นายสุนทร รักษ์รงค์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” นโยบายการผลิตยางของ "บริดจโตน" สวนทางกับ "นโยบายของรัฐบาลไทย" ซึ่งมีเป้าหมายต่างกัน นโยบายย่อมต่างกัน “ผู้ประกอบการ” เป้าหมายสูงสุด คือ "ผลกำไร" สูงสุด กลัววัตถุดิบยางขาดแคลน เลยชูนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางโดยการปลูกยางให้มีจำนวนต้นต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น
แต่ในการทำเกษตรเคมีเชิงเดี่ยว คือการ "ผูกคอเกษตรกร" ให้ติดกับดักต้นทุน ทั้งปุ๋ยและเคมี ผลลัพธ์คือเกษตรกรไทยมีหนี้สินล้นพ้นตัว สุขภาพย่ำแย่ นายทุนผูกขาดมักมีชุดความคิดแบบแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 2504 สมัย ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ซึ่งล้าสมัยไปแล้ว
การมีนโยบายเพิ่มจำนวนต้นยางต่อไร่ให้มากขึ้นของงบริดจโตน น เป็นความคิดที่โคตรล้าหลัง ไม่เคารพ Disruption หรือความเปลี่ยนแปลงของโลก และการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDG)ของ UN
นายสุนทร กล่าววว่า “สวนยางยั่งยืน” ที่ลดจำนวนต้นยางเหลือ 40-50 ต้น แต่น้ำยางเท่าเดิมหรือมากกว่า ด้วยการปลูกพืชร่วมยาง ปลูกต้นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ และทำเกษตรผสมผสาน ตามศาสตร์พระราชา คือคำตอบสุดท้าย
เพื่อปลดแอกชาวสวนยาง ให้หลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำและความยากจน รวมทั้งเป็นชุดความคิดใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ดีก็ต้องขอบคุณ “บริดจโตน” ที่ทำให้รู้ว่ากลัวยางขาดตลาด