กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนแรงในแวดวงอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกครั้ง เมื่อจู่ๆ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ที่เพิ่งได้ควบรวม
ธุรกิจกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ เป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ประกาศหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุนใน
คลื่นความถี่ 700 MHz เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ5G
ก่อนที่ควบรวมธุรกิจ ทั้ง CAT และ ทีโอที ยอมควักเงินก้อนโต ร่วมประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 5G จาก สำนักงานคณะกรรมกา
กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. โดย ทีโอที เลือกคลื่นความถี่ย่าน 26GHz
ส่วน CAT เลือก คลื่นความถี่ 700 MHz ประมูลได้คลื่นความถี่ จำนวน 2 ชุด ชุดที่หนึ่งช่วงคลื่นความถี่ 738 -748 MHz และ ชุดที่สอง 793-803 MHz รวมทั้ง
สิ้น 10 MHz ในราคาประมูลจำนวน 2 ใบอนุญาตรวมทั้งสิ้น 34,306,000,000 บาท
คลื่น 700 MHz ไม่ใช่แต่เพียง CAT ได้ถือครองเท่านั้น หากแต่มีชื่อของ AIS ชนะคลื่นความถี่ 700 MHz เช่นเดียวกัน โดย AIS ได้ชุดคลื่นความถี่ 1 ชุด ช่วง
คลื่นความถี่ 733-738 MHz คู่กับ 788-793 MHz เงินประมูลรวมทั้งสิ้น 17,154,000 บาท ส่วนการประมูลครั้งนั้น บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น
จำกัด ในเครือทรู ถอนตัวประมูลครั้งล่าสุด
เพราะก่อนหน้านี้ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ TUC 700 MHz ได้คว้าคลื่นความถี่ 703-713 MHz คู่กับ 758-768 MHz ไปแล้ว
- อ้างงบไม่พอดึงพันธมิตรลดต้นทุน
ก่อนหน้านี้ CAT ได้ของบประมาณเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 700 MHz ภายใต้ วงเงิน 50,000 - 55,000 ล้านบาท ประมูลค่าคลื่นไปแล้ว 34,000 ล้านบาท เมื่อ
บวกลบคูณหารงบประมาณเหลือไม่ถึง 20,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนสร้างโครงข่ายในระยะเวลาของใบอนุญาต 15 ปี
นั่นจึงเป็นที่มาที่ "CAT" หาทางออกด้วยการหาพันธมิตรแชร์โครงข่ายร่วมลงทุน คำถาม?ก่อนเข้าร่วมประมูลต้องคิดแผนธุรกิจไว้ล่วงหน้า ซึ่งผู้ให้บริการโทรศัพท์
เคลื่อนที่ไม่อยากให้ CAT เข้ามาร่วมประมูลเพราะจะทำให้โครงสร้างบิดเบี้ยว และ ผลกระทบตกที่ผู้บริโภค
สุดท้ายเมื่องบประมาณเหลือไม่เพียงพอ CAT จึงประกาศหาพันธมิตรร่วมแชร์โครงข่ายเพื่อให้คลื่น 700 MHz เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ5G
- เปิดทาง "AIS-ทรู" รุมทิ้งคลื่น5G
ว่ากันว่ารายแรกที่ยื่นข้อเสนอเข้ามา คือ กลุ่มทรู เสนอเงื่อนไข ดังนี้
- ใช้โครงข่ายของ True 12,000 สถานี โดยที่ CAT ต้องสร้างสถานีฐานจำนวน 1,250 สถานี (นอกเหนือจากงบประมาณ 20,000 ล้านบาท) ตลอดระยะเวลา 15 ปี
- ถ้าตกเลงเงื่อนไข CAT ต้องชำระ 20,000 ล้านบาทล่วงหน้าทันทีเมื่อลงนามสัญญา นอกจากนี้ ทรู เสนอโครงข่ายให้ CAT ใช้บริการแบบ 4G (2T2R) จำนวน
50% และ 5G (4T4R) อีกจำนวน 50%
รายที่สอง คือ AIS
-ให้ใช้โครงข่ายของ AIS จำนวน 13,500 สถานี โดยที่ CAT ไม่ต้องลงทุนสร้างเอง 1,250 สถานี ภายใต้งบประมาณ 20,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 15 ปี
-แบ่งชำระ 3 งวดตามจำนวนการติดตั้งสถานีฐาน โดยไม่คิดดอกเบี้ย AIS เสนอโครงข่ายให้ CAT ใช้บริการแบบ 5G(4T4R) เต็มจำนวน 100%
อย่างไรก็ตามขณะนี้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT อยู่ระหว่างการเจรจา ยังไม่ได้ข้อสรุป การใช้โครงข่ายร่วมกันเป็นการลงทุนที่ประหยัดและได้ประโยชน์สูงสุด
สุดท้ายเรื่องนี้น่าจะจบลงแบ่งเค้กกัน "คนละครึ่ง "
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"CAT" กระเป๋าฉีก ดึง "ทรู-AIS" แบ่งเค้กคลื่น5G คนละครึ่ง
กสทช.สรุป5ค่ายชิงคลื่น5G "เอไอเอส"จ่ายหนักสุด 4.2หมื่นล้าน
Update ปิดฉากประมูล 5G โกยเงินเข้ารัฐแสนล้าน
จบแล้ว ประมูล5Gคลื่น700MHzราคาพุ่ง1.7หมื่นล้าน