เป็นเรื่อง หลังจากที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ลงนามประกาศ เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2563 เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่4 ที่กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่6) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคา 2563 กำหนดให้วัตถุอันตรายคลอร์ไพริฟอส,คลอร์ไพริฟอส-เมทิล พาราควอต,พาราควอตไดคลอไรด์ และ พาราควอต หรือพาราควอดเมโทซัลเฟต ที่กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบอันตรายชนิดที่4 นั้น
นายมนัส พุทธรัตน์ ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เมื่ออธิบดีกรมวิชาการเกษตรลงนามแล้ว ในข้อ 5 ที่เกษตรกรต้องปฏิบัติ ต้องส่งมอบคืนวัตถุอันตรายแก่ผู้ขายที่ตนซื้อมาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2563 (ไม่เกินวันที่ 29 ส.ค.2563) ปัจจุบันเกษตรกรได้ซื้อเตรียมไว้แล้วเพื่อใช้ในฤดูนี้ หากคืนกลับไปเกษตรกรจะใช้อะไร เครื่องไม้เครื่องมือ ก็ไม่มีให้เลย มองว่ายังไม่ชัดเจน แม้กระทั่งเรื่องสารทดแทน
“ผมเชื่อว่าเกษตรกรยังใช้ไม่หมดที่ซื้อมาแล้ว จะทำอย่างไรหากมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็กลัวสารวัตรเกษตรจะเข้ามาค้น และตรวจสอบ จะบังคับให้คืนบริษัท โดยไม่คำนึงเลยว่าเกษตรกรเป็นคนซื้อมาเป็นคนเสียเงิน ส่วนในของบริษัท ก็ให้เป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำลายเอง แต่อย่าลืมกรมวิชาการเกษตร อนุญาตให้เข้ามาขาย แต่พอจะแบนก็ปฎิเสธความรับผิดชอบ ตั้งคำถามว่าทำถูกต้องหรือไม่ ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุด จะแบนอย่างน้อยขอให้เกษตรกรใช้ให้หมด แล้ว จะจบสวยกว่า ซึ่งก็จะขอความเมตตาจากศาลปกครองกลางให้ไต่สวนฉุกเฉินกรณีพิเศษ สั่งคุ้มครองชั่วคราวการแบน 2 สารเคมี ในวันพรุ่งนี้ เวลา 9.00 น. ที่ศาลปกครองกลาง แจ้งวัฒนะ”
ด้านสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ได้โพสต์ การเปรียบเทียบโทษปรับและจำคุกระหว่างยาเสพติดประเภท 1 เช่น เฮโรอีน ยาบ้าไว้ในครอบครอง โทษจำคุก 1-10 ปี หรือปรับสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าใครมีพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสในครอบครอง หลังวันที่ 1 มิ.ย. 63 จำคุก 10 ปี ปรับ 1 ล้านบาท สรุปโทษที่มี 2 สารเคมีหลังแบนโทษหนักสุดกว่ายาเสพติด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
1.ราชกิจจาฯ ประกาศแบน “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส” 1 มิ.ย.