นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC เปิดเผยว่า แม้การระบาดของโควิด 19 จะกระทบภาพรวมธุรกิจ และภาพรวมของบริษัทในส่วนธุรกิจโรงแรม ศูนย์การค้าที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ที่ชะลอตัวลงไปบ้าง แต่ทว่าบริษัทยังคงยืนยันแผนการลงทุนระยะยาวช่วง 5 ปีนับจากนี้ตามแผนงานเดิม แต่จะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อบริหารจัดการต้นทุน และรักษาสภาพคล่องมากขึ้นเพื่อรองรับวิกฤติดังกล่าว ขณะที่ในส่วนของโครบงการซื้อสินทรัพย์ของบริษัทอาจจะต้องชะลอออกไปบ้างแต่ก็ยังมีการศึกษาและพิจารณาการเข้าซื้อซึ่งต้องดูความเหมาะสมและสภาพการณ์
“ต้องยอมรับว่าภาพรวมธุรกิจของเราส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งแน่นอนว่าแม้ช่วงที่ผ่านมาจะได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ในช่วงที่ผ่านมาแต่ทว่าบริษัทยังคงยืนยันการลงทุน 5 ปีตามแผนงานเดิมที่วางไว้แต่จะมีเพียงการเลื่อนเปิดโรงแรมและธุรกิจที่จะเปิดใหม่ในบางแห่งเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการเลื่อนกำหนดการดังกล่าวก็จะยังคงอยู่ในกรอบการดำเนินงาน 5 ปีแน่นอน
สำหรับในส่วนของธุรกิจโรงแรมที่มีแผนเปิดใหม่และกลับมาให้บริการก็พิจารณาเลื่อนออกไปราว 6 เดือน ไม่ว่าจะเป็น โรงแรมบายันทรี กระบี่ ที่เตรียมจะเปิดในวันที่ 24 ต.ค.นี้ จากกำหนดเดิมที่จะเปิดในช่วงไตรมาส 2 ของปี 63 ,โรงแรม MELIA เชียงใหม่ และโรงแรม Imperia แม่ปิง เชียงใหม่ เลื่อนเปิดให้บริการไปเป็นปลายปี 64 จากเดิมต้นปี 64 ,โรงแรมที่ Asiatique ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานก็ได้เลื่อนเปิดให้บริการออกไปเป็นปี 66 จากเดิมที่มีแผนเปิดในปี 65
อย่างไรก็ตามสำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 4นี้บริษัทประเมินว่ามีโอกาสพลิกกลับมามีกำไรอีกครั้ง หากมีปัจจัยบวกในเรื่องของภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัว จำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มทยอยเดดินทางเข้ามายังประเทศมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจโรงแรมที่มีสัดส่วนรายได้มากถึง 50% ของภาพรวมธุรกิจทั้งหมด โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 ที่ถือเป็นช่วงไฮซีซั่นที่มีสัดส่วนรายได้ 30-40% จากยอดขายตลอดทั้งปี
“การคิดค้นและผลิตวัคซีนป้องกันโควิดออกมาใช้คือตัวแปรสำคัญที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมไปถึงธุรกิจในเครือบริษัทสามารถกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดดได้อีกครั้ง”
นอกเหนือจากการพัฒนาโครงการต่างๆ ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกของบริษัทให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์รูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค โดยมุ่งเน้นเรื่องสุขอนามัยตามมาตรฐานวิถีชีวิตใหม่ และยกระดับประสบการณ์ในเรื่องของการกินดื่ม การท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจให้เหนือชั้นมากขึ้น AWC ยังพัฒนาแพล็ตฟอร์ม Omni Channel ซึ่งเป็นช่องทางการตลาดใหม่ที่ผสมผสานช่องทางการสื่อสารทั้งออน์ไลน์ (Online) และการขายหน้าร้าน (Offline) เพื่อสร้างประสบการณ์การจับจ่ายใช้สอยที่ไร้รอยต่อ รวมถึงวางแผนในการสร้างแพลตฟอร์ม E-Commerce ในการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการของ AWC และพันธมิตร ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทและแอปพลิเคชันอย่าง AWC Connext ในอนาคตอีกด้วย
พร้อมทั้งเผยโฉม เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ที่ยกระดับให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในหลากหลายมิติของลูกค้าทุกกลุ่ม ด้วยงบการลงทุนกว่า 300 ล้านบาท ภายใต้แนวคิด “Heritage Alive” ต่อยอดการอนุรักษ์หลักฐานอิงประวัติศาสตร์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง สะท้อนเรื่องราวประวัติศาสตร์ของที่ตั้งของเอเชียทีคในฐานะพื้นที่เก่าแก่บนถนนเจริญกรุง ถนนสายแรกของกรุงเทพฯย่านสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่ผสมผสานระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสามองค์ประกอบสำคัญที่จะมาสร้างปรากฎการณ์ใหม่ คือ “เรือสิริมหรรณพ” แลนด์มาร์คใหม่ริมน้ำเจ้าพระยา “Living Museum & Art Festival” สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่ใช้วิธีการนำเสนอด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ล้ำสมัย และดื่มด่ำกับผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบที่จัดแสดงตามโซนต่างๆ และ “New Mega Riverside F&B Destination” สวรรค์ของการกินดื่มที่ครบรส ตอบโจทย์ทุกสไตล์และความชอบของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทายาทเจ้าสัวเจริญ ดันมิกซ์ยูส AWC ดึง แมริออท บริหาร 4 โรงแรมใหม่
ขนหน้าแข้งไม่ร่วง "AWC" โรงแรมกลุ่มเจ้าสัวเจริญ พลิกขาดทุนไตรมาส2