เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้กัญชา กัญชง ในเครื่องสำอางและขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติ ด้านสมุนไพร ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ อนุญาตการกัญชา กัญชง ในเครื่องสำอาง และขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร จำนวน 5 ฉบับ โดยมีใจความสำคัญดังนี้
ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. 2564 ระบุ
อนุญาตให้ใช้ยาน้ำมันกัญชาที่ผลิตจากช่อดอก ซึ่งยามี delta-9- tetrahydrocannabinol (THC) 2.0 mg/ml ยานำ้มันสารสกัดกัญชาที่มี cannabidiol (CBD) 100 mg/ml และมี delta-9-tetrahydrocannabinol (THC) ในอัตราส่วนที่ CBD:THC มากกว่าหรือเท่ากับ 20:1 และยานำ้มันสารสกัดกัญชาที่มี delta-9- tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) ในอัตราส่วน 1:1
เพื่อรักษาเสริมในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้ายที่มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรือ มีอาการปวดในระดับปานกลางถึงรุนแรง ที่รักษาด้วยยามาตรฐานไม่ได้หรือไม่ ได้ผล ซึ่งสั่งใช้ยาโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแผนปัจจุบันที่ผ่านการอบรม หลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง
ส่วนยาน้ำมันสารสกัดกัญชาที่มี delta-9- tetrahydrocannabinol (THC) ไม่เกิน 0.5 mg/drop สามารถ ใช้รักษาเสริมหรือควบรวมกับการรักษาตามมาตรฐานในการรักษาภาวะคลื่นไส้ อาเจียนจากเคมีบำบัด
และใช้รักษาเสริมในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะท้ายที่มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรือมี อาการปวดในระดับปานกลางถึงรุนแรง ที่รักษาด้วยยามาตรฐานไม่ได้หรือไม่ได้ผล ให้สั่งใช้ยาโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแผนปัจจุบันที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการ ใช้กัญชาทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออลจากกัญชาและกัญชงในเครื่องสสำอาง พ.ศ. ๒๕๖๔
ระบุส่วนประกอบที่ได้จากการสกัดกัญชาหรือกัญชง และต้องมีสาร เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกิน ๐.๒% โดยน้ำหนัก และ ห้ามใช้สารแคนนาบิไดออลที่ได้จากการสังเคราะห์ (synthetic cannabidiol)
ภายใต้เงื่อนไข
1.ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในช่องปาก หรือผลิตภัณฑ์ ที่ใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น
2. วัตถุดิบที่ใช้ต้องมีสาร THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.2%
3. ในกรณีเครื่องส้าอางพร้อมใช้รูปแบบนำ้มัน หรือ soft gelatin capsules จะต้องมีสารTHC ปนเปื้อน ไม่เกิน 0.001%
ประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง ฉลากของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออลจากกัญชาและกัญชง พ.ศ. ๒๕๖๔
ระบุให้ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสำอางที่มีสารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล จากกัญชาและกัญชงเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางจัดทำฉลากให้สอดคล้องกับประกาศ คณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง ฉลากของเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยต้องแสดงคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่ออนามัยของบุคคล หรือข้อความเพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภค (ถ้ามี) และหากมีสารใด ๆ ในสูตรที่ต้องแสดงคำเตือนตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง ว่าด้วยเรื่องคำเตือนให้แสดงคำเตือนดังกล่าวด้วย และในกรณีคำเตือนซ้ำ ให้แสดงข้อความตามบัญชี แนบท้าย
นอกจากนี้ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสำอางที่มีสารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล จากกัญชาและกัญชงเป็นส่วนผสมต้องแสดงความเข้มข้นของสารแคนนาบิไดออล ในฉลากเป็นร้อยละโดยน้ำหนัก (weight by weight)
โดยมีบังคับข้อความดังต่อไปนี้
1. ผลิตภัณฑ์ทุก ประเภท ยกเว้น ผลิตภัณฑ์รูปแบบ น้ำมัน หรือ รูปแบบ soft gelatin capsules
คำเตือนที่ฉลาก : - ผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิดการแพ้หรือการระคายเคือง ได้
- หากใช้แล้วมีความผิดปกติ ใด ๆ เกิดขึ้นต้องหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร
2.ผลิตภัณฑ์รูปแบบ น้ำมัน หรือ รูปแบบ soft gelatin capsules
คำเตือนที่ฉลาก : - ห้ามรับประทาน
- ผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิดการแพ้หรือการระคายเคืองได้
หากใช้แล้วมีความผิดปกติ ใด ๆ เกิดขึ้นต้องหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การใช้ส่วนของกัญชงในเครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๖๔
ระบุเงื่อนไขสำคัญคือ กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชงและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ที่นำมาใช้จะต้องไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน้ำหนัก
ทั้งนี้ ส่วนของกัญชงต้องทำให้แห้งแล้ว และต้องใช้ในวัตถุประสงค์ทางเครื่องสำอางเท่านั้น และห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในช่องปาก หรือผลิตภัณฑ์ ที่ใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น ในกรณีเครื่องสำอางพร้อมใช้จะต้องมีสาร THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.2%
ประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง การแสดงคำเตือนที่ฉลากของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของส่วนของกัญชง พ.ศ. ๒๕๖๔
ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสำอางที่มีส่วนของกัญชงเป็นส่วนผสม ในการผลิตเครื่องสำอาง ต้องแสดงคำเตือนตามที่ระบุ คือ - ผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิด การแพ้หรือการระคายเคือง ได้
- หากใช้แล้วมีความผิดปกติ ใด ๆ เกิดขึ้น ต้องหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: