คนแห่ตุนสินค้า หลัง กทม.สั่งปิดห้าง

21 มี.ค. 2563 | 07:49 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มิ.ย. 2564 | 11:45 น.

คนกรุงตื่น! แห่ตุนสินค้า หลังกทม.สั่งปิดห้าง 22 วัน ส่งผลสินค้าจำเป็นขาดแคลนหนัก ขณะที่ “ปิดตลาด-ตลาดนัด”  ไม่ใช่ทางออก ส่งผลกระทบพ่อค้า-แม่ค้า คนตกงาน

หลังจากที่คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ที่มีพลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั่งเป็นประธาน มีมติสั่งปิดสถานประกอบการตามมาตรา 35 พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เป็นระยะเวลา 22 วัน ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม – 12 เมษายน 2563 โดยหนึ่งในสถานที่เสี่ยงและต้องปิดให้บริการได้แก่  ห้างสรรพสินค้า  ยกแต่ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา หรือสินค้าเบ็ตเตล็ด ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ร้านอาหารให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น รวมถึงพื้นที่นั่งหรือยืนรับประทานอาหารในร้านสะดวกซื้อ   , ตลาดและตลาดนัด ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ เพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น อาหารสัตว์ ร้านขายยา และสินค้าเบ็ตเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ส่วนร้านอาหารให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น และร้านอาหารภายในโรงแรมที่ให้บริการเฉพาะผู้ที่พักอาศัยในโรงแรมเท่านั้น

  คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง     

นายสมชาย  พรรัตนเจริญ  นายกสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า การที่กทม. สั่งปิดห้างตามที่ระบุข้างต้น ปัญหาใหญ่ที่จะตามมาคือ คนจะแตกตื่น ตระหนกเรื่องของสินค้า ทำให้รีบไปซื้อกักตุน ทั้งสินค้าสำเร็จรูปและจำเป็นต่อการใช้ชีวิต และส่งผลให้สินค้าขาดแคลน โดยเฉพาะแบรนด์ดังๆ ขณะที่การปิดตลาดและตลาดนัด ซึ่งเป็นสถานที่เปิดโล่ง ไม่ใช่การแก้ปัญหา แต่ในทางตรงข้ามเป็นการกีดกันและทำให้เศรษฐกิจยิ่งแย่ลง เพราะทุกวันนี้พ่อค้าแม่ค้าก็ขายไม่ดี คนที่ตกงาน ก็หันไปขายของกันหมด เมื่อถูกปิดก็เท่ากับตกงานอีกรอบ หาอาชีพทำไม่ได้ แตกต่างกับร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นร้านแบบปิด ติดแอร์ ซึ่งยังให้เปิดบริการอยู่ ก็ต้องมีมาตรการที่เข้มงวด เพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อซึ่งมีชีวิตอยู่ได้ 3-4วัน               

 

“การประกาศปิดห้างวันนี้ จะทำให้คนแตกตื่นไปซื้อสินค้า เกิดการกักตุนแน่ แม้จะให้ซูเปอร์มาร์เก็ตเปิด แต่ซูเปอร์ฯส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้าง เชื่อว่าจะทำให้สินค้าขาดแคลนแน่นอนโดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการยังชีพ อีกทั้งที่ผ่านมาจำนวนคนที่ไปเดินห้างลดลงอย่างมากห้างก็แย่อยู่แล้ว ส่วนการปิดตลาดและตลาดนัด ซึ่งเป็นสถานที่เปิดโล่ง ไม่มีลิฟท์ ไม่มีบันไดเลื่อน ไม่มีจุดสัมผัส ทำให้เกิดการแพร่เชื้อ แตกต่างกับห้างหรือร้านสะดวกซื้อ แทนที่จะแก้ปัญหาด้วยการปิด ควรจะจัดระเบียบเรื่องของการตั้งร้านให้ห่าง 2 เมตร และมีการทำความสะอาดดีกว่า”

คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง

อยากตั้งคำถามถึงกทม. ว่า หากปิด 22 วันมีการประเมินหรือไม่ว่าเศรษฐกิจจะพังไปแค่ไหน เชื้อโรคจะหายไปจริงหรือไม่ เพราะทุกวันนี้เชื้อแพรระบาดไปทั่วกรุงเทพฯ และจะมั่นใจได้หรือไม่ว่าปิดแค่ 22 วัน หากปิดเพิ่ม เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร

คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง

 “ร้านผมเป็นร้านโชวห่วย ที่ผ่านมาช่วงวิกฤติโควิด-19 คนลดไปเดินห้างก็มาซื้อที่ร้านผมมากขึ้น แต่เมื่อสั่งสินค้าเพิ่มก็ไม่ได้ เพราะสินค้าไม่พอ โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นแบรนด์อันดับ 1 ซึ่งเป็นสัญญาณว่าจะเกิดสินค้าขาดแคลนแน่นอน”

 

 

คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง

คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง

คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง

คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง

คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง

คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง

คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง

คนแห่ตุนสินค้า  หลัง กทม.สั่งปิดห้าง