ความคืบหน้า โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี2 ยังมีเกษตรกร ชาวนา หลายคนที่ปลูกข้าวในพื้นที่นา ตั้งแต่ 2 ชนิด ขึ้นไปเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 ตุลาคม 2563 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 นั้น หลายคนบ่น ว่าทำไมยังไม่ได้เงิน ทั้งที่มีแปลงที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว ในรอบ1 และรอบ2 ขณะที่ รอบ3 (รอที่ประชุมครม.เห็นชอบ 1 ธ.ค. งบ 4.88 หมื่นล้านบาท)
แหล่งข่าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” จากกรณีที่มีเกษตรกรที่แจ้งปลูกข้าว 2 ชนิด และแจ้งวันเก็บเกี่ยวข้าวไม่พร้อมกัน ในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว อาจจะรอบที่1 เก็บเกี่ยวไปแล้ว แต่ในข้าวชนิดที่ 2 หรือ ชนิดที่3 ยังไม่เก็บเกี่ยว ธ.ก.ส. ยังไม่ได้โอนเงินให้ เนื่องจากสิทธิ์ที่ได้รับเงินชดเชยส่วนต่าง จะต้องไม่เกินปริมาณที่รัฐบาลจำกัดจำนวนข้าวในแต่ละชนิด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เฮลั่น ธ.ก.ส. นัดโอน “เงินช่วยชาวนา" ไร่ละ 500 รับสูงสุด 10,000 บาท 1 ธ.ค.นี้
โดยในแต่ละชนิดข้าวมีเงื่อนไขการกำหนดเพดานด้วย ใน 5 ชนิดข้าว ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันรายได้ 15,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ,ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกัน 14,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน,ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันรายได้ 10,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน, ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันรายได้ 11,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน, ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกัน12,000 บาท/ตัน ครัวงเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
"ยกตัวอย่าง ชาวนาแจ้งวันเกี่ยวข้าวรอบที่ 1 เป็นข้าวหอมมะลิ มีเพดานที่ 14 ตัน ส่วนชนิดที่ 2 เป็นข้าวหอมปทุมธานี มีเพดาน 25 ตัน หากชาวนาเกี่ยวไปแล้วเป็นข้าวหอมปทุมธานี หาก ธ.ก.ส.จ่ายไปก่อน เกรงว่าชาวนาจะเสียสิทธิ์และ เสียโอกาสไป ดังนั้นเมื่อชาวนาเก็บเกี่ยวรอบ2 แล้ว ทาง ธ.ก.ส.จะมาดูสิทธิ์ ดูราคาประกัน ว่าชนิดใดจ่ายส่วนต่างมากที่สุด ก็จะโอนส่วนต่างชนิดนั้นให้กับชาวนา ดังนั้นชาวนาในกลุ่มนี้ อดใจรอนิดหนึ่ง"
ทางกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ส่งผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 รับทราบผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวน 4,576,586 ครัวเรือน เนื้อที่ปลูก 60,817,850.83 ไร่
เกษตรกรสามารถตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตรกรผ่าน chongkho.inbaac.com ที่เมนู “ตรวจสอบผลการรับการสนับสนุนตามโครงการรัฐ” ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่เปิดขึ้นมาให้เกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานของรัฐเรียบร้อยแล้ว เข้าไปตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตรกรของรัฐบาลว่าท่านมีสิทธิได้รับเงิน และมีการโอนเงินเข้าบัญชีแล้วหรือไม่
วิธีตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตรกรผ่าน chongkho.inbaac.com มีขั้นตอนง่ายๆดังนี้
1.เข้าไปที่ chongkho.inbaac.com
2. กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เสร็จแล้วกดค้นหา
3. กรณีเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้ หากได้รับการโอนเงินแล้วระบบจะมีการแจ้งว่าโอนเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการระบุชื่อโครงการประกันรายได้เกษตรกรที่ท่านได้รับสิทธิ์ /เลขที่บัญชี /วันที่โอน /สาขาธกส. / พร้อมระบุ สถานะ สำเร็จ
แต่ถ้ายังไม่ได้รับการโอนเงินประกันรายได้เกษตรกร ระบบจะขึ้นข้อมูลว่าอยู่ระหว่างดำเนินการ ต้องรอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งข้อมูลเกษตรกรรายได้มาให้ธ.ก.ส.ก่อน เมื่อได้รับข้อมูลแล้ว ธ.ก.ส.จะทำการโอนเงินประกันรายได้ให้ภายใน 3 วันทำการ
อย่างไรก็ตามการตรวจสอบเงินประกันรายได้เกษตรกรผ่าน chongkho.inbaac.com หากไม่ใช่เกษตรกรจะขึ้นข้อความ ไม่พบข้อมูลการขึ้นทะเบียน โปรดติดต่อหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียน ตามชนิดพืชที่ได้รับสิทธิ์ตามโครงการ
เกษตรกรยังสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินประกันราคาข้าวได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connec