ใกล้งวดเข้ามาทุกทีกับการเปิดโครงการ "เราชนะ" ซึ่งเป็นมาตรการเยียวยาที่ กระทรวงการคลัง เปิดให้ประชาชน จำนวน 31.1 ล้านคน หลังจากผ่านการคัดกรองแล้วได้สิทธิลงทะเบียนผ่าน www.เราชนะ.com จำนวน 7,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน
สำหรับคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ"เราชนะ"
- เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33แห่งกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม (ยกเว้นเป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่ก่อนแล้ว)
- ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานของรัฐโดยตรง
- ไม่เป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ไม่เป็นผู้รับบำนาญปกติหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ
- ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด
- ไม่มีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ตามฐานข้อมูลที่มีล่าสุด
ส่วนกลุ่มที่ได้รับสิทธิ์ "เราชนะ" มีดังนี้
1.กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ไม่รับวงเงินสิทธิผ่านบัตรฯโดยอัตโนมัติ
2.กลุ่มผู้มี "เป๋าตัง" ที่ได้ให้ความยินยอมไว้ให้นำข้อมูลไปประมวลผลหรือเปิดเผยเพื่อดำเนินมาตรการอื่น ๆ ของรัฐ
ไม่ต้องดำเนินการอะไร หากผ่านเกณฑ์การคัดกรองจะมีข้อความแจ้งเตือนผ่าน "เป๋าตัง" ให้กดยืนยันสิทธิ
3.กลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลผู้มีบัตรฯ และ ไม่เป็นผู้มี "เป๋าตัง" ที่ได้ให้ความยินยอมไว้ให้นำข้อมูลไปประมวลผลหรือเปิดเผยเพื่อดำเนินมาตรการอื่นๆ ของรัฐได้
ในส่วนของโครงการเราชนะ ผู้ผ่านการลงทะเบียน www.เราชนะ.com สามารถใช้จ่ายร้านค้าที่ร่วมโครงการ "คนละครึ่ง" ได้เลย
สำหรับร้านค้าที่ร่วมโครงการ "คนละครึ่ง" จำนวนเกือบ 10,000 ร้านค้าที่รับค่าสินค้าผ่านแอป"ถุงเงิน" ขณะนี้ ธนาคารกรุงไทย เตรียมเปิดระบบให้ ร้านค้าคนละครึ่ง อัพเดทแอปพลิเคชั่น"ถุงเงิน" เพื่อรับค่าสินค้าจากผู้ที่ได้รับสิทธิ์ลงทะเบียน www.เราชนะ.com โดยผู้ที่ได้รับสิทธิจากโครงการเราชนะ จำนวน 3,500 บาทเป็นระยะเวลา 2 เดือน สำหรับ ม.ค.- ก.พ. รวมทั้งสิ้น 7,000 บาท เพื่อทำการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“เราชนะ” ไขข้อข้องใจ ไม่ยื่นแบบภาษี มีสิทธิรับเงินเยียวยา3,500 หรือไม่
"เราชนะ" ตรวจสอบ 7 คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับเงินเยียวยา7,000 อีกรอบได้ที่นี่
วิธีลงทะเบียนเว็บไซต์ เราชนะ.com ไม่ต้องใช้สมาร์ทโฟน
"เราชนะ" เงินเยียวยา 7000 บาท ใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ดูชัดๆได้ที่นี่