27 มิถุนายน 2563 ความคืบหน้ามาตรการเยียวยาเกษตรกร โครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ล่าสุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร(ธ.ก.ส.) ยังทยอยโอนเงินให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท รอบที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2563 อย่างต่อเนื่อง
จากการตรวจสอบล่าสุดพบว่ามีเกษตรกรที่ได้รับการโอนเงินในงวดที่ 1 ไปแล้ว และอยู่ระหว่างรอการโอนเงินในงวดที่ 2 ประมาณ 65,000 ราย วงเงินประมาณ 325 ล้านบาท จากจำนวนเกษตรกรที่ได้รับการโอนเงินในงวดที่ 1 ทั้งสิ้น 7,272614 ราย วงเงิน 36,363.07 ล้านบาท ล่าสุด ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2563 ธ.ก.ส.แจ้งว่าได้โอนเงินงวดที่ 2 ไปแล้วทั้งสิ้น 7,207,677 ราย จำนวนเงิน 36,038.39 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่เกษตรกรตามรายชื่อที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งมาให้ธ.ก.ส.ยังไม่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีได้ มีจำนวน 342,464 ราย ใน 4 กลุ่มดังนี้
เกษตรกรทั้ง 4 กลุ่มที่มีปัญหาหากธ.ก.ส.ได้รับข้อมูลยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าเป็นผู้ได้รับสิทธิ์รับเงินเยียวยา ทางธ.ก.ส.ก็จะทยอยโอนเงินเข้าบัญชีโดยทันที
นับตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2563 ธ.ก.ส.โอนเงินเยียวยาให้เกษตรกรไปแล้ว 72,401.46 ล้านบาท แบ่งเป็นการโอนเงินในงวดที่ 1 จำนวน 36,363.07 ล้านบาท และการโอนเงินในงวดที่ 2 อีก 36,038.39 ล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าการยื่นอุทธรณ์สิทธิ์ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ ได้แจ้งผลการอุทธรณ์สิทธิ์ให้กับเกษตรกรหลายรายที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้ได้รับสิทธิ์เงินเยียวยาเกษตรกร สามารถเข้าไปตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่ www.moac.go.th จากนั้นคลิกที่เมนู ตรวจสอบสถานะอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกรฯ หากเกษตรกรที่ผ่านการพิจารณาให้ได้รับสิทธิ์รับเงินเยียวยาจะขึ้นข้อความ "ได้รับสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร"
หลังจากนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะส่งรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการอุทธรณ์ให้ธ.ก.ส.เพื่อโอนเงินเยียวยาต่อไป สามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินได้ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com
สำหรับมาตรการเยียวยาเกษตรกร มีเป้าหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรตามกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ จำนวนไม่เกิน 10 ล้านราย วงเงินรวมไม่เกิน 150,000 ล้านบาท เกษตรกรที่ได้รับความช่วยเหลือในมาตรการนี้ จะได้รับเงินจ่ายตรงเดือนละ 5,000 บาทตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2563 รวม 15,000 บาทต่อราย ซึ่งจะช่วยให้มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพในช่วงภาวะวิกฤติ และมีความจําเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มเติม สภาพคล่องทางเศรษฐกิจ และป้องกันการเกิดปัญหาทางสังคมที่อาจจะตามม