ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาทป็นการชั่วคราวเทียบจากเดิมต้องเก็บเต็มราคาในอัตรา158บาทตลอดสาย ซึ่งจะเริ่มจัดเก็บตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ เป็นต้นไปนั้น ขณะเดียวกันกทม.คำนวนออกมาแล้ว ไม่ทำให้เกิดการขาดทุน กรณีต้นทุนค่าใช้จ่ายค่าระบบกระแสไฟฟ้า ค่าจ้างพนักงาน ขบวนรถ ค่าซ่อมบำรุง ตลอดจนการอำนวยความสะดวกให้เกิดความปลอดภัยตลอดเส้นทาง ฯลฯ
รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด กรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ได้ เคาะราคาค่าโดยสารลง เหลือ 104บาท ช่วยประชาชนประหยัดเงินในกระเป๋า ลง54บาท ซึ่งกทม.จะมีผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท ต่อปี เมื่อนับรวมตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2572 ส่งผลให้มีผลขาดทุนประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท
สำหรับสาเหตุที่กทม.มีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท ชั่วคราวนั้น เนื่องจากปัจจุบันกทม.อยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งจะช่วยลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 104 บาทเป็น 65 บาท ลดลง 39 บาท และแก้ไขภาระหนี้สินกว่า 120,000 ล้านบาท ของกทม. ประกอบด้วย ภาระหนี้สินเดิมที่เกิดจากการรับโอนส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงสำโรง-เคหะฯ ทั้งนี้ส่วนเงินต้นค่างงานโยธา ประมาณ 55,000 ล้านบาท และภาระดอกเบี้ยในอนาคต ประมาณ 10,000 ล้านบาท ค่าลงทุนงานระบบใน E&M ในส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงสำโรง-เคหะฯ ประมาณ 20,000 ล้านบาท ภาระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถค้างจ่าย 9,000 ล้านบาท ทั้งนี้เอกชนต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหลังปี 2572 ให้กทม.อีกกว่า 200,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งเพิ่มเติมในกรณีที่ผลประกอบการจริงดีกว่าที่คาดการณ์ตอนเจรจา
“กทม.ยืนยันว่าภายใต้อำนาจ กทม.พยายามแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างดีที่สุด เพื่อลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด โดยกทม.จะอธิบายเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนต่อรัฐบาล เพื่อสามารถปรับอัตราค่าโดยสารของโครงการไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายลงทาเหลือ 65 บาทโดยเร็วที่สุด”
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากทม.ได้ศึกษาแนวทางการดำเนินการต่างๆ ซึ่งกทม.เห็นว่าแนวทางการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) เป็นแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุดในการแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้เอกชนเข้ามารับภาระหนี้ของกทม. สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระต่อประชาชนและให้ประชาชนได้รับการบริการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนกรุง เตรียมตัว ให้พร้อมอีก1เดือน จ่ายค่าตั๋วรถไฟฟ้า สายสีเขียว104บาท
คมนาคม หัก กทม.ชะลอขึ้นค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว104บาท
"รถไฟฟ้าสายสีเขียว" แพง 104 บาท "ศรีสุวรรณ" จี้คมนาคมรับผิดชอบ
เคาะแล้ว! ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดสาย 104 บาท เริ่มเก็บ 16 ก.พ.