‘พาณิชย์’รังสรรค์เครื่องประดับ อัตลักษณ์‘อีสานใต้’

06 มี.ค. 2564 | 06:00 น.

พาณิชย์ยกระดับเครื่องประดับอีสานใต้ มอบสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ต่อยอดสู่ESAN More Dern สร้างมูลค่าเพิ่มแก่เครื่องประดับ โดยชูอัตลักษณ์อีสานใต้ 

พาณิชย์ยกระดับเครื่องประดับอีสานใต้  มอบสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ต่อยอดสู่ESAN More Dern  สร้างมูลค่าเพิ่มแก่เครื่องประดับ โดยชูอัตลักษณ์อีสานใต้

เครื่องประดับสไตล์อีสานใต้ร่วมสมัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาอัตลักษณ์ ยกระดับเครื่องประดับอีสานใต้ ก้าวไกลโกอินเตอร์ ( ESAN More Dern) เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เครื่องประดับอัตลักษณ์อีสานใต้

‘พาณิชย์’รังสรรค์เครื่องประดับ  อัตลักษณ์‘อีสานใต้’

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า วิกฤติโควิด-19 เมื่อปี 2563 กระทบผู้ประกอบการอัญมณีไทยเป็นอย่างมาก ทำให้รายได้หดหายไปกว่า 80%  จึงได้เร่งให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เร่งพัฒนาเครื่องประดับชนเผ่า เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมแห่งดินแดนอีสานใต้ (อีสานเดิ้น) ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดการกระจายรายได้ให้แก่ช่างฝีมือและผู้ประกอบการทั้งในภูมิภาค และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นจำนวนมาก จึงให้ต่อยอดสู่โครงการเครื่องประดับอีสานใต้สู่สากล (อีสาน มอร์เดิ้น) ในปี 2564 ที่มุ่งเน้นความสามารถในการพัฒนาด้านเทคนิคการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างแบรนด์ เพิ่มการเข้าถึงช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ นำไปสู่การสร้าง รายได้ให้ชุมชนพึ่งตัวเองได้ในระยะยาวต่อไป

‘พาณิชย์’รังสรรค์เครื่องประดับ  อัตลักษณ์‘อีสานใต้’  

‘พาณิชย์’รังสรรค์เครื่องประดับ  อัตลักษณ์‘อีสานใต้’

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ(GIT)เปิดเผยว่า โครงการนี้เป็นโครงการสำคัญของสถาบัน ที่ได้ลงไปบูรณาการร่วมกับส่วนงานต่าง ๆ แล้วกว่า 15 จังหวัด ในปี 2563 ได้ทำโครงการเครื่องประดับชนเผ่า เอกลัษณ์ทางวัฒนธรรมแห่งดินแดนอีสานใต้ (อีสานเดิ้น) ซึ่งมีผู้ประกอบการและผู้สนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งสิ้น 417 ราย จากนั้นได้คัดเลือกเหลือ 20 ราย จาก 5 จังหวัด เพื่อมาทำงานร่วมกับนักออกแบบมืออาชีพ เกิดเป็นเครื่องประดับร่วมสมัยที่แสดงถึงอัตลักษณ์แห่งท้องถิ่นถึง 5 คอลเลคชั่น ตั้งเป้าหมายในการลงพื้นที่ 5 จังหวัดต่อเนื่อง คือ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี คัดเลือกผู้ประกอบเหลือเพียง 20 ราย มาสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบแถวหน้าของประเทศ เพื่อพัฒนาและออกแบบเครื่องประดับต้นแบบ ที่มาจากแนวคิดสร้างสรรค์และอัตลักษณ์ของ “อีสานใต้” อย่างแท้จริง พร้อมขยายสู่สากล 

คอลเลคชั่นเครื่องประดับแนวอัตลักษณ์อีสานใต้

หน้า 17 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,659 วันที่ 7 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

แห่สมัครโครงการ “อีสานเดิ้น”ทะลุเป้า

ชงเครื่องประดับชนเผ่า ร่วมงานแฟร์ต่อยอดโกอินเตอร์