โฉมใหม่ พัทยา "สนธยา" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

28 ต.ค. 2563 | 08:52 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ต.ค. 2563 | 08:58 น.

นายกเมืองพัทยา เดินหน้าบูรณาการความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน ขับเคลื่อนแผน “นีโอ พัทยา” ผ่าน 7 โครงการนำร่อง ภายใต้กรอบวงเงิน 8 หมื่นล้านบาท เน้นร่วมลงทุนกับเอกชนในรูปแบบ PPP เพื่อทำพัทยาให้เป็นมหานครระดับโลกที่มีความน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุนอย่างยั่งยืน

นายสนธยา  คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี กล่าวถึงแผนงานและโครงการที่มุ่งมั่นดำเนินการต่อไปในปี 2564 ต่อเนื่องไปถึงปี 2565ว่า เตรียมแผนงานและโครงการที่จะพัฒนาเมืองพัทยาไปสู่ความเป็น “นีโอพัทยา” เพื่อทำให้พัทยาเป็นมหานครที่น่าเที่ยว-น่าอยู่อาศัย และน่าลงทุนเอาไว้พร้อมแล้ว 7 โครงการ รวมวงเงินงบประมาณดำเนินการประมาณ 8 หมื่นล้านบาท

สนธยา  คุณปลื้ม

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ
 

โครงการลงทุนทั้ง 7 โครงการ แบ่งเป็น โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเมืองน่าอยู่ ประกอบด้วย 1.  โครงการบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมแบบเบ็ดเสร็จ โดยบูรณาการความร่วมมือกับกรมโยธาธิการ จัดทำระบบบริหารจัดการน้ำ ทั้งทางระบายน้ำ เป็นระยะทาง 110 กม.และบ่อหน่วงน้ำขนาดยักษ์ ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณแบบบูรณาการ จำนวน 17,800 ล้านบาท

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

ทำให้ปัญหาน้ำท่วมน้ำขังของเมืองพัทยาถูกแก้ไขให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง จากที่ปัจจุบันเมืองพัทยาได้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณรอบนอกของเมืองพัทยา ช่วงถนนเลียบทางรถไฟเป็นจุดดักน้ำ เสริมด้วยการจัดทำบ่อหน่วงน้ำ และส่งน้ำผ่านท่อขนาดใหญ่ ขนาด 1.80 ม.ตลอดความยาวชายหาด สามารถช่วยระบายน้ำลงสู่ทะเลได้ดีขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองพัทยาได้ 70-80%

2. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย จากวันละ 100,000 ลูกบาศก์เมตร เป็นวันละ 300,000 ลูกบาศก์เมตร วงเงินงบประมาณ 750 ล้านบาท โดยร่วมกับสำนักงานอีอีซีดำเนินการปรับปรุงพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียให้มีขีดความสามารถบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เพียงจะทำให้ปัญหาการปล่อยน้ำเสียลงทะเลหมดไปเท่านั้น แต่น้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดจะถูกป้อนเป็นน้ำดิบแก่ภาคอุตสาหกรรม ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

3. โครงการระบบขนส่งมวลชนสาธารณะแบบโมโนเรล เชื่อมระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ 3 สายทาง รวมระยะทาง 34 กม.วงเงินงบประมาณ 50,000 ล้านบาท ในรูปแบบโครงการร่วมลงทุน PPP องค์กรธุรกิจเอกชนปัจจุบันได้ดำเนินการสำรวจออกแบบเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ภายในปี 2570 ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่การเดินทางของประชาชนและลดความแออัดของการจราจร ตลอดจนมลพิษทางอากาศในเมืองพัทยาไปได้มาก

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

4. โครงการพัฒนาแผนแม่บทดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศเมืองพัทยา วงเงินงบประมาณ 500 ล้านบาท” โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา จัดทำแผนแม่บทดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศ-การสื่อสารเมืองพัทยา (ระยะเวลา 5 ปี) เพื่อยกระดับเทคโนโลยี (Digital Transformation) ใน 5 ยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาคน 2.พัฒนาบริการ 3.  พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล 4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานความมั่นคงปลอดภัยดิจิทัล และ 5. ส่งเสริมการจัดการองค์กรดิจิทัลสมรรถนะสูง

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

 

เป้าหมายคือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารจัดการและให้บริการประชาชน และพัฒนาไปสู่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญ่หรือ Big Data เชื่อมต่อกับทุกระบบการทำงาน โดยจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชันเข้าถึงประชาชนในทุกระดับ มุ่งตอบโจทย์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ด้านคุณภาพชีวิต มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านระบบสาธารณสุข ด้านการศึกษา ครอบคลุมในทุกมิติผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันกับเมืองพัทยา

สำหรับอีก 3  โครงการ จะเป็นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเมืองยิ่งน่าเที่ยว ประกอบด้วย 5. โครงการพัฒนาพื้นที่ตลาดนาเกลือ หรือนีโอนาเกลือ หรือ โอลด์ทาวน์ นาเกลือ วงเงินงบประมาณ 600 ล้านบาท ร่วมกับ เทศบาลเมืองบางละมุง เพื่อปลุกตำนานของนาเกลือในอดีตให้กลับคืนสู่ความมีชีวิตชีวาให้คนรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อ ๆ ไปได้สัมผัส โดยคาดว่าจะดำเนินการได้เรียบร้อยภายในปี 2565

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

6. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเรือพัทยาใต้ หรือท่าเรือบาลีฮาย เชื่อมต่อวอล์คกิ้งสตรีท ครอบคลุมพื้นที่ 160,000 ตารางเมตร วงเงินงบประมาณ 4,000 ล้านบาทบาท ร่วมกับ กรมเจ้าท่า และกรมโยธาธิการ ดำเนินการพัฒนาท่าเทียบเรือ ศูนย์ธุรกิจการค้า ลานสันทนาการ เชื่อมต่อกับวอล์คกิ้งสตรีท ครอบคลุมพื้นที่ 160,000 ตารางเมตร เมื่อแล้วเสร็จ จะเป็นศูนย์ธุรกิจและนันทนาการครบวงจรของเมืองพัทยา

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

7. โครงการนีโอเกาะล้าน วงเงินงบประมาณ 250 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเกาะล้านครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค ปรับปรุงท่าเทียบเรือ เส้นทางจราจร ถนนหนทาง  ปรับปรุงภูมิทัศน์ จุดชมวิว ระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยบนพื้นที่เพื่อให้เกาะล้านเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความพร้อม ชุมชนเกาะล้านได้รับการพัฒนา ชาวบ้านได้รับประโยชน์ และรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคตจากการเจริญเติบโตของ อีอีซี ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

ทั้ง 7 โครงการซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเมืองพัทยาไปสู่ความเป็น นีโอพัทยา ที่สมบูรณ์แบบเป็นโครงการที่เกิดขึ้นบนฐานความร่วมมือกันระหว่างเมืองพัทยากับหลายส่วนราชการภายใต้งบประมาณแบบบูรณาการ และการร่วมลงทุนกับภาคธุรกิจเอกชนในรูปแบบของ PPP โดยรูปธรรมของความเป็นนีโอพัทยาจะค่อย ๆ ปรากฏนับจากปี 2564 เป็นต้นไป

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

นายสนธยา ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเวลา 25 เดือนของการทำหน้าที่นายกเมืองพัทยาได้ช่วยยกภูเขาออกจากอกพี่น้องชาวเมืองพัทยาไปได้เกือบ 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาขยะ ปัญหาน้ำท่วม และปัญหาอาชญากรรม

โฉมใหม่ พัทยา  \"สนธยา\" ระดมทุน 8 หมื่นล้านปั้น 7 โครงการ

“ปัญหาขยะถูกจัดการแบบเบ็ดเสร็จด้วยการจัดหาภาคเอกชนให้เข้ามารับเหมารับผิดชอบครบวงจร ตั้งแต่จัดเก็บไปจนถึงการกำจัด ขณะที่ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งบรรเทาไปได้แล้วประมาณ 80% ถูกแก้ไขด้วยการปรับปรุงระบบระบายน้ำที่มีอยู่เดิมให้มีขีดความสามารถในการระบายน้ำได้ดีขึ้น เร็วขึ้น ทำให้น้ำที่เคยท่วมขังนานเป็นชั่วโมงสองชั่วโมง เหลือไม่เกิน 45 นาที

ส่วนปัญหาอาชญากรรม เราแก้ไขด้วยโครงการ “ฟ้าทะลายโจร” คือ ตู้สีฟ้าที่นำไปติดตั้งในชุมชน ซึ่งมีความเสี่ยงหรือความเปราะบางต่อปัญหาอาชญากรรมตามคำแนะนำของคณะกรรมการชุมชนแต่ละชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งรวม 9 จุด ใน 8 ชุมชน นายสนธยา กล่าวทิ้งท้าย