เคาะประกันข้าวโพด 8.50 บาท ดีเดย์จ่าย 20 ธ.ค.

30 พ.ย. 2562 | 10:23 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ธ.ค. 2562 | 04:30 น.

“จุรินทร์” เคาะจ่ายประกันรายได้ข้าวโพด 8.50 บาทต่อกิโลฯ ได้ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ จ่ายทันที 20ธันวาคม นี้ พ่วงมาตรการเสริม 6 ข้อป้องราคาตก

ผู้สื่อข่าวรายงาน(30 พ.ย.62)ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เป็นประธานการประชุมหารือ 3 ฝ่ายเพื่อดำเนินการประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีนายนิพนธ์ บุญญามณี  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และตัวแทนฝ่ายราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนผู้ประกอบการ และตัวแทนเกษตรกร ร่วมหารือการดำเนินการประกันรายได้สินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

เคาะประกันข้าวโพด 8.50 บาท ดีเดย์จ่าย 20 ธ.ค.

 

เคาะประกันข้าวโพด 8.50 บาท ดีเดย์จ่าย 20 ธ.ค.

โดยนายจุรินทร์ กล่าวสรุปว่า ขั้นตอนการดำเนินนอกจากการประชุม 3 ฝ่ายวันนี้   ขอราคาประกันรายได้ถ้าที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)(ความชื้น14.5%) จำนวนไม่เกิน 30 ไร่ต่อครัวเรือน ปลูกระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2562  มีจำนวนเกษตรกร 3.36 แสนครัวเรือน ขั้นตอนต่อไปในวันที่ 4 ธันวาคมนี้จะนำเรื่องเข้าสู่การประชุมของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(นบขพ.)และวันที่  11 ธันวาคม 2562 จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี  (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยกำหนดจ่ายเงินส่วนต่างงวดแรกวันที่ 20 ธันวาคม 2562

 

ขณะเดียวกันที่ประชุมยังมีมติเกี่ยวกับมาตรการเสริม 6 ข้อคือ 1.หากมีการนำเข้าข้าวโพดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน จำเป็นต้องนำเข้าตามเงื่อนไขของอาเซียน 2. จันทบุรี อุบล เชียงราย น่าน เลย ตาก และสระแก้ว จะต้องแจ้งการเคลื่อนย้ายข้าวโพดต่อพาณิชย์จังหวัด 3. เงื่อนไขสัดส่วนการนำเข้าสาลี ต่อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังเป็น 1 ต่อ 3 ต่อไป 4. การรับซื้อต้องใช้เครื่องชั่งจากกรมการค้าภายในที่มีความเที่ยงตรงเเม่นยำ

 

 

5.ในการเก็บสต๊อก ต้องแจ้งต่อกรมการค้าภายในตามที่กำหนด 6. เพื่อให้มีการเก็บรวบรวมข้าวโพดในช่วงที่ออกมากจะทำให้ราคาตก จึงมีมาตรการช่วยเหลือเงินกู้สถาบันเกษตรกรเก็บไม่ต่ำกว่า 2 เดือน โดยมีวงเงินไว้จำนวน 1,500 ล้านบาท และ 7. กำชับให้ทุกจังหวัด รวมหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจริงจัง และให้รายงานเข้า นบขพ. ในทุกครั้งที่มีการดำเนินการ

เคาะประกันข้าวโพด 8.50 บาท ดีเดย์จ่าย 20 ธ.ค.

รายงานการประชุมระบุว่า โดยการประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลักเกณฑ์ ในการกำหนดราคาประกันรายได้ จะดำเนินการเช่นเดียวกับโครงการที่ผ่านมา คือ ต้นทุน + ค่าขนส่ง + ผลตอบแทน โดยเกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร และได้ทุกครัวเรือนที่ปลูกข้าวโพดจริง  ปัจจุบันนี้ทางด้านสถานการณ์ราคาข้าวโพดปัจจุบัน การผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิต 4.73 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.19 พื้นที่เพาะปลูก 6.88 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.19 เกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 0.709 ตัน (709 กิโลกรัม) มีจำนวนเกษตรกร 3.36 แสนครัวเรือน แหล่งเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา น่าน ตาก และเลย