นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ระหว่างรอผลหน้าห้องประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงนโยบายประกันรายได้เฟส2 รวมถึงการเห็นชอบจ่ายประกันรายได้เฟส1 ยังมีคนตกค้าง กำลังรอลุ้นอยู่ เช่นเดียวกับชาวสวนที่กำลังรอฟังข่าวใจจดจ่อในขณะนี้ ซึ่งการต่อโครงการประกันรายได้ระยะ2 หรือเฟส2 มีปัจจัยส่งผลดีที่เชื่อว่าจะทำให้รัฐบาลจ่ายน้อยมากเป็นหมื่นล้านบาท สาเหตุที่ราคายางโงหัวขึ้นกว่า 10 บาท ในช่วงนี้ก็เพราะความต้องการมีมากกว่าผลผลิตที่มีไม่เพียงพอ ซึ่งมีปัจจัยบวก อาทิ ธุรกิจยางล้อรถในประเทศจีนกลับมาเปิดเต็มกำลัง100%
“ถุงมือยาง” มีความต้องการใช้น้ำยางข้นเพิ่มขึ้นอีก อีกด้านพ่อค้าเร่งซื้อส่งมอบยางให้ลูกค้าเพิ่ม และที่สำคัญนโยบายรัฐบาลเพิ่มการใช้ยางในประเทศ ตอนนี้ก็เริ่มเดินหน้าโครงการแล้ว โปรเจ็กต์ “แบริเออร์-เสาหลักนำทางยางพารา” ของกระทรวงคมนาคม ในสัปดาห์หน้า ครม.สัญจร จะลงไปภาคตะวันออก ทางนายกรัฐมนตรีก็จะไปติดตามและลงพื้นที่ในส่วนของสหกรณ์ที่ดำเนินโครงการนี้ด้วย ประกอบกับผู้คนกลัวเรื่องไวรัสโควิด หันกลับมาใช้รถส่วนตัวมากขึ้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ราคายางพาราเห็นสัญญาณเด่นชัดว่าดีขึ้นแล้ว จะดีต่อไปเรื่อยๆ
นายณกรณ์ กล่าวว่า จากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จึงทำให้ราคายางพารา 3 ชนิด ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2563 ได้แก่ น้ำยางสด ราคา 43 บาท/กิโลกรัม ยางแผ่นดิบ 46.05 บาท/กิโลกรัม ยางแผ่นรมควันชั้น3 ราคา 48.70 บาท/กิโลกรัม ขยับพุ่งพรวดทุบสถิติในรอบ 8 เดือน ราคาดังกล่าวนี้ไม่รอมีโครงการต่อเนื่อง อาทิ โครงการใช้ยางพารานำไปใช้ในการแก้ปัญหาภัยแล้ง อาทิ บ่อน้ำเคลือบยางพารา เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงและรายได้ในอาชีพชาวสวนยาง
สถานการณ์ราคายาง ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2563