวชั่นทีม, และทรานฟอร์มเมชั่นทีม ในการทำบิสิเนสโมเดลใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยน แปลงองค์กรให้ทันกับยุคสมัย
หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,604 วันที่ 27 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563