www.เยียวยาเกษตรกร.com เช็กสถานะด่วน โอนเงินเพิ่ม 5.2 หมื่นราย 26 มิ.ย.

24 มิ.ย. 2563 | 16:20 น.
อัปเดตล่าสุด :25 มิ.ย. 2563 | 11:26 น.

"เยียวยาเกษตรกร" ธ.ก.ส. โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์วันที่ 26 มิถนายนนี้ อีกประมาณ 5.2 หมื่นราย ตรวจสอบถานะผลการโอนเงินที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com

ความคืบหน้ามาตรการเยียวยาเกษตรกร โครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร(ธ.ก.ส.) แจ้งงดโอนเงินเยียวยาให้กับผู้ได้รับสิทธิ์กลุ่มตกค้างในวันที่ 25 มิถุนายน 2563 อีก 1 วัน หลังจากนั้นในวันที่ 26 มิถุนายน 2563 ธ.ก.ส. จะโอนเงินให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ที่มีบัญชีต่างธนาคาร รอบที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2563 อีกประมาณ 52,000 ราย 

อย่างไรก็ตามจากขอมูลของธ.ก.ส. ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2563 มีเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์แต่ยังไม่สามารถโอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีเกษตรกรได้ 2 กลุ่มกว่า 1.7 แสนราย ประกอบด้วย 

  • เกษตรกรที่แจ้งบัญชีธนาคารอื่นที่อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบบัญชี 47,519 ราย 
  • กษตรกรที่ไม่สามารถโอนเงินเยียวยาได้ เนื่องจากไม่พบบัญชีหรือยังไม่ได้แจ้งบัญชีมาที่ธ.ก.ส. 139,668 ราย

เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มสามารถแจ้งเลขที่บัญชี และตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com

เมื่อวันที 23 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา เกษตรกรที่กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ แจ้งว่ามีเกษตรกรที่ธ.ก.ส.ไม่สามารถจ่ายเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์รับเงินเยียวยากว่า 7.4 หมื่นราย เนื่องจากเกษตรกรเสียชีวิต เลขประจำตัวประชาชนผิด เลขประจำตัวประชาชนถูกจำหน่ายหรือยกเลิก ไม่พบบัญชีธนาคาร หรือบัญชีธนาคารไม่สมบูรณ์ จึงขอให้เกษตรกรเร่งตรวจสอบรายชื่อที่สำนักงานเกษตรอำเภอปิดประกาศในชุมชนและติดต่อขอแก้ไขข้อมูล

นอกจากนี้ยังมีรายชื่อเกษตรกรที่ธ.ก.ส.ส่งคืนข้อมูลให้กระทรวงเกษตรกร ตรวจสอบสถานะเพิ่มเติ่ม 132,905 ราย(ไม่รวมข้าราชการอีก 91,426 ราย) 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำหรับมาตรการเยียวยาเกษตรกร มีเป้าหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรตามกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ จำนวนไม่เกิน 10 ล้านราย วงเงินรวมไม่เกิน 150,000 ล้านบาท เกษตรกรที่ได้รับความช่วยเหลือในมาตรการนี้ จะได้รับเงินจ่ายตรงเดือนละ 5,000 บาทตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2563  รวม  15,000 บาทต่อราย ซึ่งจะช่วยให้มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพในช่วงภาวะวิกฤติ และมีความจําเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มเติม สภาพคล่องทางเศรษฐกิจ และป้องกันการเกิดปัญหาทางสังคมที่อาจจะตามมา