โครงการแปลง “น.ส. 3-น.ส.3ก”หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์ เป็นโฉนดที่ดิน ตามนโยบายนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหมาดไทย (มท.2) มอบหมายให้ กรมที่ดินเร่งรัดเดินสำรวจออกโฉนด พร้อมสร้างความมั่นใจ ว่า งบประมาณนับตั้งแต่ปีงบประมาณปี2565 (1ตุลาคม2564-30กันยายน 2565) เป็นต้นไปจะได้รับการสนับสนุนจากสำนักงบประมาณ อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ประเมินว่าประชาชนจะมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีมีความมั่นคงจากการได้รับเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายสามารถใช้เป็นหลักทรัพย์คํ้าประกันได้
7หมื่นชุมชนคึก
ขณะที่ความเคลื่อนไหวในหลายพื้นที่ ประชาชน ผู้ครอบครอง หลักฐาน น.ส.น.ส.3-น.ส.3ก มีความตื่นตัว ภายหลังกรมที่ดินมีหนังสือประชาสัมพันธ์ ผ่านผู้นำชุมชนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านกว่า7หมื่นแห่ง และที่ว่าการอำเภอ ได้บรรจุเป็นวาระ ประจำเดือน เพื่อพิจารณา เป็นเรื่องเร่งด่วน ทั้งนี้ นายสมปอง รอดตุ่น หรือกำนันแดง กำนัน ตำบลจันทึกอำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา มองว่า เป็นเรื่องที่ดีเป็นผลประโยชน์โดยตรงกับประชาชน
“เขาใหญ่” น.ส.3พรึบ
ทั้งนี้พื้นที่นครราชสีมา มี น.ส.3-น.ส.3ก หลงเหลืออยู่ ในปริมาณมาก ไม่ตํ่ากว่า 1ล้านแปลง ส่วนใหญ่อยู่ฝั่งเขาใหญ่ โดยเฉพาะตำบลขนงพระ ตำบลหมูสีบริเวณถนนธนรัชต์ทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แม้จะเป็นที่น.ส.3ก ราคา 2-3ล้านบาทต่อไร่สภาพปัจจุบันเป็นที่ทำการเกษตร หากเป็นรุ่นบุตรหลานได้มีการเปลี่ยนมือกันบ้างแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อที่ดินถูกแปลงเป็นโฉนดเชื่อว่าราคาจะขยับขึ้นหลายเท่าตัว
สาเหตุอำเภอปากช่องยังมี น.ส.3-น.ส.3ก ค่อนข้างมาก กำนันแดง อธิบายว่า พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในรอยต่อทั้งเขตอุทยานฯเขตป่าไม้ เขต ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ของเอกชน ที่ดินทำกิน ประชาชนส่งผลให้การเดินสำรวจรูปแบบรายแปลงและการเดินสำรวจออกโฉนดรายกลุ่มจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ขณะตำบลจันทึก ซึ่งเป็นเป็นพื้นที่ที่รับผิดชอบของกำนันแดง ระบุ มีจำนวน 22 หมู่บ้าน มี น.ส.3-น.ส.3 ก เพียง 5% เมื่อเทียบทั้งจังหวัด แต่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดินทหาร ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ และ เขตส.ป.ก. ที่ผ่านมา คนในชุมชน มีความตื่นตัวอยากได้โฉนด โดยเร็วเมื่อ กรมที่ดินมีนโยบายดังกล่าว จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับชาวบ้าน ที่รอคอยมานาน
สงขลาเฮลั่น
เช่นเดียวกับ นางเสนาะ กลิ่นบุปผา อดีตประธานชุมชน ตำบลบ่อหว้า อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา ระบุว่า ในพื้นที่ชุมชน มีโฉนดเต็มพื้นที่แล้ว เนื่องจากเป็นเขตอำเภอเมือง ขณะพื้นที่ห่างไกล อย่างอำเภอสิงหนคร มักเป็นที่ราชพัสดุแถบอำเภอรอบนอก อ.สิงหนคร ตำบลชิงโค ตำบล ม่วงงาม ฯลฯ ส่วนใหญ่ ยังเป็น
น.ส.3-น.ส.3ก เนื่องจากพื้นที่ติดต่อกับ ป่าชายเลน หากออกโฉนดที่ดินได้ ชาวบ้านจะมีความยินดีอย่างมาก สำหรับราคาที่ดินซื้อขายราคาไร่ละไม่ถึง 1 ล้านบาท
ภาคเหนือหนุน
สำหรับที่ดินในพื้นที่ภาคเหนือ ของประเทศ พบว่ามีน.ส.3.-น.ส.3ก คงเหลือค่อนข้างมากที่สำนักงานที่ดิน ประสานงานร่วมกันกับชุมชน โดยคนในชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ รายหนึ่งแจ้งว่าได้ครอบครองที่ดินประเภทน.ส.3 ก จำนวน 2แปลง เมื่อกรมที่ดินเปิดช่องทางให้ยื่นขอออกโฉนดได้ มองว่าเป็นโอกาสที่ดี แต่เนื่องจาก ขั้นตอนดำเนินการ กว่าจะได้มาซึ่งโฉนดที่ดิน ต้องใช้เวลานาน หากใครทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครต้องลางานไปชี้แนวเขตทำรังวัดอีกทั้งกว่าจะนัดเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง ให้ ได้เวลาตรงกันย่อมเป็นไปได้ยาก เช่นเดียวกับจังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้าน ดีใจโอกาสที่จะได้โฉนดมีสูงและได้เดินทางติดต่อกำนันผู้ใหญ่บ้านกันมาก
ด้านธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหรือเอ็สเอ็มอี ตามต่างจังหวัด เริ่มมีความหวัง มากขึ้นเมื่อ กรมที่ดินเอาจริงเอาจัง ในการเดินสำรวจออกโฉนด แต่ ธุรกิจเอสเอ็มอีบางกลุ่มอาจใช้หลักทรัพย์อื่นแทนที่ดิน เนื่องจากไม่มีที่ดินในครอบครอง นายสัมฤทธิ์ ไหคำ ประธานชมรมไทยบริการท่องเที่ยวภาคเหนือ เปิดเผยว่ากรณีกรมที่ดินมีนโยบายเปลี่ยน น.ส.3 และ น.ส.3ก เป็นโฉนดเพื่อให้ใช้คํ้าประกันการขอสินเชื่อเพื่อ จะช่วยเหลือ ในส่วนของผู้ประกอบการ SMEs ท่องเที่ยวก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะเราต้องมองอีกว่าคนที่อยู่ในอุตสาห กรรมการท่องเที่ยวจะมีทรัพย์สินตัวนี้หรือไม่ เมื่อเทียบกับคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมหนักภาคอื่นอุตสาหกรรมขนาดกลาง อุตสาห กรรมขนาดเล็กของภาคอื่นเขามีตัวนี้หรือไม่
“ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทรัพย์สินก็จะเป็นพวกรถทัวร์ รถตู้ ช้าง มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของที่ดิน เพราะฉะนั้นก็ต้องมองว่าจะช่วยเหลือได้อย่างไร อันนี้ก็ต้องช่วยกันฝากพิจารณา”
เชียงใหม่ในกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว มีมากถึง 100 ราย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของบริษัททัวร์ ในส่วนของแหล่งท่องเที่ยว เองที่มีปัญหานี้ ที่ยกเลิกปิดกิจการไปก็มีเยอะพอสมควร ยกเลิกกิจการของเชียงใหม่ก็น่าจะ 50:50 ณ ขณะนี้ และหากเป็น น.ส.3 ธนาคารไม่รับต้องเปลี่ยนเป็นโฉนด ถ้ากรมที่ดินเปลี่ยนจาก นส.3 หรือ นส.3ก เป็นโฉนด คิดว่าช่วยได้เยอะประเด็นนี้ถ้าพูดในเชิงธุรกิจก็เห็นด้วยแต่ถ้าในเชิงสโคปใหญ่ๆไม่เห็นด้วย ต้องเลือกไม่ใช่ให้ทั่วไป
“อย่างพวกเราผู้ประกอบการท่องเที่ย มีที่ดิน 5 ไร่ 10 ไร่ก็ถือ ว่าหรูแล้ว แต่ในขณะที่คุณมีที่ดิน 2,000 ไร่ แล้วเอามาเป็นโฉนด ประเทศชาติจะอยู่อย่างไร เสนอว่าจะต้องมีจำกัดว่า อันนี้ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียว่าควรจะกำหนดมาตรฐานอย่างไรมากกว่า”
หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,663 วันที่ 21 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง