ไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างธุรกิจครอบครัวตั้งแต่เริ่มต้น หรือเป็นทายาทรุ่นล่าสุดที่กำลังบริหารธุรกิจนี้อยู่ ก็ล้วนต้องวางแผนสำหรับการวางมือจากธุรกิจให้ดีก่อนที่วันนั้นจะมาถึง เพราะเมื่อธุรกิจผ่านจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งจะมีอะไรมากมายกว่าเงินที่ตกอยู่ในความเสี่ยง ต่อไปนี้เป็นข้อพิจารณาและกลยุทธ์ที่สำคัญ 4 ประการเพื่อให้การส่งผ่านกิจการด้วยการขายเป็นไปอย่างราบรื่น รักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวและค่าความนิยม (goodwill) ตลอดจนป้องกันธุรกิจไม่ให้การดำเนินงานหยุดชะงักจากปัญหาระหว่างบุคคลได้
1. ควรขายธุรกิจให้ครอบครัว ไม่ใช่ให้เป็นของขวัญ เมื่อผู้ขายจะวางมือจากธุรกิจ พวกเขาจำเป็นต้องได้รับสิ่งตอบแทนเพื่อแลกกับการละทิ้งอำนาจการควบคุม ทั้งนี้หากผู้ขายเพียงมอบธุรกิจให้ พวกเขาอาจรู้สึกว่ายังมีผลประโยชน์จากการเป็นเจ้าของอยู่และความขัดแย้งเรื่องความเป็นผู้นำอาจเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ในทำนองเดียวกันผู้ซื้อต้องให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ขายเพื่อแลกกับอำนาจควบคุมการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งการได้รับมอบธุรกิจจะเพิ่มความรู้สึกถึงสิทธิอันพึงได้ที่อาจกลายเป็นความไม่สนใจและละเลยธุรกิจได้ในเวลาต่อมา
ดังนั้นต้องหลีกเลี่ยงโอกาสที่ผู้ซื้อจะไม่ใส่ใจในการดำเนินธุรกิจเท่าที่จะทำได้ โดยผู้ขายควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าสมาชิกในครอบครัวคนใดบ้างที่สามารถดูแลและพัฒนามรดกของครอบครัวได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การขายธุรกิจให้สมาชิกในครอบครัวหลายคนแทนที่จะเป็นคนเดียวอาจเป็นวิธีที่จะทำให้แต่ละคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น และหากผู้ขายทราบว่าสมาชิกในครอบครัวเหล่านั้นไม่สามารถหรือไม่เห็นด้วยกับวิธีดำเนินธุรกิจ
ผู้ขายจะมีเวลาล่วงหน้าในการช่วยเหลือหลังการถ่ายโอนกิจการ หรือผู้ขายอาจทำงานแบบกึ่งเกษียณอายุและพร้อมให้คำปรึกษานอกเวลาได้หากจำเป็น ซึ่งความท้าทายสำหรับผู้ขายในกรณีนี้คือหลีกเลี่ยงการล้ำเส้นบทบาทใหม่ของตน เพราะอาจเป็นเรื่องยากที่ผู้ขายจะวางมือจากการควบคุม ดังนั้นโปรดจำไว้ว่า เป้าหมายของการมีแผนสืบทอดกิจการคือเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในครอบครัว ไม่ใช่สร้างความขัดแย้ง
(อ่านต่อฉบับหน้า)
หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,623 วันที่ 1 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เมื่อธุรกิจครอบครัว ไร้เสน่ห์อีกต่อไป
สมาชิกชั้นสอง ของธุรกิจครอบครัว