‘ความสุข’  แพร่ได้ เหมือน ‘ไวรัส’(จบ)

29 ม.ค. 2564 | 07:02 น.

หากมีไวรัสตัวใหม่ชื่อว่า “ความสุข” แพร่ระบาดในเมืองไทย คุณคิดว่า คนไทยจะเป็นอย่างไร

 

จำไว้ว่าคนหนึ่งคนมีอิทธิพลต่อเราเสมอ การก้าวขาเข้าไปอยู่กับใครหรือใกล้ใคร ก็ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมของเราได้โดยทันที พูดง่ายๆ คือ เราไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้เหมือนกับตอนที่เราอยู่คนเดียว สังเกตไหมว่าเวลาเราอยู่กับกลุ่มเพื่อนที่มีความสุข เราก็จะเฮฮามีความสุขกับคนกลุ่มนั้นไปด้วย แต่ถ้าเราเปลี่ยนกลุ่มมานั่งข้างคนเครียด เราก็จะเครียดกับเขาไปด้วย นี่เรียกว่าการมีอิทธิพลต่อกันในสังคม จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่า ทุกคนจะต้องแพร่สุขได้ หรือเราจะต้องบังคับให้ตัวเองมีความสุขถึงจะแพร่สุขได้ การแพร่สุขเกิดขึ้นได้ทั้งการ “ให้และการรับ” หากเราไม่พร้อมจะให้ เราก็เลือกรับเอาความสุขจากคนข้างกายหรือเพื่อนข้างตัว เพื่อเติมเต็มความรู้สึก เปลี่ยนความคิด หรือปรับอารมณ์บางอย่าง ในขณะเดียวกัน หากเราพร้อมที่จะเป็นผู้แพร่สุข ก็แบ่งปัน ส่งต่อ หรือแพร่สุข ด้วยความเมตตาให้กับบุคคลอื่น ให้พวกเขามีความสุขกับเรา

‘ความสุข’   แพร่ได้ เหมือน ‘ไวรัส’(จบ)

จากวิกฤติการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา คนไทยจำนวนไม่น้อยกำลังแพร่เชื้อความสุข ให้กับบุคคลที่ได้รับผลกระทบอย่างไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงินและสิ่งของด้วยความปรารถนาดี ต้องการช่วยเหลือและให้กำลังใจต่อกัน ยกตัวอย่างเช่น การนำสิ่งของไปใส่ไว้ในตู้ปันสุข ด้วยความปรารถนาจะช่วยคนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ หรือผู้ที่นำวิดีโอของนักแพร่สุขเหล่านี้มาโพสต์บนโซเชียล มีเดีย ก็ถือว่าได้ช่วยกันแพร่เชื้อไวรัสความสุขเช่นกัน หากทุกคนเริ่มเข้าใจกลไกการแพร่สุขแล้ว ความสุขที่เรารับและแพร่ให้กันและกันมันจะเกิดแรงกระเพื่อม (Ripple Effect) ขยายสู่สังคมวงกว้างต่อไป

 

ดังนั้นความสุขแม้จะไม่ใช่ไวรัส แต่ก็สามารถแพร่ได้เหมือนไวรัส ผู้เขียนเชื่อว่าเราทุกคนสามารถเป็นนักแพร่สุขและรับความสุขได้ในเวลาเดียวกัน โดยเริ่มจากกระจายไวรัสความสุขนี้ให้คนใกล้ตัว ยกตัวอย่าง ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส (ประเทศไทย) ได้จัดทำบอร์ดแสดงความขอบคุณเพื่อนร่วมงาน โดยเปิดโอกาสให้พนักงานเขียนกระดาษโน้ตพร้อมข้อความขอบคุณหรือให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน ซึ่งช่วยแพร่เชื้อความสุขภายในองค์กรจากพนักงานสู่พนักงานด้วยกัน สุดท้ายนี้อยากบอกผู้อ่านทุกท่านว่าอย่ามัวแต่ยึดว่าเราต้อง “ให้” ความสุขกับใคร อย่างไรบ้าง ความสุขมันไม่ใช่สิ่งของ แต่ต้องคิดว่าเราปรารถนาที่จะให้เขารู้สึก “สุข” ได้อย่างไรจะดีกว่า รับเชื้อ “สุข” มาแล้ว อย่าลืมแพร่เชื้อ “สุข” ให้คนอื่นด้วยนะ


 

 

เกี่ยวกับ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส

IPG MEDIABRANDS คือองค์กรระดับโลกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารและการวิเคราะห์ข้อมูลที่อยู่ในเครือ Interpublic Group (NYSE: IPG) เราบริหารและดูแลการลงทุนทางด้านการสื่อสารการตลาดให้กับลูกค้าที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐใน130ประเทศทั่วโลก โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารรวมตัวกันมากกว่า 10,000 คน

 

เรามีการให้บริการแบบครบวงจรในทุกมิติของการเป็น Agency ระดับโลกโดยภายในเครือข่ายของ IPG Mediabrands นั้นรวมไปถึงบริษัทสำหรับการวางแผนสื่อและการตลาดชั้นนำอย่าง UM, Initiative และ BPN และกลุ่มบริษัทที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านข้อมูลและการวิจัยอย่าง Cadreon, Healix, Identity, IPG Media Lab, MAGNA, Orion Holdings, Rapport และ ดิจิทัลเอเจนซี่อย่าง Reprise www.ipgmediabrands.com.

 

 

References

กนกวรรณ ศรีทองสุก. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานกับความสุขในการทางานโดยมีความเชื่ออานาจในการควบคุมภายในเป็นตัวแปรกากับ. ปทุมธานี: สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงศ์วรินทร์, ช. (2554). ความสุขของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรม : การศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์และการ
พัฒนามาตรวัด. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลาธรรม, ก. (2020, 06 22). หลักการขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. Retrieved from https://med.mahidol.ac.th/: https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/
Nosocomial%20infection%20%E0%B8%AD%20%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%98%E0%B8%A3.pdf

หงษ์กิตติยานนท์, ฐ. (2020, 06 21). บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.
Retrieved from elnurse.ssru: http://www.elnurse.ssru.ac.th/thitavan_ho/pluginfile.php/11/mod_forum/attachment/92/_2_.pdf 

 

หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,648 วันที่ 28 - 30 มกราคม พ.ศ. 2564

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ความสุข’  แพร่ได้ เหมือน ‘ไวรัส’ (1) https://www.thansettakij.com/content/464118

“การเลือก” วิธีสร้างสุข ของมนุษย์งาน      

วิถีใหม่ของสื่อทีวี กับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค (จบ)

วิถีใหม่ของสื่อทีวี กับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค (1)    

การพลิกวิกฤติให้เก่ง  และแกร่งกว่าที่เคย