ในที่สุดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ลอตแรกจากซิโนแวค (Sinovac )จำนวน 2 แสนโดสก็จะเดินทางมาถึงประเทศไทย โดยเฟซบุ๊กของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้โพสต์ภาพของวัคซีนซิโนแวคจากประเทศจีนจะส่งมาถึงไทยในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564
แน่นอนว่าเมื่อวัคซีนโควิด-19 ลอตแรกจากซิโนแวคมาถึงประเทศไทย จะต้องมีคำถามว่าแล้วใครละที่จะเป็นผู้ได้รับการฉีดวัคซีนในลอตแรกนี้ ซึ่งในวันนี้ก็มีกระแสข่าวว่า "นายกฯตู่"จะขอเป็นผู้ฉีดวัคซีนเข็มแรกเพื่อเป็นการแสดงความมั่นใจให้กับประชาชนในประเทศ
อย่างไรก็ตามทางนายอนุทิน เจ้ากระทรวงฯ ก็ได้ออกมาเปิดเผยว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในครั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรการความปลอดภัยและดุลยพินิจของแพทย์ เพราะวัคซีนแต่ละชนิดมีข้อบ่งใช้แตกต่างกัน
เอาเป็นว่าในเบื้องต้นยังไม่มีข้อมูลว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19เข็มแรกในไทยจะเป็นใคร แต่วันนี้ทาง"ฐานเศรษฐกิจ"จะมารวบรวมข้อมูลแผนงาน-ความคืบหน้าของวัคซีนโควิด -19 ในไทยแบบละเอียดว่าหลังจากนี้จะมีอะไรกันบ้าง
แผนงานวัคซีนโควิด-19 ในไทย
รัฐบาลมีแผนจัดหาวัคซีน 63 ล้านโดสเพื่อรองรับประชาชนทั้งประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
-แผนงานระยะแรก เริ่ม ก.พ.
วัคซีนซิโนแวคจากจีน 2 ล้านโดส จะเข้ามาประเทศไทยในวันที่ 24 ก.พ. โดยลอตแรกจะมีจำนวน 2 แสนโดส และในเดือนมี.ค.จะเข้ามาอีก 8 แสนโดส และเมษายน 1 ล้านโดส
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่จะฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แก่
กลุ่มที่ 1 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
กลุ่มที่ 2 ประชาชนที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็งที่อยู่ในระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด ภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวาน โรคอ้วน น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมหรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
กลุ่มที่ 3 ประชาชนที่มีอายุ 60 ขึ้นไป
กลุ่มที่ 4 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
กลุ่มที่ 5 ประชาชนทั่วไปและแรงงานในพื้นที่ระบาดของโควิด-19
-พื้นที่เป้าหมายการฉีดในระยะเร่งด่วน
เดือน ก.พ.-เม.ย.2564 จะกระจายใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด,พื้นที่ที่เคยเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ที่มีการพบการติดเชื้อต่อเนื่อง โดยจะให้บริการในสถานพยาบาลที่มีแพทย์และห้องฉุกเฉินทั้งรัฐและเอกชน ได้แก่
ทั้งนี้ แผนการกระจายวัคซีนโควิด-19 จำนวน 2 ล้านโดสที่จะเข้ามาในประเทศไทย (1 คนจะฉีด 2 เข็ม ) ใน 10 จังหวัด ประกอบด้วย
1.สมุทรสาคร 8.2 แสนโดส จำนวน 4.1 แสนคน
-บุคลากรทางการแพทย์ 8,000 คน
-เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 6,000 คน
-ผู้ที่มีโรคประจำตัว 36,000 คน
-ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 1.5แสนคน
-ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 2.1 แสนคน
2.กรุงเทพฯ 8 แสนโดส จำนวน 4 แสนคน
-บุคลากรทางการแพทย์ 32,000 คน
-เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 8,000 คน
-ผู้ที่มีโรคประจำตัว 1แสน คน
-ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 1แสนคน
-ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 1.6 แสนคน
3.นนทบุรี 26,000 โดส จำนวน 13,000 คน
-บุคลากรทางการแพทย์ 9,000 คน
-เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000 คน
4.ปทุมธานี 26,000 โดส จำนวน 13,000 คน
-บุคลากรทางการแพทย์ 9,000 คน
-เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000 คน
5.สมุทรปราการ 28,000 โดส จำนวน 14,000 คน
-บุคลากรทางการแพทย์ 9,000 คน
-เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 5,000 คน
6.ระยอง 18,000 โดส จำนวน 9,000 คน
-บุคลากรทางการแพทย์ 5,000 คน
-เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000 คน
7. ชลบุรี 28,000 โดส จำนวน 14,000 คน
-บุคลากรทางการแพทย์ 10,000 คน
-เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 4,000
8.จันทบุรี 16,000 โดส จำนวน 8,000 คน
-บุคลากรทางการแพทย์ 6,000 คน
-เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 2,000 คน
9.ตราด 12,000 โดส จำนวน 6,000 คน
-บุคลากรทางการแพทย์ 5,000 คน
เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 1,000 คน
10.ตาก 1.6 แสนโดส จำนวน 80,000 คน
-บุคลากรทางการแพทย์ 8,000 คน
-เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย 2,000 คน
-ผู้ที่มีโรคประจำตัว 10,000 คน
-ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 10,000 คน
-ประชาชนทั่วไปและแรงงาน 50,000 คน
รวมในระยะแรก 1,934,000 โดส จำนวน 967,000 คน ส่วนอีก 66,000 โดส สำหรับ 33,000 คนนั้นจะสำรองไว้เผื่อมีพื้นที่อื่นระบาดเกิดขึ้น โดยจะให้กับพื้นที่ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ระบาดเพื่อเป็นการสกัดวงการแพร่เชื้อ
แผนงานระยะ 2 เริ่มมิ.ย.
ส่วนระยะที่ 2 จำนวนวัคซีนที่เตรียมไว้ 61 ล้านโดส (วัคซีนของแอสตราเซเนก้า)จะดำเนินการกระจายในช่วงเดือนมิ.ย.และให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 โดยมีอัตราการฉีดในรพ.ที่แพทย์และห้องฉุกเฉินทั่วประเทศ 1,000 แห่ง วันละ 500 โดส 20 วันต่อเดือน เฉลี่ย 10 ล้านโดสต่อเดือน
อย่างไรก็ตามหากในอนาคตเมื่อวัคซีนมีความปลอดภัยมากขึ้นอาจพิจารณาขยายการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำล(รพ.สต.)บางแห่งที่มีอุปกรณ์ฟื้นคืนชีพ
-แผนงานระยะ 3 ปลายปี 64
ต่อเนื่องมาจากระยะ 2 โดยในระยะที่ 3 เมื่อมีวัคซีนอย่างกว้างขวางจะเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้เร็วที่สุดและครอบคลุมประชากรคนไทยให้มากที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"อนุทิน"ให้แพทย์ชี้ขาดฉีดวัคซีนนายกฯ ได้หรือไม่ได้
นายกฯ พร้อมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 คนแรก พร้อมประชุมศบค.บ่ายนี้
ไทยสั่งซื้อวัคซีนโควิด 19 จำนวน 63 ล้านโดส
รพ.ราชวิถี ชวนกลุ่มเสี่ยงลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดฟรี ตั้งแต่มี.ค.นี้
เปิดแผน"วัคซีนโควิด" ระยะ 1 - 2 ใครได้รับสิทธิ์ฉีดก่อนหลัง เช็กได้ที่นี่