นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึงทางเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้ง ได้ร้องแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเนื่องจากตลาดซบเซาจากผลกระทบไวรัสโควิด-19 กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ทางนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้อธิบดีกรมประมงได้จัดประชุมเร่งด่วนแล้วต้องสรุปมาตรการการช่วยเหลือให้แล้วเสร็จภายในวันวันที่ 10 เมษายนนี้
ทั้งนี้แนวทางในการกำหนดมาตรการอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่ ก็คือการชะลอการระบายกุ้งให้อุตสาหกรรมห้องเย็น หรือผู้ประกอบการในการส่งออกได้ดูดซับกุ้งออกจากตลาดเพื่อยกระดับราคา และ 2.ลดต้นทุนให้กับผู้เลี้ยงกุ้ง อาทิ ต้นทุนค่าอาหารกุ้ง และต้นทุนของลูกกุ้ง เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้โดยกรมประมง จะจัดให้มีประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยครั้งที่ 1/2563 ในวันที่ 9 เมษายนนี้เพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
อย่างไรก็ดีนายอลงกรณ์ กล่าวต่ออีกว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา ร่วมกับกรมประมง สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสมาคมผู้ค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย ที่ปรระชุมได้มีข้อสรุป 3 มาตรการ คือ มาตรการที่ 1 ระยะสั้น รัฐเข้าไปช่วย 80 % ของราคาห้องเย็นซื้อกุ้งจากเกษตรกร ฟาร์มเกษตรกรต้องไม่ใช่ฟาร์มขนาดใหญ่ ในการประเมินข้อมูลผลผลิตส่วนที่เหลือจากความต้องการของห้องเย็นควรจะใช้ตัวเลขผลผลิตที่ห้องเย็นต้องการใช้กุ้งจริงและตัวเลขผลผลิตกุ้งที่ผลิตได้แท้จริง ผลผลิตกุ้งส่วนที่ (เกษตรเป็นเจ้าของ) นำฝากห้องเย็นไว้ค่าใช้จ่ายในการฝากเก็บในห้องเย็นในระยะเวลา 3 เดือน โดยรัฐช่วยจ่าย 80%
โดยพิจารณาจากโครงสร้างพื้นที่ที่มีผลผลิตกุ้งออกมาปริมาณมาก "ถ้าราคากุ้งดีขึ้นเกษตรกรก็สามารถมาไถ่ถอนจากการจำนำ" โดยให้ที่ประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยพิจารณาโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และมีมติมอบหมายให้กรมประมงเสนอโครงการมายังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายในวันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563 และนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณา ก่อนจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในวันที่ 21 เมษายน 2563 ต่อไป
มาตรการที่ 2 ระยะกลาง ขึ้นกับสถานการณ์และภาวะความต้องการของตลาดทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ โดยตลาดภายในประเทศสร้างความร่วมมือจาก 3 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม สร้างระบบภายในประเทศโดยวางระบบการกระจายผลผลิตทางการเกษตรให้พร้อมกันทั่วประเทศ และ มาตรการที่ 3 ลดต้นทุน
โดยสั่งการให้กรมประมงทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทยเพื่อเสนอต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับเปลี่ยนการใช้ไฟฟ้าของผู้เลี้ยงกุ้งให้เป็นผู้ใช้ประเภท เกษตรกร ส่วนค่าอาหารกุ้ง และลูกกุ้งให้กรมประมงหาแนวทางขอลดราคา และลูกกุ้งให้ดำเนินการตามโครงการ คชก. เมื่อได้ผลสรุปมาตรการที่เด่นชัดแล้วจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
สอดคล้องกับนายครรชิต เหมะรักษ์ ประธานเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ในวันพรุ่งนี้ (9 เม.ย.63) จะมีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยครั้งที่ 1/2563 เรื่องโครงการเสนอภาครัฐเพื่อให้ความช่วยเหลือ ในโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งทะเลปี 2563 นั้นทางเกษตรกรใช้วิธีการอย่างไรก็ได้ ขอให้เลี้ยงแล้วมีตลาดรองรับ พ้นจากขาดทุน แล้วเหลือกำไรนิดหน่อย
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้ ได้เสนอนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และจะนำโมเดลนี้เสนอเข้าในที่ประชุม ด้วย เป็นโครงการประกันรายได้กุ้ง โดยประกันรายได้ชดเชยส่วนต่างตามขนาดกุ้ง เช่นเดียวกับสินค้าข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดังนี้
อาทิ กุ้งขนาด 100 ตัว/กิโลกรัม ราคา 130 บาท, กุ้งขนาด 90 ตัว/กิโลกรัม ราคา 140 บาท,กุ้งขนาด 80 ตัว/กิโลกรัม ราคา 150 บาท,กุ้งขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 160 บาท,กุ้งขนาด 60 ตัว/กิโลกรัม ราคา 180 บาท, กุ้งขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 200 บาท,กุ้งขนาด 40 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 220 บาทต่อกิโลกรัม,กุ้งขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม ราคา 240 บาท
นายครรชิต กล่าวว่า กุ้งขาวแวนนาไม เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ผ่านมาผลิตได้ประมาณ 6 แสนตัน นำเงินรายได้เข้าประเทศเกือบแสนล้านบาท ต่อมาประสบปัญหาโรคระบาดทำให้ผลผลิตลดลงเหลือละ 3 แสนตันต่อปี ปัจจุบันเกษตรกรในขณะนี้ราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่อง 30-50 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงและการเกิดโรคระบาดของกุ้ง สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้เกษตรกรต้องประสบภาวะขาดทุนทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ทางเครือข่ายอยากทราบอนาคตกุ้ง เพราะ 1. เกษตรกรต้องมีความมั่นใจว่ากุ้งที่มีอยู่ 3 เดือนข้างหน้า (เม.ย-มิ.ย63)มีผู้ซื้อและราคากุ้งที่ขายต้องสูงกว่าต้นทุนการผลิต 2.เมื่อมีความมั่นใจจากข้อ1.ก็จะตัดสินใจปล่อยลูกกุ้งต่อในเดือน เม.ย.,พ.ค.63 และ 3.หากไม่มั่นใจในข้อ1. เกษตรกรจะไม่ปล่อยลูกกุ้งลงเลี้ยงในเดือน เม.ย.63 ก็จะส่งผลให้เดือน ก.ค. และ ส.ค. ไม่มีผลผลิตกุ้ง ห่วงโซ่อุตสาหกรรมกุ้งก็จะขาดทันที
สำหรับราคากุ้งขาวตลาดมหาชัย ณ วันที่ 7 เมษายน 2563