ผงะเกษตรกร 1 ล้านราย ส่อชวดเงินเยียวยา

05 พ.ค. 2563 | 11:05 น.
อัปเดตล่าสุด :06 พ.ค. 2563 | 08:18 น.

กางบัญชีเช็กรายชื่อกรมส่งเสริมการเกษตร ผงะ 1 ล้านราย ยังไม่ได้ปรับปรุงทะเบียนจะไม่เข้าเงื่อนไขรัฐจ่ายเยียวยาโควิด1.5 หมื่นบาท ด้านบอร์ด กยท.เคลียร์ปมร้อนชาวสวนยางได้สิทธิ์หรือไม่

“ฐานเศรษฐกิจ” ยังคงเกาะติดการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะมีมติคณะรัฐมนตรี (28 เม.ย.63) เห็นชอบให้ช่วยเหลือจ่ายเงินช่วยเหลือโดยตรง จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2563 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรกเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ จำนวน 8.43 ล้านราย และ กลุ่มที่ 2  เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ไม่เกิน 1.57 ล้านราย

ผงะเกษตรกร 1 ล้านราย ส่อชวดเงินเยียวยา

แหล่งข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรนั้นในส่วนเกษตรกรผู้ปลูกพืช ที่ได้ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2563 แล้ว จำนวน 6.3 ล้านครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2563) ขอให้ไปตรวจสอบรายชื่อที่ติดประกาศภายในชุมชน (ตามที่ตั้งแปลงปลูก) ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 หากมีรายชื่ออยู่ในกลุ่มนี้ ไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆอีก

โดยจะเป็นรายชื่อเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายแรกที่จะส่งไปคัดกรองเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และขอให้รอผลคัดกรองตรวจสอบสิทธิในการเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งนี้ ธ.ก.ส.จะโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารทันที

ผงะเกษตรกร 1 ล้านราย ส่อชวดเงินเยียวยา

นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรจำนวน 1 ล้านราย ยังไม่ปรับปรุงการขึ้นทะเบียนใหม่เลย จะไม่เข้าสิทธิ์รัฐเงื่อนไขในการจ่ายเงินเยียวยาในการช่วยเหลือ ดังนั้นในเกษตรกรกลุ่มนี้ หากต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐจะต้องไปเร่งปรับปรุงเทะเบียนด่วน ภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้

ผงะเกษตรกร 1 ล้านราย ส่อชวดเงินเยียวยา

ด้านนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า เงื่อนไขเกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลจะต้องปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน ดังนั้นต้องรีบไปแจ้งสิทธิ์เกษตรอำเภอ/จังหวัด ปฎิบัติงานทุกวันไม่เว้นวันหยุด ต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่/ข้าราชการทำงานหนักกันมาก มีเวลาเมื่อไรจะลงไปให้กำลังใจในพื้นที่เสมอโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้าเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ

ที่สำคัญต้องขอบคุณเพราะทำงานหนักกว่าอธิบดีเสียอีก ที่สำคัญต้องการให้เป้าวัตถุประสงค์ของรัฐบาลจ่ายเงิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้เข้าถึงเงินเยียวยามากที่สุด หากเกษตรกรมีข้อสงสัย สามารถโทรสอบถามได้ก่อนที่สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูกลดความเสี่ยง เลี่ยงการเดินทาง

ผงะเกษตรกร 1 ล้านราย ส่อชวดเงินเยียวยา

ขณะที่นายสุนทร รักษ์รงค์ เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) และในฐานะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) เผยว่า เห็นข่าวที่สับสนเรื่องเกษตรกรชาวสวนยางกับการเยียวยาผลกระทบจากโควิด จึงขอแสดงความคิดเห็นจากความเข้าใจส่วนตัว ดังต่อไปนี้ มติ ครม.28 เมษายน 2563 ให้ใช้ฐานข้อมูลของ 3 หน่วยงานเพื่อการเยียวยาโควิด

คือ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ ส่วนข้อมูลจากการยางแห่งประเทศไทย แค่เอามาประกอบการพิจารณาความซ้ำซ้อน ดังนั้นรายชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง กยท.ก่อน 1 เม.ย.2563 มีทั้งสิ้น 1,756,759ราย ที่มีทั้งเจ้าของสวนยาง ผู้ทำสวนยาง ผู้เช่า ที่มีเอกสารสิทธิ์(บัตรสีเขียว) และไม่มีเอกสารสิทธิ์(บัตรสรชมพู) รวมทั้งคนกรีดยาง(บัตรสีเขียว)

ผงะเกษตรกร 1 ล้านราย ส่อชวดเงินเยียวยา

“ขอย้ำว่ายังไม่มีคนกรีดยางบัตรสีชมพู ซึ่งมีหมายเลขบัตรประชาชนในสมุดเล่มเขียว(ทบก.) 1,478,621 ราย แต่เป็นหัวหน้าครัวเรือนเพียง 1,114,713 ราย เป็นสมาชิกครัวเรือนเกษตรกร(ทบก.) 363,908 ราย และที่ไม่มีชื่อในสมุดเล่มเขียวอีก 278,138 ราย แต่ส่วนนี้ไปมีชื่อในทะเบียนบ้านของเกษตรกรที่มี ทบก.อีก 168,102 ราย ดังนั้นเหลือรายชื่อเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่อยู่ใน ทบก.และทะเบียนบ้านของเกษตรกรที่มี ทบก.อีกเพียง 110,036 รายเท่านั้น

ผงะเกษตรกร 1 ล้านราย ส่อชวดเงินเยียวยา

นายสุนทร กล่าวอีกว่า การจ่ายเงินเยียวยาผลกระทบจากโควิด จ่ายให้หัวหน้าครัวเรือนเกษตรกรที่ลงทะเบียนเกษตรกับกรมส่งเสริมการเกษตร(สมุดเล่มเขียว) สรุปง่ายๆครัวเรือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน ดังนั้นอย่าเข้าใจผิด ว่า จ่ายเป็นรายให้เกษตรกรชาวสวนยางตามทะเบียนของ กยท. 

ส่วนคนกรีดยางที่มีสมุดเล่มเขียว โดยเป็นหัวหน้าครัวเรือน 51,190 ราย และเป็นสมาชิกครัวเรือนเกษตรกร 61,822 ราย ก็คงไปแจ้งการปลูกพืชชนิดอื่น และยังไม่รู้ว่าคนกรีดยางไปแจ้งการทำการประมงและปศุสัตว์อีกกี่ราย การได้รับเงินเยียวยา ได้เพียง 1 สิทธิเท่านั้น

ผงะเกษตรกร 1 ล้านราย ส่อชวดเงินเยียวยา

"ยังมีคนกรีดยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ไปลงทะเบียนอาชีพอิสระ คนไทยไม่ทิ้งกัน ก็ได้รับเงินเยียวยาแต่ไม่ทราบจำนวน เพราะคนกลุ่มนี้ตอนแรกไม่มีชื่อในสารบบเกษตรกรของหน่วยงานใดๆเลย จึงลงเป็นอาชีพลูกจ้างกรีดยางและมีนายจ้าง เลยได้รับการเยียวยา 

ดังนั้นจะมีเกษตรกรที่ยังคงตกค้าง ทั้งเจ้าของสวนยาง คนทำสวนยาง ผู้เช่า และคนกรีดยาง ที่ไม่มีชื่อใน ทบก.และทะเบียนบ้านของเกษตรที่มี ทบก.อีกจำนวนหนึ่งต้องรอความชัดเจนหลังวันที่ 15 พ.ค.2563 จึงจะสรุปได้ว่าต้องดำเนินการต่ออย่างไร แต่ สคยท.กำลังประสานงานผลักดันเพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางทุกครัวเรือนได้รับการเยียวยาอย่างทั่วถึงกัน"

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบสิทธิ์เกษตรกรรับเงินเยียวยาโควิด

เฮ สมาชิก กอช.-นักศึกษาพาร์ทไทม์ เตรียมลงทะเบียนรับเงินเยียวยา “เราไม่ทิ้งกัน”