ชาวนาเฮ!  จ่ายส่วนต่าง ประกันรายได้ข้าว 16 พ.ย.นี้

11 พ.ย. 2563 | 07:34 น.
อัปเดตล่าสุด :11 พ.ย. 2563 | 08:45 น.

ชาวนาเตรียมรับเงินส่วนต่างประกันรายได้ข้าว 16 พ.ย.นี้ สูงสุดตันละ 2,900 บาท แล้วแต่ชนิดข้าว

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจา ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับราคาข้าวตกต่ำ ว่า รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยในสัปดาห์นี้กระทรวงพาณิชย์จะเชิญธนาคารพาณิชย์และแบงค์ชาติมาหารือในการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆในการปล่อยสินเชื่อให้กับโรงสีในการที่จะไปเร่งรับซื้อข้าวจากเกษตรกร   โดยคณะอนุกรรมการได้เคาะเงินส่วนต่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว รายได้ที่ประกันและเงินส่วนต่างที่เกษตรกรจะได้รับนั้น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ประกันรายได้ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 2,911 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ประกันรายได้ตันละ 14,000 บาท ส่วนต่างตันละ 2,137 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ประกันรายได้ตันละ 10,000 บาท ส่วนต่างตันละ 1,222 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ประกันรายได้ตันละ 11,000 บาทส่วนต่างตันละ 1,066 บาท ข้าวเหนียวประกันรายได้ตันละ 12,000 บาท ส่วนต่างตันละ 2,084 บาท

ชาวนาเฮ!  จ่ายส่วนต่าง  ประกันรายได้ข้าว 16 พ.ย.นี้

สำหรับการจ่ายเงินงวดแรกวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 จะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดรับเงินส่วนต่างสูงสุด ถ้าปลูกข้าวเปลือกหอมปทุมธานี จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 26,674 บาท ข้าวเหนียวจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 34,199 บาท และข้าวหอมมะลิจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 40,756 บาท ต่อครัวเรือนจะเป็นตัวช่วยจากนโยบายประกันรายได้ของรัฐบาล

ชาวนาเฮ!  จ่ายส่วนต่าง  ประกันรายได้ข้าว 16 พ.ย.นี้

 

ชาวนาเฮ!  จ่ายส่วนต่าง  ประกันรายได้ข้าว 16 พ.ย.นี้

นอกจากนี้รัฐบาลมีเงินช่วยพิเศษสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เรียกว่า เงินค่าพัฒนาคุณภาพข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ จะได้รับครัวละไม่เกิน 20,000 บาท โดยแบ่งเป็น 2 งวด งวดที่ 1 ได้รับ 500 บาท งวดต่อไป 500 บาทจะช่วยชาวนาเพื่อลดปัญหารายได้ลดลงถ้าอยู่ในช่วงที่ราคาข้าวตกต่ำ ส่วนมาตรการระยะยาวรัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการเข้าไปดูแลเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยใช้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย  5 ปี ตั้งแต่ปี 63-67โดยยุทธศาสตร์ข้าวกำหนดยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์ไว้ชัดเจนว่า ใน 5 ปีเราจะทำให้ไทยเป็นผู้นำการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลกโดยเน้นข้าว 7 ชนิด ประกอบด้วยข้าวหอมมะลิข้าวหอมไทย ข้าวขาวพื้นนุ่ม ข้าวขาวพื้นแข็ง ข้าวนึ่ง ข้าวเหนียว ข้าวสี และข้าวคุณลักษณะพิเศษ โดยเน้นตลาด 3 ตลาดคือ ตลาดพรีเมียม ตลาดทั่วไปและตลาดเฉพาะ และที่สำคัญถ้าการผลิตมีเป้าหมายชัดเจนใน 5 ปี จะลดต้นทุนการผลิตให้ข้าวจากไร่ละ 6,000 บาท เป็นไม่เกิน 3,000 บาทต่อไร่ และจะมีเป้าหมายเพิ่มผลผลิตจากไร่ละ 465 กิโลกรัม เป็นไร่ละ 600 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนช่วยให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น และจะมุ่งเน้นในการเพิ่มพันธุ์ข้าวใหม่ให้ได้ 12 พันธุ์ ภายใน 5 ปี และมุ่งเน้นในการประกวดพันธุ์ข้าวไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้งเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและการวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ไปแข่งกับประเทศอื่นในตลาดโลกได้ต่อไป