"อีอีซี" เซ็นสัญญาร่วมลงทุน “เมืองการบินอู่ตะเภา” วันนี้

18 มิ.ย. 2563 | 20:30 น.
อัปเดตล่าสุด :19 มิ.ย. 2563 | 07:25 น.

อีอีซี ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก กับ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด วันที่ 19 มิถุนายนนี้ มูลค่าโครงการลงทุน 2.9 แสนล้านบาท

    หลังจากครม.มีมติรับทราบและเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่ง กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) เป็นผู้ชนะการประมูล เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา และกลุ่มผู้ชนะประมูล ได้ร่วมกันจัดตั้ง “บริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด” เพื่อมาเป็นคู่สัญญากับรัฐ ในการดำเนินโครงการดังกล่าว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องครม.ไฟเขียว “บีบีเอส”คว้า "อู่ตะเภา" เซ็นสัญญา19มิ.ย.นี้

“เมืองการบินอู่ตะเภา” เปิดปี 67 “นายกฯ” เร่งเดินเครื่อง
      ล่าสุดในวันที่ 19 มิถุนายน2563 ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี จะมีการ ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก กับ บริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นประธานในพิธี ที่ทำเนียบรัฐบาล
       ทั้งนี้บริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด” ทุนจดทะเบียน 4.5 พันล้านบาท เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ถือหุ้น 45%,บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด 35%  และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ถือหุ้น20%โดยจะมีทาง  Narita International Airport Corporation เป็นผู้รับจ้างในการบริหารสนามบินอู่ตะเภา

\"อีอีซี\" เซ็นสัญญาร่วมลงทุน “เมืองการบินอู่ตะเภา” วันนี้
       ภายหลังการเซ็นสัญญาร่วมลงทุน ทางบริษัทอู่ตะเภาฯ จะต้องจัดทำแผนแม่บท (มาสเตอร์แพลน) การลงทุนในโครงการนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน จากนั้นจึงจะเริ่มออกแบบก่อสร้าง โดยบริษัทอู่ตะเภาฯจะลงทุนทั้งหมด 4 เฟส โดยเฟสแรก ใช้เวลาก่อสร้างเฟสแรกเป็นเวลา 3 ปี   และเปิดให้บริการในปีที่ 4
     การลงทุนในเฟส1 ของบริษัทอู่ตะเภาฯจะก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 รองรับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคน มากกว่าในทีโออาร์ซึ่งระบุไว้ที่ 12 ล้านคนต่อปี รวมถึงระบบเชื่อมต่อรถไฟรถไฟความเร็วสูง เข้ามาภายในอาคารผู้โดยสาร ภายใต้การลงทุนราว 4 หมื่นล้านบาท ภายใต้การบริหารสนามบินโดยสนามบินนาริตะ

 

     ส่วนเฟส2 จะมีการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าAPMเชื่อมต่อการเดินทางเข้ามาภายในโครงการ รวมถึงการเริ่มก่อสร้างเมื่อจำนวนผู้โดยสารใช้บริการเกินกว่า 85%ของอาคารผู้โดยสารในเฟสแรกที่สร้างขึ้น โดยเพิ่มการรองรับผู้โดยสารเป็น 30 ล้านคน เฟส3 ขยายการรองรับเป็น 45 ล้านคนและ เฟส4 รองรับผู้โดยสารสูงสุด 60 ล้านคน 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องคิกออฟลงทุน 4 เฟส "สนามบินอู่ตะเภา" รับธุรกิจการบินฟื้น
      อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ชนะประมูลดังกล่าว ได้เสนอราคาเป็นจำนวนเงินประกันผลตอบแทนค่าเช่าและส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำรายปีรวมตลอดอายุสัญญาร่วมทุน เมื่อคำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ณ ปี 2561 โดยใช้อัตราคิดลดร้อยละ 3.76 เท่ากับ 305,555,184,968 บาท ตลอดอายุสัญญา 50 ปี
      โดยการลงทุนพัฒนา “เมืองการบินภาคตะวันออก”  ในพื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินอู่ตะเภา โดยมี 6 กิจกรรมสำคัญ การลงทุนของโครงการรวมเป็นเงินลงทุนรวมประมาณ 290,000 ล้านบาท (จากการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ) และจากการมีมติให้กลุ่มบีบีเอส ชนะประมูลเมืองการบินอู่ตะเภา รัฐได้ประโยชน์เพิ่มเติม  ได้แก่
    1.ด้านการเงิน (ค่าเช่าที่ดิน ส่วนแบ่งรายได้) มูลค่าปัจจุบัน 305,555 ล้านบาท (เป็นเงินรวม 1,326,000 ล้านบาท ใน 50 ปี)

   2.ได้ภาษีอากรเพิ่ม  มากกว่า 62,000 ล้านบาท (ไม่นับรวมรายได้ภาษีทางอ้อมกับธุรกิจเชื่อมโยงนอกเมืองการบินภาคตะวันออก)

   3. เกิดการจ้างงานเพิ่ม 15,600 ตำแหน่งต่อปี ในระยะ 5 ปีแรก

   4.เพิ่มเทคโนโลยี และพัฒนาทักษะแรงงานด้านธุรกิจการบิน และธุรกิจเชื่อมโยง

   5. สิ้นสุดสัญญาทรัพย์สินทั้งหมด ตกเป็นของรัฐ
     นอกจากนี้เพื่อ ผลประโยชน์ร่วมของ “โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ภาคตะวันออก” และ “โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3  สนามบิน” ก็จะมีการ “แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมประสานงาน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา” เพื่อให้มีการทำงานอย่างบูรณาการเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดเชื่อมโยงแผนงานการก่อสร้าง และแผนการเปิดบริการให้สอดคล้องหรือพร้อมกันได้  

    สำหรับการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่ผ่านมา มีเอกชนยื่นประมูล 3 ราย ได้แก่

      กลุ่มที่ 1: กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) (กลุ่มบีบีเอส)  ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (Lead Firm) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยเสนอ Narita International Airport Corporation เป็นผู้รับจ้างในการบริหารสนามบิน

      กลุ่มที่ 2: กลุ่ม Grand Consortium  ประกอบด้วย บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) (Lead Firm) บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด โดยเสนอ GMR Airport Limited (GAL) เป็นผู้รับจ้างในการบริหารสนามบิน

      กลุ่มที่ 3: กลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มกิจการค้าร่วมธนโฮลดิ้งฯ) หรือเครือซีพี