คู่รักกังวลโควิด19 งดฉลองวาเลนไทน์​

10 ก.พ. 2564 | 07:02 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ก.พ. 2564 | 01:04 น.

ม.หอการค้าชี้ โควิด-19 คาดทำคู่รักงดฉลองวาเลนไทน์ ส่งผลให้มูลค่าใช้จ่ายลดต่ำลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดในรอบ25เดือน

นายธนวรรธน์​  พลวิชัย​   อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย​  เปิดเผยว่า​  ปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่ดีและการระบาดของโรคโควิต 19 ทำให้บรรยากาศเทศกาลวันวาเลนไทน์ไม่คึกคักคู่รักหลายคนไม่มีแผนที่จะฉลองวันวาเลนไทน์  ส่งผลให้มูลค่าใช้จ่ายลดต่ำลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงต่ำสุดรอบ 25  เดือน   โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเดือนมกราคม​2564 อยู่ที่​ 29.8  ลดลงจากเดือนธันวาคม​ 2563  ที่​ระดับ​  31.8​และต่ำสุดในรอบ​ 25​ เดือน​  ขณะที่ในอนาคตดัชนีฯอยู่ที่​ 37.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า​ ที่ 39.9

คู่รักกังวลโควิด19  งดฉลองวาเลนไทน์​

ปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นมาจากการล็อคดาวน์​  ในพื้นที่เสี่ยงซึ่งทำให้ธุรกิจหยุดชะงักและยังส่งผลต่อภาคธุรกิจอื่นๆ​ แล้วผู้บริโภคยังกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด​19 รอบใหม่ที่มีการระบาดเป็นวงกว้างและรวดเร็ว​ ทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก​ และการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยของ​สสค. ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.8  ประกอบกับระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้นและค่าเงินบาทที่แข็งค่าเล็กน้อย​ อยู่ที่​ 30.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ”

ทั้งนี้​ เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยบวกจากโครงการของรัฐทั้ง"โครงการคนละครึ่ง" "เราเที่ยวด้วยกัน"และ "เราชนะ"ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับตัวดีขึ้น ขณะเดียวกันภาคการส่งออก เดือนธันวาคม 2563 ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.71 อยู่ที่ 20,082 ล้านดอลลาร์สหรัฐ​ ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62  มีมูลค่าอยู่ที่ 19, 119 ล้านดอลลาร์สหรัฐส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 963 ล้านดอลลาร์สหรัฐ​

 

โดยเสนอว่า​ รัฐบาลต้องควบคุมสถานการณ์โรคโควิด19  ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจ รวมถึงเร่งออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายช่วยเหลือประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนของธุรกิจและเร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ​และกระตุ้นการท่องเที่ยวต่อเนื่อง​ โดยเน้นให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวแบบปลอดเชื้อ​ มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทางด้านค่าจ้างแรงงานที่ต้องหยุดกิจการ​ และหาแรงจูงใจในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มเติม

 

ส่วนผลสำรวจการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์​ จากจำนวน​ 1,234  คน​ ระหว่างวันที่​27 มกราคม​- 6​ กุมภาพันธ์​   2564 คาดว่าจะมีมูลค่าใช้จ่าย​2,560 ล้านบาท​ ลดลงร้อยละ​ 21.15 จากปีก่อน​  โดยมีการใช้จ่ายต่อคนอยู่ที่​ 1,306 บาท​  ซึ่งคู่รักส่วน ร้อยละ​57.1 ไม่วางแผนฉลองในวันวาเลนไทน์​ ส่งผลให้บรรยากาศการใช้จ่ายไม่คึกคัก​เนื่องจากผู้บริโภคอย่างกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลงการระบาดของโรคโควิต 19 กังวลเรื่องความปลอดภัย​ รายได้ลดลงและราคาสินค้าที่แพงขึ้น​ รวมถึงภัยธรรมชาติและฝุ่นละลอง​

 

นอกจากนี้​ ผลสำรวจยังพบว่าคู่รักในกลุ่มนักศึกษาและนักเรียนจะฉลองโดยการมีเพศสัมพันธ์​ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Gen Z และGen y เนื่องจากมีทัศนะต่อการมีเพศสัมพันธ์เห็นเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งมองว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องให้คำแนะนำในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร สนับสนุนการใช้จ่ายของและป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร​