รายงานข่าวจากกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่อ้างหนังสือตามการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า บริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด ขออุทธรณ์ผลการประกาศผู้ชนะการเสนอราคาตามประกาศ รฟท. และเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้าง โครงการความร่วมมือแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในโครงการ พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมภูมิภาค (รถไฟไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1( ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ นั้น ขณะนี้ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ได้พิจารณาคำอุทธรณ์และมีความเห็น ดังนี้
สำหรับผู้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน ตามเอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ และขอบเขตของงานทีโออาร์ รวมถึงเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ซึ่งกรณีนี้สอดคล้องกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการที่ได้พิจารณาอุทธรณ์ประกวดราคาจ้างก่อสร้าง โครงการความร่วมมือแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในโครงการ พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1( ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) สัญญาที่3-4 งานโยธา ช่วงลำตะคอง-สีคิ้วและช่วงกุดจิก-โคกกรวด ในประเด็นเรื่องคุณสมบัติของผู้อุทธรณ์ ว่าผู้อุทธรณ์ มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วน ตามเอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์และทีโออาร์ เมื่อผู้อุทธรณ์ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดในโครงการนี้ ผู้อุทธรณ์จึงได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ชนะการเสนอราคา
ขณะเดียวกันประเด็นดังกล่าวมีการพิจารณาแล้ว เห็นว่า ตามเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์กำหนดให้ ผู้ยื่นข้อเสนอต้องเสนอในรูปแบบกิจการร่วมค้าที่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน และการเสนอราคา ให้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า ส่วนคุณสมบัติด้านงานก่อสร้าง กำหนดให้กิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ โดยสมาชิกทุกรายที่รวมตัวกันเป็นกิจการร่วมค้าต้องเป็นนิติบุคคลใหม่และนิติบุคคลไทยรายเดียว หรือมากกว่า 1 รายรวมกัน และต้องมีสัดส่วนมูลค่าหุ้น เป็นทุนมากกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมดในกิจการร่วมค้า และต้องมีสัดส่วนร้อยละ 50 ตลอดระยะเวลาโครงการ โดยการยื่นเอกสารการประกวดราคาจะต้องยื่นเอกสาร ข้อตกลงร่วมกันสำหรับเป็นกิจการร่วมค้า ซึ่งต้องชี้ชัดถึงสัดส่วนการถือหุ้น ของแต่ละนิติบุคคลในกลุ่ม และต้องระบุทุกรายด้วยว่า สมาชิกทุกรายของกลุ่มกิจการร่วมค้า ยินยอมและรับผิดชอบ หน้าที่แทนกัน ต่อรฟท.ในทุกกรณี มิฉะนั้น รฟท. จะไม่รับพิจารณา ข้อเสนอผู้ประสงค์จะเสนอราคารายนั้น
ด้านรฟท.พิจารณาและเห็นว่า บริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด (ผู้อุทธรณ์) ได้ยื่นข้อเสนอในนามกิจการร่วมค้า และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ โดยการที่นายชาตรี เขมาวชิรา เป็นบุคคลธรรมดา และเป็นสมาชิกรวมตัวเข้าก่อตั้งบริษัท บีพีเอ็นพีจำกัด จึงมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ตามเงื่อนไข เอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ จึงตัดสิทธิ์ผู้อุทธรณ์ แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่เห็นด้วยเนื่องจาก ประเด็นพิจารณาตัดสินผู้อุทธรณ์. คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการวินิจฉัย) ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ถึงข้อหารือ คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ ในนามกิจการร่วมค้าและผลงาน รวมทั้งแนวทางปฏิบัติผู้ยื่นข้อเสนอดังกล่าว ประกอบกับ รฟท.ได้ยื่นหนังสือถึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้มีการตอบกลับหนังสือถึงข้อหารือดังกล่าวว่า กรณีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทจำกัด ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด โดย โดยบุคคลธรรมดาที่จะเริ่มก่อตั้ง ต้องมี 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ นำความยื่นขอจดทะเบียน และดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด
ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่สอดคล้องในการดับจดทะเบียนนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อรฟท. จึงอนุมัติขอยกเว้นการปฏิบัติตามหนังสือฉบับดังกล่าว ให้แก่บริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด เป็นการเฉพาะราย โดยบริษัทนี้ถือเป็นกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ ตามประกาศ รฟท. และเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้าง โครงการความร่วมมือแห่งราชอาณาจักรไทย และ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในโครงการ พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1( ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องพิจารณาให้เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน กับคณะกรรมการวินิจฉัยและไม่สามารถหยิบคุณสมบัติของบริษัทดังกล่าว มาพิจารณาตัดสิทธิ์อุทธรณ์ได้อีก
ส่วนกรณีผู้อุทธรณ์ได้ยื่นหนังสือรับรองเสนอผลงาน ตามเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์และทีโออาร์ ซึ่งมีการพิจารณาประเด็นนี้เห็นว่า. กำหนดให้กิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ให้แล้วเสร็จก่อนวันยื่นเอกสารการประกวดราคา และแนบเอกสารการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่มาด้วย โดยต้องมีผลงานก่อสร้างทางรถไฟและปลงานก่อสร้างงานโยธาที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท และต้องมีมูลค่างานก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 1106 ล้านบาท ซึ่งรฟท.พิจารณาเห็นแล้วว่าบริษัทฯ เป็นนิติบุคคลใหม่จึงยังไม่มีผลงานในการยื่นข้อเสนอ และหนังสือรับรองผลงานเป็นหนังสือรับรอง ของนิติบุคคลอื่นที่แยกต่างหากและไม่ได้ระบุมูลค่าที่ออกโดยของเจ้าของงาน รับรองแก่ผู้รับจ้างช่วง ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดจึงตัดสิทธิ์ผู้อุทธรณ์
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยเนื่องจาก การระบุชื่อหนังสือรับรองของผลงานนั้น คณะกรรมการวินิจฉัยได้ยกเว้นผู้อุทธรณ์ เป็นกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่สามารถนำผลงานของผู้ร่วมค้า ใช้เป็นผลงานการยื่นประกวดราคาได้ ขณะเดียวกันหนังสือรับรองผลงานโครงการเป็นบริษัทที่ก่อตั้ง ที่ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลังของรัฐบาลประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ ที่ได้ตั้งบริษัทดังกล่าวดำเนินการทั้งหมด พร้อมแนบเอกสารมูลค่าโครงการ 218 ล้านริงกิตมาเลเซีย โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย 1,788 ล้านบาท ซึ่งหนังสือรับรองของผู้อุทธรณ์เป็นไปตามเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ โดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นหนังสือรับรองต่อบริษัท Prasarana Malaysia Berhad โดยรับรองว่าผู้อุทธรณ์ เป็นผู้รับจ้างช่วงและดำเนินโครงการเสร็จเรียบร้อย. กรณีนี้หนังสือรับรองจึงเป็นผลงานที่เชื่อถือได้ จึงเห็นควรให้รปภกลับไปดำเนินการ ขั้นตอนการพิจารณาเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้องต่อไปตามมาตรา 119 วรรค2 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ. ศ. 2560