เมื่อวันที่ 16 พ.ย.2563 ที่ผ่านมา กลุ่มชาวนา หลายกลุ่ม เริ่มที่จะเข้าไปถาม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ต่างก็ตั้งข้อสังเกตว่าทำไมเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว งวด2 ที่เคาะแล้วทำไมยังไม่มีใครได้เลย "ฐานเศรษฐกิจ" จึงได้สอบถามไปยังธก.ส.เพื่อตรวจสอบเงินประกันรายได้ข้าว ได้แจ้งความคืบหน้า ดังนี้
แหล่งข่าว ธ.ก.ส. เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ความคืบหน้าเงินส่วนต่างประกันราคาข้าว ธ.ก.ส.สำนักงานใหญ่จะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรทุกเช้าวันพฤหัสบดี ซึ่งกรมการค้าภายในจะประกาศราคาทุกวันจันทร์ โดยงวดแรกโอนวันที่ 16 พ.ย.2563 แต่งวดที่ 2 ตามกำหนดต้องโอนวันที่ 19 พ.ย. 2563 แต่ยังไม่สามารถโอนเงินประกันรายได้ข้าวให้เกษตรกรทั้งหมดได้ เนื่องจากเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. หลังจากโอนงวดที่ 1 ไปแล้ว คงเหลือไม่เพียงพอสำหรับเกษตรกรทั้งหมด และหากจะเลือกโอนบางชนิดพันธุ์ข้าว (ตามเงินงบประมาณที่เหลืออยู่)
"เกรงว่าจะเกิดข้อครหาเลือกปฏิบัติ จึงยังไม่กำหนดการโอนเงินในงวดที่ 2 โดย ธ.ก.ส.จะรอการจัดสรรเงินเพิ่มเติมก่อน ล่าสุด ทาง ธ.ก.ส.สำนักงานใหญ่ ได้แจ้งเรื่องนี้ไปยังกระทรวงพาณิชย์แล้ว ดังนั้น ทาง ธ.ก.ส.จะขอทำความเข้าความเข้าใจกับเกษตรกรที่ สอบถามเข้ามา ซึ่งมีจำนวนมาก"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลุ้น ครม.จ่ายเงินประกันรายได้ข้าว 4.88 หมื่นล้าน
เคาะ ประกันราคา “ข้าวหอมมะลิ” คว้าชดเชยส่วนต่าง สูงสุด 2 งวดซ้อน เฮง วันหวยออก
กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานโครงการประกันรายได้ข้าว มีเกษตรกรที่ส่งข้อมูลเก็บเกี่ยววันที่ 9-15 พ.ย.63 มีทั้งหมด 1.38 ล้านครัวเรือน โดยแบ่งเป็นข้าวหอมมะลิ 7.88 แสนครัวเรือน ข้าวเหนียว 5.8 แสนครัวเรือน ข้าวเจ้าหอมมะลิจังหวัด 1.05 แสนครัวเรือน ข้าวเจ้าอื่นๆ จำนวน 6.29 หมื่นครัวเรือน และข้าวเจ้าปทุมธานี1 จำนวน 9,204 ครัวเรือน
อนึ่ง วันที่ 16 พ.ย.2563 แหล่งข่าวคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงราคาเกณฑ์อ้างอิงจากราคาข้าวชนิดต่างๆ ย้อนหลัง 7 วันทำการ (5-13 พ.ย.63) เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่างตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 รอบ1 (งวด2) ให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ที่ระบุวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 9-15 พฤศจิกายน 2563 สำหรับข้าวเปลือกชนิดต่างๆ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
1.ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,003.03 บาท ได้รับชดเชย ตันละ 2,996.97 บาท
2.ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,727.04 บาท ได้รับการชดเชย ตันละ 2,272.96 บาท
3.ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 8,880.82บาท ได้รับการชดเชยตันละ 1,119 บาท
4.ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 9,939.84 บาท ได้รับการชดเชยตันละ 1,060 บาท
5.ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 10,688.99 บาท ได้รับการชดเชยตันละ 1,311.01 บาท