กระทรวงเกษตและสหกรณ์ เผยแพร่ 20 ประเด็นปัญหาและคำตอบเกี่ยวกับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมาตรการเยียวยาเกษตรกร เพื่ออธิบายถึงขั้นตอนอุทธรณ์สิทธิ์ แผนการดำเนินโครงการ วิธีการรับเงิน รวมไปถึงข้อกังวลว่าเมื่อได้รับสิทธิช่วยเหลือจากมาตรการนี้แล้วจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการอื่น และโทษกรณีแจ้งข้อมูลเท็จ
สำหรับ Q&A ประเด็นปัญหาและคําตอบ ในการอุทธรณ์ของการดําเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีรายละเอียดดังนี้
1. ในกรณีมีการอุทธรณ์จะมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ ระบบเยียวยาเกษตรกร เว็บไซต์ www.moac.go.th ตามรายละเอียดในภาพข้างล่าง
2. สถานที่สําหรับไปขออุทธรณ์
ตอบ เกษตรจังหวัด/อําเภอ ประมงจังหวัด/อําเภอ ปศุสัตว์จังหวัด/อําเภอ หม่อนไหม ภูมิภาค) การยางแห่งประเทศไทย (ภูมิภาค) เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สํานักงานอ้อยและน้ําตาลทราย (ภูมิภาค) ยาสูบแห่งประเทศไทย (ภูมิภาค)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ตรวจสอบสิทธิ์" www.เยียวยาเกษตรกร.com เช็กสถานะ แบบไหนได้เงิน
เช็ก 4 สถานะ ได้สิทธิ์ www.เยียวยาเกษตรกร.com แต่ไม่ได้เงิน
ธ.ก.ส. เปิด 6 ข้อควรรู้ "ตรวจสอบสถานะ" เงิน"เยียวยาเกษตรกร"
3. การจ่ายเงินเยียวยานี้ จ่ายเป็นรายครอบครัวหรือรายบุคคล
ตอบ เป็นรายบุคคลตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียน เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรม ประมง กรมปศุสัตว์ เป็นต้น
4. แผนการดําเนินการ การเยียวยาเกษตรกร เป็นอย่างไร
ตอบ รวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่เข้าเกณฑ์ *รอบแรก* ตัดยอด ณ 30 เม.ย. 63 *รอบสอง* 1 - 15 พ.ค. 63 โดยคาดการณ์ว่า หากไปคัดกรองจากฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด หากไม่ซ้ำซ้อนและมีสิทธิ์ได้รับการเยียวยา COVID-19 แล้ว รอบแรก จะได้รับ 5,000 บาท ก่อนตั้งแต่ 15 พ.ค. 63 รอบสอง จะได้รับ 5,000 บาทภายใน สิ้นเดือน พ.ค. 63
5. หากมีบัญชีธนาคาร ธ.ก.ส. ซึ่งไม่ได้ใช้มานานแล้ว และตรวจสอบในเว็บ www.เยียวยาเกษตรกร.com แล้ว มีหมายเลขบัญชีดังกล่าว ต้องการเปลี่ยนแปลง แต่ทําไม่ได้ ต้องทําอย่างไร
ตอบ ในกรณีนี้ ให้เข้าไปตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้ดําเนินการเปิดบัญชีใหม่ให้แล้ว
6. มีความประสงค์ที่จะแก้ไขข้อมูลบัญชีธนาคาร เพื่อรับเงินเยียวยาในกรณีที่ผ่านการพิจารณา
ตอบ ให้ติดต่อไปที่ ธ.ก.ส. สาขาที่สะดวก โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0-2555-0555
7. ถ้าไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. แล้วจะดําเนินการอย่างไร
ตอบ 1. สามารถแจ้งได้ที่เว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com หากไม่สะดวกให้ติดต่อไปที่ ธ.ก.ส. สาขาที่ สะดวก โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เบอร์ 0-2555-0555
8. ลูกหลานเกษตรกรที่ถูกปฏิเสธจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน ซึ่งลงทะเบียนว่าเป็นเกษตรกร จะมีสิทธิรับเงินเยียวยาเกษตรกรนี้หรือไม่
ตอบ ลูกหลานเกษตรกรผู้นั้นต้องผ่านการพิจารณาตามหลักเกณณ์ ดังนี้ ต้องขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับ ขึ้นทะเบียนตามโครงการของกระทรวงเกษตรฯ ต้องไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ ไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม จึงจะได้สิทธิ์การเยียวยาเกษตรกร
9. เกษตรกรยังต้องใช้หลักฐานอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ตอนรับเงิน หรือว่าเงินจะเข้า บัญชีธนาคารของเกษตรกรโดยอัตโนมัติ
ตอบ หากเกษตรกรได้แจ้งหมายเลข บัญชีธนาคาร ในเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com ของ ธ.ก.ส. แล้ว และได้รับสิทธิ์การเยียวยาเกษตรกร โดยไม่ต้องใช้หลักฐานใดๆ เพิ่มเติม ซึ่งเงินเยียวยาจะโอนเข้าสู่บัญชีนั้นโดย อัตโนมัติ หากแจ้งหมายเลขบัญชีแล้วยังไม่มีการโอนเงินเข้า ให้ติดต่อกับ ธ.ก.ส. โดยตรงเพื่อดําเนินการแก้ไข หมายเลขบัญชีให้ถูกต้อง
10. กรณีเกษตรกรที่ต้องการสละสิทธิ์ อาทิ วุฒิสมาชิก จะต้องดําเนินการอย่างไร
ตอบ สามารถทําได้โดย ทําหนังสือแจ้งมายังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอีกช่องทางได้แก่การขอสละ สิทธิ์ทางเว็บไซต์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กําลังพัฒนา)
11.กรณีผู้รับจ้างกรีดยาง จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
ตอบ จะได้ในรอบที่ 2 โดยผู้รับจ้างกรีดยางผู้นั้น ต้องได้ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานของการยางแห่ง ประเทศไทย (กยท.) ทั้งนี้ขอให้ไปติดต่อสอบถามรายชื่อได้ที่หน่วยงาน กยท. ในพื้นที่
12. ครัวเรือนเกษตรกรสมาชิก 5 คน พ่อขึ้นทะเบียนเกษตรกร ลูกมีอาชีพเสริมเป็นหมอนวดรับเงินโครงการเราไม่ทิ้งกันแล้ว หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นเกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
ตอบ ได้รับสิทธิ์ เนื่องจากโครงการฯ จะให้สิทธิ์เยียวยาแก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่กําหนด
13. กรณีพ่อขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมเกษตร(ด้านพืช) และลูกชายเลี้ยงโค 5 ตัว ไปขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์จะได้สิทธิ์เยียวยาหรือไม่
ตอบ กรณีนี้ ทั้งพ่อ และลูกชายจะได้สิทธิ์เยียวยา ทั้งนี้ทั้งสองต้องไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้ง กัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ ไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม
14. เกษตรกรที่ได้เงินรอบแรกนี้มีหลักเกณฑ์อะไร.รอบต่อๆ ไป ใช้หลักเกณฑ์อะไรและจะได้เมื่อไร
ตอบ จะใช้หลักเกณฑ์เดียวกันคือ ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่กําหนด ต้องไม่ได้รับสิทธิ์ เยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม โดยจะได้ในรอบ แรกวันที่ 15พฤษภาคม 2563
15. เกษตรกรที่ได้รับเงินเยียวยานี้แล้ว ยังมีสิทธิได้รับเงินชดเชยอื่นๆ อีกหรือไม่ เช่น ชดเชยภัยแล้ง ชดเชยรายได้
ตอบ เกษตรกรยังได้รับสิทธิเงินชดเชยอื่นได้ตามเงื่อนไขที่กําหนดเช่นเดิม
16. หัวหน้าครัวเรือน ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ มีสมาชิกในครัวเรือน ทํางานราชการ รับจ้าง เป็นพ่อค้า แม่ค้า จะมีสิทธิ์
ได้รับเงินเยียวยา หรือไม่ ตอบ หัวหน้าครัวเรือนรายนี้ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา ทั้งนี้ต้องไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการเราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม
17. กรณีครัวเรือนเกษตรกร มีสมาชิกที่ได้รับเงินในโครงการเราไม่ทิ้งกันแล้ว หัวหน้าครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียน
เกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่ครับ ตอบ กรณีนี้ หัวหน้าครัวเรือนยังได้รับเงินเยียวยา หากตัวหัวหน้าครัวเรือนไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยาในโครงการ เราไม่ทิ้งกัน และไม่เป็นผู้ได้รับบํานาญ และไม่เป็นผู้ได้สิทธิ์ประกันสังคม
18. กรณี กลุ่มที่ไปปรับปรุงทะเบียน หรือขึ้นทะเบียนใหม่ ไม่มีเอกสารสิทธิ์ จะได้รับเงินเยียวยา หรือไม่ เพราะ กลุ่มแรกที่มีทะเบียนเกษตรกรและมีการ update แล้ว ปี 62 ปี 63 ไม่มีเอกสารสิทธิ ได้รับการเยียวยา
ตอบ เกษตรกรที่ไปปรับปรุงทะเบียน หรือขึ้นทะเบียนใหม่ หลังจากวันที่ 30 เมษายน 2563 จะถูกจัดเป็นเกษตรกรที่ดําเนินการในพื้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย
19. โดนตัดสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน เพราะเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรกร / สมาชิกที่ช่วยทําเกษตร แต่พอมาเช็คสิทธิเยียวยาเกษตร แล้วไม่มีรายชื่อ จะต้องทําอย่างไร
ตอบ ให้อุทธรณ์ตามช่องทางที่ภาครัฐจัดให้
20. การแจ้งข้อมูลเท็จ มีความผิดหรือไม่
ตอบ ในทะเบียนเกษตรกร ถือเป็นความผิดทางอาญา ตามมาตรา 137 และ มาตรา 267 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทําให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทําการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือ เอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สําหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือ ประชาชน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ล่าสุดมีรายงานข่าวว่าในวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จะส่งบัญชีรายชื่อทะเบียนเกษตรกรที่ตรวจสอบความซ้ำซ้อนการรับเงินเยียวยาจากมาตรการอื่นของรัฐบาลเรียบร้อยแล้วให้ธ.ก.ส.โอนเงินเยียวยาเพิ่มเติมอีก 3.4 ล้านราย
ขอบคุณข้อมูล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์