เกษตรฯ ยกระดับ โรค ASF เตือนสูงสุด

13 พ.ย. 2563 | 11:45 น.

​​​​​​แม่ทัพเกษตรฯ ชงงบกว่าพันล้านบาท  ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ ยกระดับมาตรการ เตือนขั้นสูงสุด สกัดโรค ASF ไม่ให้เข้าไทย ต่อเนื่อง

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน

    

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแห่งชาติ ครั้งที่ 3 พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ และนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และหน่วยงานที่ เผยจากการประชุม ว่า จากสถานการณ์การเกิดโรค ASF ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่องเป็นวงกว้าง ปัจจุบันพบการระบาดของโรคแล้วกว่า 34 ประเทศทั่วโลก จากการสำรวจประเทศไทย (15 พ.ค. 63) มีสุกรจำนวน 12.99 ล้านตัว เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจำนวน 192,889 ราย ประเทศไทยแม้ปัจจุบันไม่มีรายงานการเกิดโรค แต่ยังคงมีความเสี่ยงสูงที่เชื้อจะเข้าสู่ประเทศ จึงต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง ติดตามสถานการณ์ แผนงานและผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 ร่วมป้องกัน ควบคุม และเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) สาระสำคัญ ดังนี้

 

เกษตรฯ ยกระดับ โรค ASF เตือนสูงสุด

 

1.เสนออนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เร่งด่วน เพื่อป้องกันโรค ASF อย่างเข้มงวดต่อเนื่อง ที่ประชุมเห็นชอบเสนอของบประมาณ 1,111.557 ล้านบาท 2. ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการยกระดับมาตรการป้องกันโรค ASF ในสุกรขั้นสูงสุด เช่น เข้มงวดการตรวจสอบนักท่องเที่ยวห้ามนำผลิตภัณฑ์จากสุกรเข้ามาในประเทศไทย การประชาสัมพันธ์ในความรู้เกี่ยวกับโรค การตรวจสอบและเฝ้าระวังข่าว การรับแจ้งโรค และการยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity system) 3. ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ลูกจ้างเหมาบริการตามโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ (Tambon Smart Team) ในการบันทึกข้อมูลและประสานงานด้านการเกษตรกรรมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ASF

 

 

เกษตรฯ ยกระดับ โรค ASF เตือนสูงสุด

 

4. แต่งตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาเพื่อติดตาม ประเมินสถานการณ์และกำหนดมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสม ที่ประชุมอนุมัติในหลักการและให้กรมปศุสัตว์ศึกษาโครงสร้างและขอบข่ายหน้าที่ภารกิจให้ชัดเจน และนำเสนอที่ประชุมครั้งหน้า ทั้งนี้ เพื่อป้องกัน ควบคุมโรค  ASF ไม่ให้เข้าสู่ประเทศไทย ให้ยกระดับมาตรการดำเนินการอย่างเข้มงวดทั้งด้านบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินงาน งบประมาณและบุคลากร เน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุกสร้างความตระหนักและการรับรู้ที่ถูกต้องทันสถานการณ์ ร่วมมือกันบูรณาการดำเนินงานทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้เป็นปีทองของการส่งออกสุกรและผลิตภัณฑ์ไทย สุกรและผลิตภัณฑ์สุกรของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ราคาสุกรหน้าฟาร์มของไทยปรับเพิ่มขึ้น ราคาชำแหละสุกรเพิ่มขึ้น การส่งออกเพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่มกราคม - ตุลาคม 2563 ทำให้ราคามูลค่าและปริมาณการส่งออกของสุกรและผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น สุกรมีชีวิตรวม 2.02 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 344.30% (13,674.08 ล้านบาท) เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์รวม 43,128.92 ตัน (5,161.32 ล้านบาท) สร้างรายได้ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการได้