หลังจากภาครัฐได้ออกมาตรการเยียวยาโควิดรอบ 2 ทั้งสนับสนุนวงเงินในการใช้จ่ายผ่านโครงการ "เราชนะ" ที่จะเปิดให้ลงทะเบียนในวันที่ 29 มกราคมนี้ ผ่าน www.เราชนะ.com หรือการจับมือกับสถาบันการเงินต่างๆให้มีมาตรการบรรเทาและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นพักชำระหนี้ หรือการขยายเวลาการชำระหนี้ออกไป อีกส่วนหนึ่งก็มีการเสริมสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ ผ่านการให้สินเชื่อในรูปแบบต่างๆ
วันนี้ "ฐานเศรษฐกิจ"จึงขอรวบรวมมาตรการเยียวยาโควิดรอบ2จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส. ที่ได้ประกาศมาตรการออกมาช่วยเหลือเกษตรกรในการฝ่าวิกฤตโควิดรอบนี้ ซึ่งมาตรการของ ธ.ก.ส.ที่ออกมานั้น จะมีอะไรบ้าง สามารถเช็กได้ดังต่อไปนี้
มาตรการบรรเทา
การพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
1. พักหนี้ทั้งระบบทั่วประเทศ 1 ปี สัญญาเงินกู้ก่อน 1 เมษายน 2563 /พักงวด เม.ย.63- มี.ค.64
2. สำหรับ 28 จังหวัดในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด จะต้องแจ้งขอเข้ามาตรการพักหนี้กับทางธนาคาร ซึ่งมีมาตรการพักหนี้ ได้แก่
มาตรการลดภาระหนี้
-โครงการชำระดีมีคืน
-โครงการลดภาระหนี้
-มาตรการขยายเวลาและลดภาระชำระหนี้
นอกจากมาตรการบรรเทาแล้ว ธ.ก.ส.ยังเตรียมวงเงินสนับสนุนเพื่อจะช่วยฟื้นฟูและปรับโครงสร้างธุรกิจผ่านการให้สินเชื่อในรูปแบบต่างๆ โดยมีดังต่อไปนี้
-สินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19
-สินเชื่อฉุกเฉินเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยต่ำ
(ทั้งนี้คณะกรรมการธนาคารจะให้การอนุมัติสินเชื่อฉุกเฉินและสินเชื่อฉุกเฉินเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยต่ำก่อนการเปิดให้บริการภายในเดือนมกราคม 2564)
-สินเชื่อระยะสั้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Jump Start Credit)
-สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ (Sufficient Loan)
-สินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด
-สินเชื่อแก้ไขหนี้นอกระบบ
-สินเชื่อ SMEs (Soft Loan ของธนาคารแห่งประเทศไทย ระยะที่ 2)
ส่วนช่องทางที่จะใช้บริการกับ ธ.ก.ส. สามารถติดต่อได้ดังต่อไปนี้
-โครงการพักชำระหนี้(ในพื้นที่ 28 จังหวัดที่อยู่ในเขตควบคุมสูงสุดและที่รัฐบาลประกาศเพิ่มเติม) ติดต่อได้ที่
-สินเชื่อฉุกเฉินสามารถส่งคำขอได้ทาง
-สินเชื่อฉุกเฉินเสริมสภาพคล่องดอกเบี้ยต่ำ สินเชื่อระยะสั้นฤดูการผลิตใหม่ สินเชื่อแก้ไขหนี้นอกระบบและสินเชื่อ SMEs (Soft Loan ธปท. ระยะที่ 2)
-สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพและสินเชื่อ New Gen Hug บ้านเกิด
โดยสามารถติดต่อตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ซึ่งหลังจากรับเรื่องแล้ว ธ.ก.ส. จะนัดหมายเพื่อทำสัญญา ณ ธ.ก.ส. สาขาในพื้นที่ภูมิลำเนาของลูกค้า และขอย้ำเตือน ธ.ก.ส. ไม่มีนโยบายการอนุมัติสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากเป็นเพียงการแสดงความประสงค์ขอใช้บริการดังกล่าว ดังนั้น ขอให้โปรดระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่นอกเหนือจากช่องทางที่ ธ.ก.ส. กำหนด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดมาตรการ ธ.ก.ส.เยียวยาลูกค้าโควิดรอบ2
ธ.ก.ส.พักหนี้นาน1 ปี ช่วยเกษตรกรและเอสเอ็มอี"สินเชื่อกลุ่มใหม่" ใน 28 จ.
“เงินประกันรายได้ยางพารา” งวด3 ธ.ก.ส. เริ่มโอน 29 ม.ค.