นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ เลขาธิการสมาคมโรงสีข้าวไทย ทำหน้าที่เป็นผู้แทนสมาคมเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ครั้งที่ 26/2563 เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สรุปที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) ยังไม่มีการพิจารณาในเรื่องนี้ คงจะต้องเป็นสัปดาห์หน้า คือ วันที่ 1 ธ.ค.63 ทาง ธ.ก.ส. ก็ยืนยันว่ามีเงินได้เตรียมไว้แล้ว 4.88 หมื่นล้านบาท แต่ไม่กล้าสำรองจ่าย ก่อนหน้านี้ แม้ว่า นบข.ได้มีการขออนุมัติ แต่ไปติด พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา28 ก็คือ เรื่องวินัยการเงิน กล่าวคือ เงินกู้ที่มีความผูกพันจ่ายจะต้องไม่เกิน30% ของงบประมาณ ของปี2564 คือกว่า 3 ล้านล้าน เงินกู้ที่ผูกพัน จะต้องไม่เกินกว่า 9 แสนล้านบาท คิดเป็น30% แต่วันนี้ทางด้านเทคนิคก็ต้องรอจังหวะว่ามีการคืนเงินกู้ หรือเป็นเงินกู้ใหม่ เงินประกันรายได้ข้าว จะต้องจัดขึ้นไปเป็นลำดับแรกที่จะต้องรอจ่ายเกษตรกรอยู่แล้ว
“ธ.ก.ส. ก็ชี้แจงว่า เนื่องจากว่าเงิน งวดที่ 1 จ่ายชดเชยไป 9,728 ล้านบาท เหลือเงินอยู่ กว่า 8,540 ล้านบาท งวดที่2 จะต้องจ่าย กว่า 1.4 หมื่นล้านบาท เงินมีแต่กรอบวงเงินไม่ได้ อย่างไรก็ดี นบข. เคยขอกรอบวงเงิน 2.3 หมื่นล้านบาท แต่โดน ครม.หั่นลงเหลืองบประมาณเบื้องต้น 18,096.06 ล้านบาท สาเหตุเพราะมีพืชตัวอื่นที่รัฐบาลใช้ในโครงการประกันรายได้ด้วย ดังนั้นเมื่อมีเงินประกันรายได้ข้าวเหลือแล้วไม่สามารถจ่ายได้ทั้งหมดจะใช้หลักเกณฑ์อะไรมาจ่าย และหากจะเลือกโอนบางชนิดพันธุ์ข้าว (ตามเงินงบประมาณที่เหลืออยู่) "เกรงว่าจะเกิดข้อครหาเลือกปฏิบัติ จึงยังไม่กำหนดการโอนเงินในงวดที่ 2 โดย ธ.ก.ส.จะรอการจัดสรรเงินเพิ่มเติมก่อน"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เตรียมเฮ “พาณิชย์”ชง ครม.ขยายกรอบเงินประกันราคาข้าวเพิ่ม 4.8 หมื่นล้าน
ตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตร จ่ายส่วนต่าง "ประกันราคาข้าว" งวด3 ล่าสุด
“เงินประกันรายได้ข้าว" งวด2 ธ.ก.ส. เลื่อนจ่าย ไม่มีกำหนด
ลุ้น ครม.จ่ายเงินประกันรายได้ข้าว 4.88 หมื่นล้าน
นายหัสดิน กล่าวว่า ในที่สุด ธ.ก.ส. ค้นหลักเกณฑ์เดิมเจอ ก็คือ จ่ายเงินประกันรายได้เท่าที่มีเงินเหลือ ซึ่งผลการคำนวณเงินที่เหลือ จะสามารถจ่ายได้สำหรับเกษตรกร ที่ระบุวันเก็บเกี่ยวเอาไว้ 9-14 พ.ย. (หลักเกณฑ์เดิม 9-15 พ.ย.) จะได้เงินกว่า 8,540 ล้านบาท ไปก่อน ในวันที่ 25 พ.ย.นี้ ซึ่ง ผมเข้าใจว่า ธ.ก.ส.เองก็พยายามที่จะแก้ปัญหาให้เกษตรกรให้ได้ดีที่สุด เพราะเวลาจะจ่ายจะต้องมีช่องว่าของวินัยการเงิน หากมีช่องว่างเมื่อไรก็สามารถที่จะอนุมัติจ่ายได้ เพราะฉะนั้นงวดแรกจะมีประเด็นจ่ายขาดจ่ายเกิน คือ คนที่จ่ายขาด ก็จ่ายครบหมดแล้ว ส่วนคนที่จ่ายเกินไป ธ.ก.ส.ก็กำลังเร่งรัดขอเงินคืน ส่วนของคนที่งวดแรกที่ยังไม่ได้จ่ายเงิน สำหรับเกษตรกร แจ้งข้าวเป็น 2 ชนิด แล้วชนิดที่ 2 เข้างวดที่2 จะจ่ายให้หมด
“ในกรณีถ้าปลูกข้าว 2 ชนิด จะได้เงินในงวดสุดท้าย ในกรณีถ้าปลูกข้าว 3 ชนิด แจ้งการเก็บเกี่ยว จะจ่ายเป็นงวดสุดท้าย เกษตรกรบางรายยังไม่ได้รับเงินเพราะปลูกข้าว 2 ชนิด หรือ 3 ชนิด ทำให้ยังไม่ได้รับเงิน ซึ่งเกษตรกรจะต้องมาได้ในงวดที่2 เพราะฉะนั้นคนที่ตกค้างของงวดแรก ก็น่าจะได้ในงวดนี้บางส่วน ยกเว้นคนที่แจ้งปลูกข้าวในงวดที่3 ซึ่งในงวดที่3 จะต้องรอ ครม.อนุมัติ ในวันที่ 1 ธ.ค.63”
อย่างไรก็ดี เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ชาวนา สามารถตรวจสอบสถานะการโอนเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว แบบอัพเดทได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ https://chongkho.inbaac.com/