เปิดยื่นอุทธรณ์ทบทวนสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

29 เม.ย. 2563 | 07:10 น.

“เฉลิมชัย” สั่งเร่งเกษตรกรขึ้นทะเบียน ภายใน 15 พ.ค. นี้ เป้า 10 ล้านราย วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท  ชี้หากข้อมูลผิดพลาดเปิดช่องอุทธรณ์ยื่นทบทวนสิทธิ์ได้ทันที

จากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2563 มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งการช่วยเหลือตามโครงการฯ ในครั้งนี้เป็นการช่วยเหลือเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและครอบครัว

เปิดยื่นอุทธรณ์ทบทวนสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรักษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนตามนโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และยังเป็นการเพิ่มสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ เกษตรกรจะได้รับเงินช่วยเหลือ รายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2563 รวมวงเงินของโครงการ 150,000 ล้านบาท

เปิดยื่นอุทธรณ์ทบทวนสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

สำหรับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับความช่วยเหลือนั้น เป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนไว้รวม 10 ล้านราย ประกอบด้วย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง  จำนวน  8.43 ล้านราย แบ่งเป็นเพาะปลูกพืช ประมาณ 6.19 ล้านราย ปศุสัตว์ ประมาณ 1.60 ล้านราย   ทำประมง ประมาณ 0.64 ล้านราย

 

เปิดยื่นอุทธรณ์ทบทวนสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียน ประมาณ 1.57 ล้านราย โดยอยู่ในกลุ่มของยางพารา หม่อนไหม อ้อยโรงงาน ยาสูบ และนาเกลือ  

เปิดยื่นอุทธรณ์ทบทวนสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

ทั้งนี้สำหรับขั้นตอนการดำเนินการช่วยเหลือนั้น ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง จะดำเนินการขึ้นทะเบียนและตรวจสอบความถูกต้องของเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 หลังจากนั้นจะดำเนินการส่งข้อมูลให้กระทรวงการคลัง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของข้อมูล และความซ้ำซ้อนกับการช่วยเหลือภายใต้โครงการเราไม่ทิ้งกัน จากนั้น ธ.ก.ส. จะโอนเงินให้แก่เกษตรกรตามช่องทาง และกลไกของธนาคารฯ ที่ตรวจสอบได้

เปิดยื่นอุทธรณ์ทบทวนสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

“กรณีเกษตรกรที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนขอให้รีบมาขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานรับผิดชอบ อาทิ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรมประมง และหน่วยงานที่มีการขึ้นทะเบียนอื่นๆ ทั้งยางพารา หม่อนไหม อ้อยโรงงาน ยาสูบ และนาเกลือ โดยด่วนตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เพื่อป้องกันการตกหล่น แต่หากเกิดกรณีเกษตรกรร้องเรียนว่าเป็นผู้ตกหล่น จะมีการเปิดช่องทางอุทธรณ์ให้ต่อไป” นายอลงกรณ์ กล่าวในที่สุด